CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangGameRoom


    ในที่สุด ท.วิวัฒนาการ ที่คุณ Practical x 2 ศรัทธาอย่างงมงาย ก็ถึงกาลอวสานอย่างแท้จริง ด้วย ท.เครือข่ายใยชีวิต ของ คาปร้า

    โดยรวมก็คือ ท.วิวัฒนาการของดาร์วิน
    มันขัดแย้งกับความเป็นจริงของธรรมชาติ
    ดังนั้น ท.วิวัฒนาการของดาร์วิน กลับจะนำความ
    วิบัติความหายนะความชั่วร้ายมาสู่เรามากกว่า แทนที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีงาม

    ท. เครือข่ายใยชีวิตของคาปร้า
    ดูเต็มๆ พร้อมภาพประกอบได้ที่

    http://www.midnightuniv.org/miduniv2001/newpage11.html

    http://www.midnightuniv.org/miduniv2001/newpage12.html

    ข้อความที่กระทบกับ ท.วิวัฒนาการของดาร์วิน

    "(5) ในทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน ปัญหาความอยู่รอดเป็นเรื่องของแต่ละชนิดพันธ์ทั้งหลายในโลกชีวภาพ แต่มาในปัจจุบัน เป็นที่ชัดเจนกันแล้วว่า ปัญหาจริง ๆ เป็นเรื่องความอยู่รอดของ"สิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมของตนเอง" สิ่งมีชีวิตใดที่คิดถึงแต่ความอยู่รอดของตนเองโดยลำพังเป็นสำคัญ ก็จะทำลายสภาพแวดล้อมของตน แล้วก็จะทำลายตนเองในที่สุด โดยนัยนี้ หน่วยของความอยู่รอดจึงมิใช่เรื่องของสิ่งมีชีวิตโดยตรง หากเป็นปัญหาเกี่ยวกับแบบแผนของการจัดองค์การ ซึ่งสิ่งมีชีวิตจัดตั้งขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อมของตน"

    "นอกจากนี้มี การนำทฤษฎีระบบ (Systems Theory) ของ ลุดวิก ฟอน แบทาลันฟี (Ludwig Von Bertalanffy) นักชีววิทยาผู้ริเริ่มเสนอทัศนะแบบองค์รวมในชีววิทยา และเสนอแนวคิดระบบเปิด(Open Systems)ในระบบชีวิต มาใช้ในสังคมศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ จำนวนมาก เช่น ทฤษฎีระบบในวิชารัฐศาสตร์ ของเดวิด อีสตัน ทฤษฎีระบบในการบริหารองค์การ ในทางสังคมสงเคราะห์เอง ทฤษฎีระบบได้มีการนำมาใช้เป็นทฤษฎีหลักอันหนึ่งในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ อย่างไรก็ตามการนำมาใช้ของนักสังคมศาสตร์ มักเป็นการนำมาใช้ด้วยกระบวนทัศน์แบบกลไก ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช วิจารณ์ว่าเป็นการมองระบบแบบตัดขวาง-เป็นระบบที่ขาดมิติด้านเวลา ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ก็ได้รับการนำมาใช้ทางสังคม (Social Darwinian) ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด การมีอำนาจเหนือเผ่าพันธุ์อื่น เป็นต้น"

    - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

    ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เป็นชาวออสเตรียเกิด และใช้ชีวิตวัยเยาว์ในชนบทอย่างใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก

    คาปร้าจบการศึกษาปริญญาเอกด้านทฤษฎีฟิสิกส ์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นโอกาสให้เขาได้ศึกษา และรับอิทธิพลทางความคิดจาก เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบอร์ก นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ ฟิสิกส์และปรัชญา (Physics and Philosophy) อันกระตุ้นให้คาปร้าเกิดความสนใจวิชาฟิสิกส์ในปริบท ที่กว้างไกล และหลากหลายกว่าวิทยาศาสตร์ตามกระแสหลักโดยทั่วไป

    1.จากเต๋าแห่งฟิสิกส์

    ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เป็นชาวออสเตรียเกิดและใช้ชีวิตวัยเยาว์ในชนบทอย่างใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก คาปร้าจบการศึกษาปริญญาเอกด้านทฤษฎีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นโอกาสให้เขาได้ศึกษาและรับอิทธิพลทางความคิดจาก เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบอร์ก นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ ฟิสิกส์และปรัชญา (Physics and Philosophy) อันกระตุ้นให้คาปร้าเกิดความสนใจวิชาฟิสิกส์ในปริบทที่กว้างไกลและหลากหลายกว่าวิทยาศาสตร์ตามกระแสหลักโดยทั่วไป คือเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสู่มิติทางสังคม ชีวิต สิ่งแวดล้อมและมีความสนใจในปรัชญาต่างๆ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาตะวันออกของจีนโบราณ ลัทธิเต๋า พุทธศาสนานิกายเซน ฮินดู

