ความคิดเห็นที่ 7
เห็นหลายคนสงสัย เพราะอาจขัดกับสิ่งที่หลายๆคนเคยทราบมา diagram นี้ผมเขียนเองครับ แต่เผอิญแปลง file ไม่เป็น คุณม่อนแกเลยอาสาให้ก็ขอขอบคุณๆม่อนไว้ตรงนี้ด้วยครับ ส่วนข้อสงสัยผมก็ขอชี้แจงเพิ่มดังนี้ครับ -สำหรับ คคห.2,3 ก่อนที่จะทำการต่อไฟที่มิเตอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ ต้องมีการเช็คสายก่อนว่าเส้นใดเป็น phase และเส้นใดเป็นนิวทรัลหรือกราวด์ และจะต้องมีการทำเครื่องหมายกำกับไว้ที่สายด้วย ถ้าสายแยกสีไว้แล้วจะยึดถือ code สีในการเข้าสายดังนี้ phase ดำ แดง น้ำเงิน สำหรับ phase R,S,T เรียงตามลำดับ (เป็นมาตรฐาน อเมริกา และ ญี่ปุ่น ซึ่งบ้านเราใช้อ้างอิงอยู่ ถ้าเป็นของยุโรปจะใช้ code แดง เหลือง น้ำเงิน) นิวทรัล สีขาว หรือ เทาอ่อน กราวด์ สีเขียว หรือ เขียวคาดเหลือง ยกตัวอย่างเช่นสายตีกิ๊บ(VAF) 2 แกน จะเห็นว่า ข้างในมีสายอยู่ 2 สี คือ ดำและเทาอ่อน เวลาเข้าอุปกรณ์ ให้ใช้ ดำเป็น phase และ เทาอ่อนเป็นนิวทรัล(ถ้าเป็นสายตีกิ๊ป 3 แกน(VAF-GRD) จะมีแกนที่สามที่มีขนาดเล็กกว่าสายอื่นเป็นสีเขียวคาดเหลือง ให้ใช้เป็นกราวด์) ทีนี้สายที่มีขนาดใหญ่หรือมีสีดำสีเดียว ให้ใช้ PVC tape ทำการมาร์คที่ปลายสายทั้งสองข้างตาม code ที่ระบุ แต่โดยส่วนตัวผม ก่อนจ่ายไฟทุกครั้งผมจะทำการตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าสายอะไรเป็นสายอะไรและตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของสายด้วย เพราะช่างไฟบางคนยังเข้าสายผิด code สีอยู่ การทำงานกับระบบไฟฟ้า อย่าเชื่อคนอื่น จนกว่าจะได้วัดและตรวจสอบด้วยตัวเอง -สำหรับ คคห.3 เหตุผลที่เอานิวทรัลลงกราวด์ ผมตอบไปแล้วในกระทู้ x2948710 อาจจะเข้าใจยากซักนิดนึงนะครับแต่ลองไปไล่ดูแล้วกันครับ -สำหรับ คคห.4 ไม่พิกลหรือผิดตำราหลอกครับ diagram ที่ผมเขียน อ้างอิงจาก มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า ฉบับปี 2545 ของ วสท.ครับ(กฟน. และ กฟภ. ก็ยึดถือตามนี้แล้วครับ) ซึ่งกล่าวถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าในส่วนของผู้ขอใช้ไฟ หมายความว่า หากมีการยื่นขอไฟ ให้การไฟฟ้าไม่ว่า กฟน. หรือ กฟภ. ตรวจสอบการติดตั้งหลังเครื่องวัดตามมาตรฐานนี้(ของเดิม จะใช้มาตรฐานคนละเล่ม ของ กฟน. เล่มนึง กฟภ. เล่มนึง ปวดหัวกันเป็นแถบเลยครับสำหรับคนทำงานด้านนี้ แต่เล่มนี้ก็จะยกเว้นไว้สำหรับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านะครับ) หรือถ้าอยากรู้จริงๆ (แนะนำสำหรับคนที่ทำงานด้านนี้ ควรมีไว้) เล่มนี้ครับ NEC-CODE (national electrical code) แต่หนาและอ่านยากหน่อย หนาประมาณพันหน้า เป็นมาตรฐานการออกแบบ และการติดตั้งระบบไฟฟ้าของอเมริกา ซึ่งเป็นหนังสือที่ วสท.อ้างอิงมา(ย่อมาพอเข้าใจ) ต่างกันบางส่วนและหน่วยจะใช้ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เช่น สายไฟ nec จะบอกเป็น AWG และ MCM ของเรา วสท. เป็น MM^2 ตามยุโรป และญี่ปุ่น และ วสท. จะเพิ่มในส่วนของการคำนวนห้องชุด, เพิ่มเติม มาตรฐาน ของ IEC เข้ามาด้วย (อันนี้ยุโรปใช้) ก็หวังว่าคงเข้าใจนะครับ ว่าผมไม่ได้นั่งเทียนเขียน:) อาจขัดความรู้สึกของคนทั่วไปนิดนึง แต่รับลองว่าไม่ได้ล่อเป้าอย่างที่เข้าใจครับ:) ผมมีจรรยาบรรณครับ เรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องอันตราย ถ้ารู้ไม่จริงผมก็ไม่กล้าออกความเห็นไว้ล่ะครับ ชีวิตคนหาซื้อมาคืนกันไม่ได้ครับ(เป็นวิศวกรต้องมีจรรยาบรรณ ถ้าไม่มีจรรยาบรรณก็ไม่ต่างอะไรกับโจรหรอกครับ ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ) -อันนี้สำหรับ คคห.5 ครับ คิดว่าคุณคงทำงานด้านนี้เพราะคุณรู้ว่ากระแสของระบบจะต้องกลับแหล่งจ่ายไม่ทางใดก็ทางนึง ขอบคุณครับที่มาช่วยกันอธิบาย ทั้งหลายทั้งปวงก็ลองย้อนกลับไปดูกระทู้เก่านะครับ ผมอธิบายไว้คร่าวๆถึงเหตุผลการต่อลงดินไว้ แต่ถ้าเอาละเอียดคงไม่ไหวครับ แค่นี้ผมก็พิมพ์จนเมื่อยมือแล้วล่ะครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่มีข้อสงสัยครับ ช่วยๆกันคิด ช่วยๆกันถาม ช่วยๆกันตอบ เดี๋ยวก็ได้ความรู้ไหม่ๆครับ
จากคุณ :
วิศวกรไฟฟ้า
- [
14 ส.ค. 47 12:45:43
A:202.57.150.218 X: TicketID:068816
]
|
|
|