CafeTech-ExchangePantip MarketChatTrendyMobilePantown


    ตะลึง! ในที่สุด ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน ก็ถึงจุดจบ โดยเป็นการยอมรับของตัวท่านเอง เราต้องยอมรับความจริงกันได้แล้ว

    ตอนที่ชาร์ล ดาร์วินคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ ชื่อวิชาพันธุศาสตร์ยังไม่เกิด บาทหลวงเมนเดลก็ยังศึกษาถั่วลันเตาในสวนอยู่เลย

    เอางี้แล้วกัน คุยถึงเรื่อง DNA ก่อนนะครับ ก็คงจะรู้นะครับว่า DNA เป็นรหัสทางพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่างๆของร่างกาย ตา หู ผม จมูก ฮอร์โมน ฯลฯ ควบคุมการทำงานของเราร่างกายตั้งแต่เกิดจนตาย บางคำสั่งจะยังไม่ทำงานจนกว่าเราจะแก่ เช่นคำสั่งที่ให้เกิดผมหงอก เปรียบเสมือนข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่ป้อนข้อมูลโดยอัจฉริยะมนุษย์อย่างพวกโปรแกรมเมอร์เขา แต่ DNA มากกว่านั้นยิ่งนัก เพราะในหนึ่งเซลล์บรรจุข้อมูลได้พอๆกับเอนไซโคลปิเดีย 900 เล่ม ที่แต่ละเล่มมี 500 หน้า มันเป็นข้อมูลควบคุมให้สร้างกายสร้างกระดูก 206 ชิ้น กล้ามเนื้อมากกว่า 600 มัด เซลล์ประสาทนับร้อยพันล้านเซลล์ เส้นเลือดในร่างกายที่ยาวกว่า 97,000 กม. ฯลฯ
    นั่นแค่หนึ่งเซลล์ แต่ร่างกายเรามีอยู่นับล้านๆเซลล์ ที่สำคัญโมเลกุลของ DNA เล็กกว่าฮาร์ดดิสก์มาก เพราะมันขดกันอยู่ในโครโมโซม หากคลี่ออก มันจะยาว 1 เมตร ขณะที่โครโมโซมยาวแค่ 1 นาโนเมตร หรือหนึ่งในล้านส่วนของเมตร !!!! มันคือฮาร์ดดิสก์ซูเปอร์จิ๋ว

    อย่างที่บอก DNA ยังไม่เป็นรู้จักในสมัยดาร์วิน เขาเองก็ยอมรับว่าทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมธาติของเขาตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานที่ว่าร่างกายเราไม่ได้มีอะไรซับซ้อนอย่างเจ้า DNA นี้อยู่ เพราะถ้ามันซับซ้อน ทฤษฎีของเขาก็ใช้ไม่ได้ ไปเปิดหนังสือของดาร์วินดู Charles Darwin, The Origin of Species: A Facsimile of the First Edition, Harvard University Press, หน้า 189 เขายอมรับเองว่า

    "If it could be demonstrated that any complex organ existed, which could not possibly have been formed by numerous, successive, slight modifications, my theory would absolutely break down."

    ดาร์วินบอกว่าสิ่งมีชีวิตจะผันแปรลักษณะของตนตามสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตใดที่เหมาะสมก็สามารถอยู่รอดได้ และการผันแปรนี้มันไม่มีขีดจำกัด ตอนที่ความรู้เรื่องพันธุศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น เราก็รู้ว่า การผันแปรนั้นมันมีขีดจำกัด ขีดจำกัดมันอยู่ภายใต้ข้อมูลที่ถูกบรรจุใน DNA นั่นแหละ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิดอาจจะขาสั้น หางยาวหางสั้น ก็ขึ้นอยู่ตามสภาพแวดล้อมที่มันประสบอยู่ ข้อมูลนี้ถูกโปรแกรมไว้ใน DNA อยู่แล้ว เพียงแต่มันจะถูกเรียกใช้เมื่อเจอสภาพแวดล้อมนั้นๆ เราเรียกว่า "gene pool" แต่เป็นไปไม่ได้ที่สัตว์เลื้อยคลานจะมีปีกบินได้ เพราะมันไม่ได้ถูกโปรแกรมไว้ใน DNA ของสัตว์เลื้อยคลานมาก่อน

