Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
10 รายการส่วนผสมธรรมชาติ (สารเคมี) ที่ใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อ ในวงการเครื่องสำอาง  

สวัสดีชาวห้องแป้งทุกคนนะคะ

ชมย้ำจากหัวข้อแล้วนะคะ ไม่ว่าจะสารสกัดอะไร ชื่อเป็นธรรมชาติมากแค่ไหน หรือแม้แต่มาจากเทือกเถาเหล่ากอที่ดูยิ่งใหญ่ น่าเชื่อถือ (รวมถึงแปลกๆ) ล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีทั้งสิ้น

การใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อในวงการเครื่องสำอางนี้ ชมขอหมายถึง สาร(เคมี) ที่ใช้ล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีปัญหา ที่ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีหรือมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่ปัญหาปัญหาเหล่านั้น โดยเฉพาะเรื่องความระคายเคืองกับผิว ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ นับได้ว่ากลบข้อดีที่มีอยู่ไปหมดสิ้น

ถึงแม้ว่าสารดังกล่าวจะมีประโยชน์จริง (ที่มาพร้อมกับข้อเสีย) คุณยังอยากจะใช้หรือคะ เพราะประโยชน์ที่คุณได้รับ อาจจะมาพร้อมกับความเสียหายที่ทำให้คุณกระอักกระอ่วมใจ เหมือนมีดสองคม หรือหอกข้างแคร่ มีสารดีๆอีกเยอะแยะค่ะ ที่มีแต่ข้อดีๆ และไม่ทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงว่าเช่นนี้

10 รายส่วนผสมเหล่านี้ก่อปัญหาได้ทั้งสิ้น หรือไม่ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ใส่มาเพียงเพื่อยอดขายทางการตลาด หรือหลอกผู้บริโภค ใช้เหมือนกับไม่ได้ใช้ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนผสมที่ไร้สาระ ไม่มีเหตุผลอันใดที่ทำให้ใช้เลย

1. Witch Hazel
ถึงแม้ว่า witch hazel จะเป็น antioxidant และไปกว่านั้นเป็นสารต้านการระคายเคือง ก็ตามแต่ เรื่องที่เลวร้ายมากกว่านั้น จนกลบความดีของสารตัวนี้ไปจนหมดสิ้นคือ Consumer’s Dictionary of Cosmetic Ingredients (Sixth Edition, Ruth Winter, 2005, Three Rivers Press กล่าวว่าการผลิต witch hazel ใช้ตัวทำละลายคือ เอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดก่อการระคายเคือผิวอยู่ถึง 70-80% และยังมีสารแทนนินที่ก่อการระคายเคืองผิวได้ 2-9% (ถึงแม้แทนนินจะมีคุณสมบัติเป็น antioxidant ด้วยก็ตาม) ส่วน Witch hazel water ก็มี เอทานอล 15%
สรุปแล้วคือ witch hazel มีข้อเสียที่มากกว่าข้อดี หากใครหลายคนต้องการสารต้านการระคายเคือง รวมไปถึง antioxidant ทั้งที ไม่ฉลาดเลยที่คุณจะเลือก witch hazel ค่ะ

2. Angelica archangelica
www.naturaldatabase.com และ Journal of Agricultural and Food Chemistry, March 2007, pages 1737–1742 บอกว่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือสารสกัด ต่างก็มีสารที่ทำให้เกิด phototoxic ได้ทั้งสิ้น เพราะต่างประกอบไปด้วยสารเจ้าปัญหา bergapten, imperatorin, and xanthotoxin แต่จากผลรายงานการวิจัย ต้องยอมรับว่า Angelica archangelica เป็น antioxidant ได้เช่นกัน แต่มันไม่ฉลาดเลย เพราะ antioxidant ในโลกนี้มีอีกตั้งหลายตัวที่ไม่ทำให้เกิด phototoxic

3. Peppermint
ถึงแม้ Journal of Agricultural and Food Chemistry, July 2002, pages 3943–3946 จะบอกว่าเป็น antimicrobial แต่ปัญหาหลักใหญ่คือ www.naturaldatabase.com บอกว่า ทั้งน้ำมัน และสารสกัดก่อการระคายเคืองผิวได้ทั้งสิ้น

4. Eucalyptus
Skin Pharmacology and Applied Skin Physiology, January–February 2000, pages 60–64 บอกว่าไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือสารสกัดต่างก็เป็น สารต้านเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา รวมไปถึงเชื้อไวรัส แต่ปัญหาก็คือว่า Clinical Experimental Dermatology, March 1995, pages 143–145; and www.alternativedr.com/conditions/ConsHerbs/Eucalyptusch.html บอกว่าเป็นสารก่อการระคายเคือง

5. Citrus
หรือสารสกัดพวกพืชตระกูลส้ม ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหน หรือ สปีชีส์อะไร ก็ก่อการระคายเคืองได้ทั้งนั้น
อย่าง Citrus aurantium Journal of Agricultural Food Chemistry, December 1999, pages 5239–5244 บอกว่าเป็น antioxidant แต่ปัญหาใหญ่อีกตามเคยคือ Contact Dermatitis, January 1992, pages 9–11 บอกว่าก่อการระคายเคืองได้

6. Tourmaline
มาจนถึงบัดนี้ ไม่มีรายงานการวิจัยไหนที่เป็นกลางสนับสนุนว่า tourmaline มีประโยชน์ เมื่อนำมาใช้กับผิวหน้า
ทัวร์มาลีน เพียงแค่สร้างประจุไฟฟ้าได้ เมื่อได้รับความดันที่เหมาะสม จึงมีการใช้ใช้ทัวร์มาลีนในเครื่องวัดความดันเท่านั้นเองค่ะ

7. Camphor
หรือการบูร British Journal of Dermatology, November 2000, pages 923–929; and Clinical Toxicology, December 1981, pages 1485–1498 บอกข่าวร้ายให้ทราบว่าก่อการระคายเคืองได้มาก
การบูรก่อให้เกิดความเย็น และทำให้หลอดเลือดขยายตัว แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับผิวเลย

8. Rosemary
ถึงแม้ว่า Journal of Agricultural Food Chemistry, October 1999, pages 3954–3962 จะยืนยันว่าเป็น antioxidant ก็ตาม แต่ข่าวร้ายคือ Chemical Research in Toxicology, November 2001, pages 1546–1551 บอกว่าก่อการระคายเคือง และเกิดปฎิกิริยาที่เป็นพิษกับผิว

9. Ginger
หรือขิง ถึงแม้ว่า Carcinogenesis, May 2002, pages 795–802; and Food and Chemical Toxicology, August 2002, pages 1091–1097 จะบอกว่าเป็นสารที่ต้านการติดเชื้อ และต้านมะเร็ง เมื่อรับประทาน แต่ IFA—International Federation of Aromatherapists, www.int-fed-aromatherapy.co.uk บอกว่าก่อการระคายเคืองผิวได้

10. Bifida
สารที่คุ้นๆตาคือ bifida ferment lysate ไม่มีรายงานการวิจัยใดๆว่ามีปะโยชน์ต่อผิว bifida เป็นเพียงแบคทีเรียแกรมบวกในลำไส้ใหญ่ ที่ช่วยย่อยกากอาหารเท่านั้น

จากคุณ : Chompoo_X-ray
เขียนเมื่อ : วันรัฐธรรมนูญ 52 13:33:44




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com