    เขาศึกษาปรัชญาตะวันออกจากคัมภีร์จำนวนมาก เช่น ภควทคีตา คัมภีร์อี้จิงของจีนโบราณ คัมภีร์เต๋าเจอจิง ฯลฯ เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เป็นผู้สอนและวิจัยสาขาฟิสิกส์ในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งในยุโรป อเมริกา ปัจจุบันเขาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ก่อตั้ง-อำนวยการศูนย์เพื่อความรอบรู้ทางนิเวศวิทยา(Center for Ecoliteracy )

    คาปร้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีผลงานคิดและเขียนที่ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับโลก โดยเฉพาะในแวดวงผู้สนใจแนวคิด-ทฤษฎีใหม่ วิธีคิดอย่างใหม่ และการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ไม่ว่าในทางวิทยาศาสตร์หรือสังคม เขามีชื่อเสียงทั้งในฐานะของนักฟิสิกส์ นักนิเวศวิทยาแนวลึก และนักทฤษฎีระบบ(Systems Theorist) ผลงานเขียนของเขาเป็นหนังสือติดอันดับขายดี และได้รับการแปลออกเป็นภาษาสำคัญต่าง ๆ เกือบ 10 ภาษา

    ผลงานทางความคิดที่สำคัญในระยะเริ่มต้นของเขา คือหนังสือชื่อ The Tao of Physics (1975) หรือเต๋าแห่งฟิสิกส์(1) ที่เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลุ่มลึกในเชิงเปรียบเทียบเพื่อประสานให้เห็นความสอดคล้องของปรัชญาในศาสนาตะวันออกกับความรู้ในวิชาฟิสิกส์ใหม่จากทฤษฎีสัมพัทธ์ (Relativity Theory)ของไอนสไตน์ และทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) อันเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ถือกันว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติยุคใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกี่ยวกับสสาร พลังงาน ลักษณะการดำรงอยู่ของอะตอมและองค์ประกอบ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เข้าใจความเป็นไปและลักษณะการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและธรรมชาติมากขึ้น รวมทั้งเกิดทัศนะใหม่ในการมอง"ความจริง"(Reality)ที่แตกต่างไปจากความเข้าใจของวิชาฟิสิกส์แบบเดิมตามทฤษฎีกลศาสตร์ของนิวตันซึ่งวิทยาศาสตร์สาขาอื่น และสังคมศาสตร์ด้านต่างๆ ได้ยึดถือเป็นกระบวนทัศน์ในการพัฒนาทฤษฎีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งปัจจุบัน

    คาปร้าได้ศึกษาค้นคว้ามาเปรียบเทียบให้เห็นอย่างละเอียดในเต๋าแห่งฟิสิกส์ว่า การค้นพบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติในศตวรรษที่ 20 นี้ เป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วในวัฒนธรรมตะวันออกมานานนับพัน ๆปี และอยู่ในรูปของศาสนาซึ่งเป็นแกนหลักของระบบวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต ระบบคิด วิธีคิดแบบเดิมของโลกตะวันออก(และชุมชนดั้งเดิมในโลกตะวันตก เช่น อินเดียแดง อินคา ฯลฯ)

    แต่สังคมตะวันตกในช่วง 200 ปีมานี้ได้หันหลังให้ หลังจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งมีฟิสิกส์แบบเดิมหรือกลศาสตร์ของนิวตัน เป็นแกนหรือฐานหลักของกระบวนทัศน์ ทำให้วิทยาศาสตร์สาขาอื่น รวมทั้งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนฟิสิกส์แบบกลศาสตร์นิวตันนี้ ขาดสิ่งที่คาปร้าเรียกว่าหัวใจ หรือจิตวิญญาณ อันขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงของธรรมชาติที่ค้นพบใหม่โดยทฤษฎีสัมพัทธ์และทฤษฎีควอนตัม

    กระบวนทัศน์ในการมองความจริงของเอกภพ โลก ธรรมชาติ มนุษย์แบบฟิสิกส์กลศาสตร์นี่เอง ทำให้มนุษย์จัดการกับชีวิต สังคม และธรรมชาติอย่างบกพร่อง จนกระทั่งนำมาสู่วิกฤตการณ์ที่เป็นทางตัน คาปร้าเห็นว่าความบรรสานสอดคล้องกันระหว่างฟิสิกส์ใหม่และศาสนาจะนำไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในการมองความจริงของโลกแบบองค์รวม (Holistic) เป็นการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ไปจากกระแสหลักซึ่งมีลักษณะแบบกลศาสตร์ คือ กลไก (Mechanistic) ลดส่วน แยกส่วน (Reductionist)