    ที่นี้มาพูดถึงการกลายพันธุ์ ถามว่าจริงๆแล้ว แน่ใจแค่ใหนที่ว่าการกลายพันธุ์(Mutation) ก่อให้เกิดผลในทางบวก ? ลองไปดูเหยื่อที่ได้รับกัมมันตรังสีจากนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมา นางาซากิหรือเชอร์โนบิล หรือคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่าง mongolism, Down syndrome และ albinism ซิครับ นั่นแหละคือการกลายพันธุ์ที่เป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้รับรังสีหรือปัจจัยภายนอก ก่อให้เกิดการแทนที่คู่เบส หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในโมเลกุลของเบสของ DNA มันก่อให้เกิด bug ใน DNA มันเกิดขึ้นโดยอิสระ (นอกเสียจากจะมีมนุษย์อัจฉริยะไปเปลี่ยนโดยใช้ความรู้ระดับล้ำเลิศ) ไม่เป็นระบบ ซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดผลเสีย การเกิดแผ่นดินไหวมีแต่จะทำให้เมืองๆหนึ่งพินาศฉันใด การ mutation ก็มีแต่จะทำให้ DNA เสียหายหรืออ่อนประสิทธิภาพลงฉันนั้น มันไม่ก่อให้เกิดเมืองขึ้นมา หรือก่อให้เกิดการพัฒนาการของร่างกายในทางที่สมบูรณ์ขึ้นหรอก เทียบกับคอมพิวเตอร์ มันไม่ใช่การโปรแกรมข้อมูลใหม่เข้าไปใน DNA แต่มันเป็นการทำลายโปรแกรมที่มีอยู่ให้เสียหายต่างหาก

    ทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่อาจจะอธิบายไม่เฉพาะการเกิดของมนุษย์ ของสัตว์ก็ยิ่งแล้วใหญ่ โดยเฉพาะการปะทุขึ้นอย่างฉับพลันของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำนวนมากมายหลายสายพันธุ์ในยุคแคมเบรียน ประมาณ 500-550 ล้านปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ถึงกับเรียกการเกิดของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นว่า the Cambrian Explosion ลองไป search คำว่า trilobite หนึ่งในสัตว์ที่เกิดยุคนั้นดูซิครับว่ามันมีโครงสร้างร่างกายซับซ้อนขนาดใหน ตาของมันไม่แตกต่างจากตาของนกในปัจจุบันเลย จู่ๆ มันเกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน โดยสมบูรณ์และซับซ้อนได้อย่างไร ?

    สิ่งสำคัญก็คือ นักวิทยาศาสตร์กำลังค้นหาซากฟอสซิลของสิ่งที่เรียกว่า transitional forms สิ่งมีชีวิตที่เป็นช่วงรอยต่อของวิวัฒนาการจากสปีชีส์หนึ่งไปสู่สปีชีส์หนึ่ง เพราะตามทฤษฎีวิวัฒนาการ มันต้องมีอยู่มาก อย่างสัตว์รอยต่อระหว่างปลากับสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ก็ไม่มีการพบเลย แม้จะมีการค้นพบฟอสซิลของปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกนับล้านๆชิ้น อาร์คิออฟเทอริกซ์ที่เราคุยกันอยู่นี้ ก็เป็นหนึ่งในสัตว์รอยต่อของวิวัฒนาการจากสัตว์เลื้อยคลานไปสู่นก ที่นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่ามันจริง แต่จริงๆ แล้วมันก็มีข้อสงสัยอยู่มาก อย่างที่กล่าวไว้ข้างล่าง ซ้ำพอเจอ Fuzzy Raptor ซึ่งคาดว่าจะเป็น transitional forms ชนิดใหม่ มันกลับเป็นของปลอมที่ชาวนาจีนที่พบเข้าเอาไดโนเสาร์กับนกมาต่อกัน เพื่อจะขายซากให้ได้ราคาเสียอีก .....อิอิ เรื่องนี้ดูเพิ่มเติมได้ใน Archaeoraptor

