เรียนเจ้าของความเห็นที่28 และอีกหลายท่านที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับ "นวนิยายวิทยาศาสตร์"
นี่เป็นเหตุมาจากว่า งานเขียนชั้นดี สำนวนดีๆหลายๆเรื่องที่อ่านได้สนุกสนานโดยไม่ต้องเรียกหายาแก้ปวดหัวนั้น มันค่อยๆสูญหายไปจากตลาดหนังสือและห้องสมุดของบ้านเรา แล้วไม่มีการพิมพ์ซ้ำ ส่วนเรื่องใหม่ๆที่หามาป้อนให้นักอ่านในช่วง10ปีมานี้ ก็มีจำนวนเรื่องและความแตกต่างกันทางเนื้อหาสาระ ยังไม่มากพอดังเช่นตลาดหนังสือในอดีต
นับว่านานเกินไปแล้ว
จึงเป็นผลให้นักอ่านรุ่นหลังๆไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จักนิยายวิทย์ที่หลากรูปแบบแตกต่างกันไป ดังเช่น นักอ่านรุ่นก่อนได้เคยเติบโตมากับมัน
จริงๆแล้วนิยายวิทย์เองนั้นก็เหมือนวรรณกรรมแนวอื่นๆที่มีทั้งแบบลึกลับซับซ้อน แบบสนุกสนาน ตลกเฮฮา แบบโศกเศร้าเคร้าน้ำตา แล้วลงท้ายด้วยคติสอนใจ หรือบอกใบ้ให้คิดได้เอง ดังหนังสือที่ผมได้ยกเป็นตัวอย่างมาข้างต้น
คุณสามารถสนุกสนานกับเนื้อเรื่องได้โดยไม่ต้องมีความรู้วิทยาศาสตร์ชั้นสูงไปกับหนังสือชุด "สงครามระหว่างดวงดาว" ราคา5 บาท เพราะเขาตั้งใจทำให้เด็กอ่าน
คุณสามารถลุ้นระทึกไปกับชะตากรรมของโลกในนวนิยายเรื่องยาวอย่าง "อุกาบาต" โดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ แต่อย่างใด (อย่าลืมว่าผมอ่านมันตอนอยู่ ป5)
งานของคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ใน"กรุงเทพ2554"นั้นก็คงรับประกันได้ว่า คุณจะสามารถพบข้อคิดข้อเตือนใจ ที่ผู้เขียนได้สื่อออกมาอย่างชัดเจน ในเรื่องนั้นตัวละครคุณปู่ผู้ซึ่งช่วยเลี้ยงหลาน และพาหลานไปเที่ยวยังที่ต่างๆในวันหยุด ตัวเรืองได้สื่อถึงความสำคัญของผู้สูงอายุที่มีต่อครอบครัวไทย ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็ตามได้อย่างชัดเจน อีกทั้งสำนวนของหนังสือเล่มนี้ก็ไม่เด็กเกินไนัก อยู่ในมาตราฐานของนิยายชั้นดีเลยทีเดียว สมกับเป็นงานของกวีระดับชาติ สมควรยกย่องให้อยู่กลุ่ม88หนังสือดีทางวิทยาศาสตร์ของไทย
อีกทั้งไม่ควรลืม คุณครูจันตรี ศิริบุญรอดผู้เป็นทั้งครูและนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ผู้อุทิศชีวิตให้กับการสั่งสอนคุณธรรมแก่เยาวชนไทยผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมคิดว่า"คุณเจ้าของความเห็นที่ 28" คงไม่เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานและความมุ่งมั่นของท่าน หรือรับทราบความมีตัวตนของท่านด้วยซ้ำ
ผมในฐานะผู้อ่าน ขอยืนยันว่า70% ของนิยายแนวนี้ผู้เขียนได้ใส่ข้อคิดที่เป็นประโยชน์เข้าไปด้วยเสมอ ส่วนที่เหลือก็เฉกเช่นเดียวกันกับวรรณกรรมแนวอื่นๆที่ต่างก็จะต้องมี "นิยายน้ำเน่า" ในแนวของวรรณกรรมสาขานั้นๆหรือที่เรียกว่าเศษวรรณกรรมเสมอ ไม่ว่าจะเกิดจากความอ่อนด้อยของนักเขียนเอง หรือความตั้งใจเพื่อที่จะป้อนตลาดของผู้อ่านที่มีอายุและระดับสติปัญญาแตกต่างกัน นันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก
จินตนาการจากผู้ที่มีคุณธรรม ย่อมเป็นสิ่งประเสริฐ
แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 48 22:59:27
แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 48 22:54:49
แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 48 22:50:12
แก้ไขเมื่อ 20 ก.ค. 48 23:32:03
แก้ไขเมื่อ 20 ก.ค. 48 23:25:26