    จากผลงานคิดในเชิงปรัชญาของงานเขียนเล่มแรก คาปร้าได้นำเสนอในเชิงการวิเคราะห์รูปธรรม และเสนอทฤษฎีใหม่เพื่อเป็นกระบวนทัศน์ในการมองความจริงของโลก มนุษย์ ฯลฯในหนังสือเล่มสำคัญต่อมาคือ The Turning Point (1985) หรือจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ(2) เขาแสดงทัศนะและข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดข้ามสาขาวิชา (Transdisciplinary) โดยอาศัยปรัชญา โลกทัศน์ตะวันออกและฟิสิกส์ยุคใหม่ มาชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการณ์ทั้งหลายในโลกปัจจุบัน มิได้เป็นปัญหาเฉพาะด้านหรืออยู่ที่สาระทางความคิดของเรื่องนั้น ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ จิตวิทยา สิ่งแวดล้อมฯลฯ หากปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นตัวสะท้อนวิกฤตการณ์ด้านวัฒนธรรม กล่าวคือเป็นปัญหาระดับกระบวนทัศน์ คือทัศนะที่มนุษย์มีต่อ"ความจริง" (Reality) ของธรรมชาติแล้วไปกำหนดระบบคิด วิธีคิด การจัดการที่มนุษย์มีต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย และดำรงชีวิตไปตามกระบวนทัศน์ดังกล่าว จนกระทั่งนำมาสู่ทางตันของการพัฒนา ที่เป็นวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติและโลกทั้งหมด อันแก้ไขได้ยากหากไม่มีการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ในการมองความจริงแบบใหม่ ซึ่งค้นพบโดยฟิสิกส์แบบใหม่และปรัชญาตะวันออก

    โดยสรุปคือคาปร้าเห็นว่ารากเหง้าของปัญหามาจากการที่ศาสตร์ และความรู้ทั้งหลายที่มนุษย์ใช้ในการพัฒนาชีวิต สังคม ในด้านจิตวิทยา สุขภาพ เศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคม ฯลฯ ตั้งอยู่บนทัศนะ ความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ที่ยังคงตั้งอยู่บนฟิสิกส์แบบเดิมที่มีข้อบกพร่องและได้ถูกหักล้างไปแล้วด้วยฟิสิกส์ใหม่ในช่วง 3 ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20

    แนวคิดของคาปร้าในงานเขียนทั้ง 2 เล่ม มาจากการย้อนไปศึกษาปรัชญา โลกทัศน์ตั้งแต่สมัยกรีก ซึ่งปรากฏว่า วิชาฟิสิกส์หรือศัพท์เดิมว่า Physis คือวิชาซึ่งว่าด้วยการค้นหาธรรมชาติแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง (Physics แปลว่า ธรรมชาติ) มิได้แยกออกเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หากเป็นศาสตร์ของการศึกษากฎเกณฑ์ องค์ประกอบของธรรมชาติทั้งในเชิงรูปธรรม-กายภาพ (ดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ) และในเชิงนามธรรม ไม่มีการแยกสิ่งมีชีวิต-ไม่มีชีวิต จิตวิญญาณและวัตถุ ถือว่าสรรพสิ่งเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ไม่มีแม้คำเรียก"วัตถุ"เพราะถือว่าทุกสิ่งเป็นการปรากฏแสดงของ"Physis"หรือธรรมชาติซึ่งเต็มไปด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตลอดเวลา จากการขับเคี่ยวกันของสิ่งซึ่งตรงกันข้ามกัน หากแต่คู่แห่งการขับเคี่ยวกันนั้น แท้จริงเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นเอกภาพ(องค์รวม) ปรัชญาธรรมชาตินี้ตรงกับปรัชญาโบราณของอินเดียและจีน(โดยเฉพาะลัทธิเต๋า )

    อย่างไรก็ตาม พื้นฐานความเชื่อนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง และออกมาเป็นสำนักความเชื่อต่าง ๆ เช่น เชื่อว่ากฎธรรมชาติเป็นตัวบุคคล (เทพเจ้า พระเจ้า ฯลฯ) และกลายเป็นลัทธิทวิภาวะ (Dualism) การแบ่งแยกขั้ว ที่เป็นกระบวนทัศน์ของตะวันตกในเวลาต่อมา ในการแยกวัตถุ-จิต ปัจจัยภายใน-ภายนอก ฯลฯ ให้แยกกันเป็นคนละสิ่ง มิใช่เอกภาพของสิ่งเดียวกัน(องค์รวม) อีก

    อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์อย่างสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในด้านวิทยาศาสตร์ การเมือง (การปฏิวัติฝรั่งเศส) เศรษฐกิจ(การปฏิวัติอุตสาหกรรม) โดยเฉพาะการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งพัฒนาการมาเป็นกระบวนทัศน์กระแสหลักของโลกปัจจุบัน โดยแกนหลักหรือรากฐานมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในด้านฟิสิกส์ของนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอิทธิพลสำคัญ 2 คน คือกาลิเลโอ และไอแซค นิวตัน โดยคนแรกเชื่อว่า มนุษย์สามารถเข้าถึง"ความจริง"และหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ จักรวาลทั้งหมดได้ด้วยการทดลองและสังเกตโดยประจักษ์(Empirical) โดยอาศัยคณิตศาสตร์คำนวณได้อย่างแม่นยำไม่ผิดพลาด

    จากคุณ : โลกันต์ - [ 26 เม.ย. 48 11:28:20 A:203.113.51.73 X:203.151.140.112 TicketID:096317 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป