บทนำเรื่อง
หลังเกิดสุริยุปราคา 24 ตุลาคม 2538 ผู้เขียนประทับใจมากกับเหตุการณ์ครั้งนั้น เพียงหลักการเกิดง่ายๆว่า เพราะดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ แต่นั้นมาผู้เขียนก็สังเกตการณ์เคลื่อนที่ดวงจันทร์บนท้องฟ้า เห็นว่ามีโอกาสที่ดวงจันทร์จะไปทางดวงอาทิตย์หลายครั้งในทุกๆเดือน แต่ทำไมไม่เกิดสุริยุปราคาขึ้นในทุกเดือน นั่นเพราะว่าวงโคจรดวงจันทร์เอียง และทิศทางของความเอียงนั้นยังสามารถหมุนกวัดแกว่งไปได้ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักการนั้นแล้วจึงได้ลองคำนวณจันทรุปราคาล่วงหน้าดู เพราะคิดว่าคงคำนวณง่ายกว่าสุริยุปราคา ก็พบว่ามีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น สิ่งที่ผู้เขียนต้องศึกษาต่อไปคือ การโคจรเป็นวงรีและความเร็วที่ไม่คงที่ของดวงจันทร์ จึงได้ศึกษาทำความเข้าใจในกฎการโคจรของเคปเลอร์ จนเข้าใจในเรขาคณิตของวงรี แต่สิ่งที่สำคัญคือพื้นที่ในเสี้ยวหนึ่งๆของวงรี ผู้เขียนคาดว่าใช้วิชาอินทริเกรดคำนวณได้ แต่เนื่องจากผู้เขียนไม่มีความสามารถทางอินทริเกรด จึงยังคงใช้วิธีทางเรขาคณิตวิเคราะห์อยู่ เป็นเวลาหลายเดือนความเพียรจึงสำเร็จผล และเห็นว่าวิธีนี้อาจจะมีประโยชน์แก่ผู้ศึกษาดาราศาสตร์ภาคคำนวณอยู่ก็ได้ ทั้งผู้ที่อินทริเกรดไม่เป็นและผู้ที่เป็นแล้ว จะได้มีทางเลือกในการคำนวณได้หลายทาง เพราะเท่าที่ติดตามอ่านตำราดาราศาสตร์มา ไม่เคยพบเห็นวิธีคำนวณหาค่าพื้นที่นั้น พบแต่เพียงวิธีคำนวณหาความเร็วในวงโคจร ณ ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งส่วนนั้นผู้เขียนก็เคยคิดได้เช่นกัน แต่เห็นว่ามีอยู่ในตำราดาราศาสตร์ฟิสิกส์แล้ว ดังนั้นผู้เขียนเลือกที่จะเผยแพร่เฉพาะวิธีคำนวณพื้นที่พื้นที่ในเสี้ยววงรีเท่านั้น
จากคุณ :
สมภพ เจ้าเก่า
- [
13 พ.ย. 47 20:09:06
]