ความคิดเห็นที่ 25
ขออนุญาต อธิบายแบบลูกทุ่ง โดยพยายามไม่ใช้สูตร และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม แม้ ตัวเลขที่ได้ จะไม่ตรงกับสูตรนัก แต่จะช่วยให้หนูเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ขอยกตัวอย่างเป็น ตัวเลขความสูงของ นักเรียน ชั้น ม.3 ห้อง ก. ของโรงเรียนหนึ่ง ห้องนี้มีนักเรียน 10 คน มีความสูง(เป็นเซนติเมตร)เรียงลำดับดังนี้
151, 153, 155, 157, 159, 161, 163, 165, 167, 169
ค่าเฉลี่ยความสูงของนักเรียน ทั้ง 10 คนเท่ากับ 160 พอดี ถ้าเรา นำความสูงของแต่ละคน มาเทียบกับค่าเฉลี่ยแล้ว จะได้ค่าอีกค่าหนึ่ง เรียกว่า ค่าที่ห่างออกจากค่าเฉลี่ย ได้ตามลำดับดังนี้ คนที่ 1 น้อยกว่า อยู่ 9 ซม. คนที่สอง น้อยกว่าอยู่ 7 ซม.
. ทำเรื่อยไปจนถึงคนที่สิบ จะได้ว่าคนที่สิบ มากกว่าอยู่ 9 ซม.
ค่าตัวเลขที่ห่างออกจากค่าเฉลี่ย หรือ ต่างจากค่าเฉลี่ยนี้ นำมาเรียงลำดับได้ดังนี้ คนที่หนึ่งต่างไป 9, คนที่สองต่างไป 7, คนที่สามต่างไป 5, คนที่สี่ต่างไป 3, คนที่ห้าต่างไป 1, คนที่หกต่างไป 1, คนที่เจ็ดต่างไป 3, คนที่แปดต่างไป 5, คนที่เก้าต่างไป 7, คนที่สิบต่างไป 9 (ครบสิบคนแล้ว)
ถ้าเรานำ "ค่าที่ต่างออกจากค่าเฉลี่ย" ข้างบนนี้ มารวมกัน จะได้เท่ากับ 9 + 7 + 5 + 3 + 1 + 1 + 3 + 5 + 7 + 9 = 50 พอดี ถ้าเราอยากรู้ว่า เฉลี่ยแล้ว ค่าที่ต่างออกไปนี้ มันเป็นเท่าใด ก็เอา จำนวนคนสิบคนมาหาร จะได้ เท่ากับ = 50/10 = 5 หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียนในห้องนี้ มีความสูง ต่างจากค่ากลางๆ อยู่ คนละ 5 เซ็นติเมตร
ถ้าเอา ค่าเฉลี่ยของความสูงคือ 160 มาเป็นตัวตั้ง จะพูดได้ว่า นักเรียนห้องนี้มีความสูง 160 (บวก - ลบ 5) นะจ๊ะ คือตั้งแต่ 155 ถึง 165 โดยมีค่ากลางคือ 160 เซ็นติเมตร
การบอกอย่างนี้ ดูดีกว่า บอกเพียงว่า เฉลี่ยสูง 160 เฉยๆ จริงไหม ค่า 5 เซ็นติเมตร นี้คือค่า Sd แบบลูกทุ่งนั่นเอง แนวความคิดในสูตร ก็มาจาก วิธีการที่ผมอธิบายมานี้
จากคุณ :
น้าพร
- [
วันสิ้นปี 09:38:21
]
|
|
|