ความคิดเห็นที่ 7
ลองนึกถึงแกน 3 มิติ มี 8 Quadrant ให้หลุมดำอยู่ที่ (0,0,0) .. หลุมดำมีมวลมหาศาลแต่ขนาดเล็ก จึงพิจารณาเป็นจุดในอวกาศได้ .. แสงที่ฉายออกจากจุดนี้ไม่ว่าทิศทางใดก็จะฉายออกมาตรงๆ ในแนวแรงโน้มถ่วง (ตาม wording ที่คุณใช้) ซึ่งนั่นหมายความว่า พฤติกรรมของหลุมดำตามข้อ ก. นั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะจริงๆ แล้วสนามแรงโน้มถ่วงของหลุมดำไม่ได้อยู่แค่ในระนาบ แต่เกิดขึ้นรอบๆ .. อธิบายไม่ถูกแฮะ ..
อืมมม .. เหมือนกับว่า ในแบบจำลองอวกาศที่บิดโค้งที่ใช้ผ้าขึงให้ตึงแล้วเอาลูกเหล็กไปวางตรงกลาง มันจะบุ๋มลงไป ทีนี้ถ้าคุณฉายแสงตั้งฉากกับระนาบของผ้าที่ขึง แสงก็น่าจะหลุดออกมาได้ แต่อันที่จริงแล้วสนามแรงโน้มถ่วงไม่ได้มีระนาบเดียวเหมือนกับผ้าที่ขึงไว้น่ะครับ แต่พื้นผิวตลอดทั้ง 8 Quadrant ได้รับอิทธิพลจากสนามแรงโน้มถ่วงนี้ตลอด จึงไม่มีแกนไหน หรือทิศทางไหนที่แสงจะหลุดออกจากแหล่งกำเนิดนี้ได้
แม้แต่ถ้าฉายแสงผ่านจุดนี้ มันก็คงไม่สามารถผ่านไปได้เช่นกัน
แต่ถ้าฉายแสงเฉียดๆ จุดนี้ จะทำให้เกิดการเบี่ยงเบนออกไปได้
.. เป็นคำตอบข้อไหนเนี่ยะ .. สับสน .. สับสน ..
จากคุณ :
Highway_star
- [
2 เม.ย. 47 23:45:48
]
|
|
|