 |
เอกสารโดยความอนุเคราะห์จากคุณ ตาที่สาม (3)
ประสบการณ์ การเห็นภายในกายครั้งแรกของข้าพเจ้าเกิดขึ้นในเช้าวันหนึ่ง ขณะที่นอนอยู่บนเตียงและสังเกตุเห็น โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อด้านหลังที่คอของสามีที่นอนตะแคงหลับอยู่ข้างๆ
ข้าพเจ้าคิดว่า ลักษณะการยึดระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังส่วนคอนั้นน่าสนใจมาก ทันใดนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องตระหนัก ว่ากำลังทำอะไร และหยุดการเห็นนั้นทันที
ข้าพเจ้าฝืนไม่กลับไปสู่ระดับของความจริง(การเห็นภายใน)นั้นอีก ช่วงระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายมันก็กลับมา ข้าพเจ้าเริ่มการเห็นภายในกายอีก
ระยะแรกๆ ก็รู้สึกสับสน ไม่แน่ใจแต่ก็ปรับตัวได้ในเวลาต่อมา สิ่งที่เห็นภายในกายสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้รับจากคนไข้เองหรือจากหมอของพวกเขา
การเห็นภายในกายคือขบวนการ x-ray หรือ ขบวนการ nuclear magnetic resonance(NMR)ของมนุษย ซึ่งมีความละเอียดออ่น
โดยรวมทั้งความสามารถมองเข้าไปในร่างกายที่ระดับความลึกและความละเอียดเท่าไรก็ได้ตามที่ต้องการ มันเป็นแนวทางใหม่ในการรับรู้สิ่งต่างๆ
ถ้าข้าพเจ้าต้องการเห็นอวัยวะภายในส่วนใด ข้าพเจ้าเพียงเพ่งความสนใจไปที่นั่น ถ้าต้องการเห็นภายในของอวัยวะนั้น หรือบางส่วนของอวัยวะนั้นก็เพียงแต่เพ่งไปที่นั่น
ถ้าต้องการเห็นเชื้อโรค (micro organism)ที่เข้าไปในร่างกายก็เพ่งไปที่เชื้อโรคนั้น
ข้าพเจ้าได้รับภาพเหล่านี้เหมือนกับรูปภาพปกติทั่วไป เช่น ตับที่สมบูรณ์แข็งแรงจะมีสีแดงเข้ม เช่นเดียวกับที่เห็นทั่วไป ถ้าเป็นดีซ่าน จะดูไม่แข็งแรงมีสีน้ำตาลเหลือง
หรือถ้าได้รับคีโม ตับก็จะมีสีน้ำตาลเขียว
พวกเชื้อโรคต่างๆ ก็จะเห็นเหมือนกับที่เห็นผ่านกล้องจุลทัศน์
ประสบการณ์การเห็นภายใน ของข้าเจ้าตอนแรกนั้น เกิดขึ้นเอง แต่ต่อมาก็สามารควบคุมได้ ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจสภาพนั้นว่า ถ้าต้องการจะเห็น จะต้องอยู่ในสภาวะเปิดอย่างหนึ่ง ซึ่งตาที่สาม (จักกระที่ 6)ถูกกระตุ้น และจิตอยู่ในภาวะสงบและเพ่ง
ต่อมาข้าพเจ้าพบเทคนิคที่จะเข้าสู่สภาวะนี้น ดังนั้นข้าพเจ้าสามารถมองเห็นภายในกายเมื่อใดที่ต้องการเพียงแต่เมื่อสามารถเข้าสู่ภาวะจิตและอารมณ์นั้น
แต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยอาจจะไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเพ่ง และความสงบทำได้ยากเมื่อมี ความเหนื่อยออ่น. และเมื่อเหนื่อยก็ยากที่จะยกระดับ vibrational rate ด้วยเช่นกัน
ข้าพเจ้ายังพบอีกว่าจะลืมตาหรือไม่ก็ไม่สำคัญ ยกเว้นการสอดแทรกข้อมูลเพิ่มเติมจะเกิดขึ้นขณะลืมตา บางทีข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ช่วยในการเพ่ง แต่บางทีก็ทำให้การเพ่งยากขึ้น
ตัวอย่างเช่น บางทีข้าพเจ้าใช้ตาช่วยในการเพ่งจิตไปยังจุดที่กำลังดูอยู่ หลายๆครั้งข้าพเจ้าจะปิดตาเพื่อปิดการรับข้อมูลที่อาจจะทำให้เสียสมาธิ
ตัวอย่างของการเห็นภายใน
ตัวอย่างการเห็นภายในแสดงในภาพที่ 18-1 18-4
จากคุณ :
superbat
- [
1 เม.ย. 48 01:02:56
]
|
|
|
|
|