สูตรคำนวณหาความคลาดเคลื่อนมุมของเข็มทิศ ที่เพี้ยนไปจากทิศเหนือจริง ที่พิกัดต่างๆบนโลก

    เพื่อหามุมอาชิมุธที่แท้จริงในกิจกรรมต่างๆ

    เนื่องจากขั้วแม่เหล็กโลก  ไม่ได้อยู่ตรงขั้วโลกพอดี  โดยปัจจุบันขั้วแม่เหล็กโลกเหนือตั้งอยู่บนละติจูดที่ 78 องศาเหนือ ลองกิจูดที่ 69 องศาตะวันตก  ดังนั้นแกนแม่เหล็กจึงเอียงจากแกนโลกมา 12 องศา  ดังนั้นตำแหน่งต่างๆบนผิวโลก จึงมีค่ามุมเบี่ยงเบนของเข็มทิศต่างๆกันไป  โดยค่าคลาดเคลื่อนต่ำสุดคือ 0 องศา  ณ ตำแหน่งใดๆบนเส้นลองกิจูดที่ 69 องศาตะวันตก และตำแหน่งใดๆบนเส้นลองกิจูดที่ 111 องศาตะวันออก  ส่วนตำแหน่งที่คลาดเคลื่อนสูงที่สุดคือ 180 องศา  คือตำแหน่งที่อยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กโลกเหนือกับขั้วโลกเหนือ และระหว่างขั้วแม่เหล็กโลกใต้กับขั้วโลกใต้  ข้าพเจ้าจึงได้คิดสูตรการคำนวณขึ้นมา โดยผู้คำนวณจะต้องทราบละติจูดและลองกิจูดของตัวเอง มาเป็นตัวแปรสำคัญในการคำนวณ  ส่วนละติจูดและลองกิจูดของแม่เหล็กนั้น  ปัจจุบันก็สามารถใช้ตำแหน่งที่ยกมาได้เลย  แต่ขั้วแม่เหล็กเป็นสิ่งที่โยกย้ายเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่คงที่  แต่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเปลี่ยนไป  ดังนั้นต้องเปลี่ยนตำแหน่งขั้วแม่เหล็กโลกในสูตรตามด้วยเสมอ  ในส่วนของสูตรการคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนนี้ ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าสูตรดังกล่าวจะมีผู้คิดขึ้นแล้วหรือยัง  แต่ประสบการณ์การค้นคว้าของผู้เขียนมาก็ยังไม่พบ  ผู้เขียนจึงได้พยายามคิดสูตรขึ้นเอง  ด้วยหวังว่าจะได้เป็นการยกระดับความสามารถของตัวเอง  และเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องหามุมอาชิมุธด้วยเข็มทิศ  ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า  การตั้งกล้องดูดาว  ตลอดจนการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม  ซึ่งในประเทศไทยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องมุมคลาดเคลื่อนของเข็มทิศนี้  เพราะเข็มทิศชี้ผิดทิศไปประมาณ 2 องศาเท่านั้น  อาจเพราะเหตุนี้ จึงหาสูตรคำนวณมุมคลาดเคลื่อนเข็มทิศในเมืองไทยไม่ได้  แต่ประเทศที่อยู่ในละติจูดสูงขึ้นไป  ดาวเหนือยิ่งเข้าใกล้จุดเหนือศีรษะมากขึ้น  และดาวทั้งหลายก็หมุนไปรอบๆดาวเหนือนั้น  จึงหาทิศยากขึ้นแน่นอน  ซ้ำเข็มทิศก็ยิ่งคลาดเคลื่อนมากกว่าที่ๆละติจูดต่ำๆ  จึงน่าจะจำเป็นที่จะต้องใช้สูตรการคำนวณนี้

    ตัวแปรต่างๆในสูตร (อาจปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากล)

    M คือละติจูดของขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ (ปัจจุบันคือ 78 องศาเหนือ)
    I   คือละติจูดของผู้สังเกตเข็มทิศ  ถ้าอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรก็ติดค่าลบด้วย
    D คือระยะห่างทางลองกิจูดระหว่างลองกิจูดของขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ กับลองกิจูดของผู้สังเกตเข็มทิศ  มีค่าเป็นบวกเสมอ เพื่อไม่ให้งงในขั้นตอนต่อไป

    จากนั้นก็จินตนาการวาดทรงกลม 1 หน่วยรูปโลกแบบผ่าครึ่งเข้าไป  โดยผู้สังเกตอยู่ที่มุมข้างหนึ่ง  แล้วลากเส้นจากผู้สังเกตลงไปใจกลางโลก(เส้นสีแดง)  ที่จริงไม่ว่าเราจะขุดดินลงไปในแนวดิ่งลึกเท่าไร หรือลึกจนทะลุใจกลางโลกไปแล้วก็ตาม  เข็มทิศก็จะยังคงชี้ทิศเดิมอยู่เสมอ  จากนั้นก็ลากเส้นจากขั้วแม่เหล็กโลกเหนือถึงใจกลางโลก  คือจากละติจูดที่ 78 องศาเหนือไปด้วยเส้นสีน้ำเงิน  โดยในรูปแรกนี้ คิดให้ M และ I อยู่ในตำแหน่งลองกิจูดเดียวกันก่อน

     
     

    จากคุณ : สมภพ เจ้าเก่า - [ 12 เม.ย. 47 00:59:32 ]