    ที่สำคัญ เรื่องนี้ต้องระวัง นักวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการมักจะรีบตีความหรือสรุปในบทสรุปที่เป็นไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการ ยังจำกันได้มั้ย ถึงปลาซีลาคานส์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปเมื่อ 70 ล้านปีที่แล้ว ตอนที่มีการค้นพบซากฟอสซิลของมัน นักวิทยาศาสตร์รีบสรุปไปเลยว่ามันคือ transitional forms จากปลาไปสู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เพราะมันมีสิ่งที่คาดกันว่าจะเป็นปอดที่พร้อมจะขึ้นสู่บนดิน มันมีระบบประสาทที่ซับซ้อนขึ้น ระบบย่อยอาหารและระบบหมุนเวียนในร่างกายที่พร้อมจะทำงานบนพื้นดิน หรือแม้แต่มีกลไกเบื้องต้นในการเริ่มเดิน ไม่มีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น

    แต่นักนิยมทฤษฎีนี้ต้องตะลึง เมื่อมีการจับปลาชนิดนี้เป็นๆ ในมหาสมุทรอินเดีย ในปี 1938 และเมื่อศึกษาปลาชนิดนี้ ก็พบว่าสิ่งที่คาดว่าจะเป็นปอด มันกลับเป็นถุงสะสมไขมัน ที่ตลกร้ายกว่านั้น ปลาซึ่งนักนิยมทฤษฎีนี้อ้างนักอ้างหนาว่ามันคือบรรพบุรุษของปลารุ่นแรกๆที่พยายามขึ้นบนบก จริงๆแล้ว มันคือปลาน้ำลึก อยู่ในบริเวณทะเลลึกของมหาสมุทรอินเดียโน่น

    ------------------------

    เฮ้อ เหนื่อย พล่ามมาก็ยืดดยาว
    เอาเป็นว่ากระทู้นี้ถือเป็นข้อยุติแล้วนะครับ
    ว่า ท.วิวัฒนาการของดาร์วิน ได้ถึงกาลอวสาน
    โดยสมบูรณ์แล้ว ใครเป็นสาวกก็คงต้องเลิกเป็น
    กันได้แล้วครับ จะตีอกชกตัวร้องไห้ฟูมฟาย
    ก็ทำไปเถอะครับ แต่ถึงยังไงคุณก็ต้องยอมรับ
    ความจริงนี้อยู่ดี ดาร์วินซึ่งเปรียบดั่งศาสดาของ
    พวกคุณเองก็ออกมายอมรับถึงขนาดนี้แล้ว
    ถ้ายังดื้อด้านต่อไปก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่เชื่อว่าโลก
    แบนทั้งๆ ที่เห็นคนไปเหยียบดวงจันทร์แล้ว
    เรามาร่วมไว้อาลัยกับทฤษฎีอันเก่าแก่ที่หลอก
    ให้เราหลงเชื่ออย่างงมงายกันมานาน บัดนี้
    พวกเราหูตาสว่างแล้ว เราจะไม่งมงายเหมือน
    ที่เคยงมงายกับทฤษฎีของนิวตันอีกต่อไปแล้ว
    ชาวหว้ากอคงเห็นด้วยกับผมโดยดุษฎีนะครับ

    ขอบคุณครับ

    จากคุณ : ดักแด้ - [ 9 ส.ค. 47 10:23:42 A:203.113.51.73 X:203.150.217.113 ]