CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    พระมหากษัตริย์กับนักกฎหมาย

    ในอดีตมาเรารับรู้อยู่แล้วว่ากฎหมายไทยเรานั้นสืบทอดมาจากระบบกฎหมายแบบ
    จารีตประเพณีภายใต้รูปแบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์    
    ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้นทั้งในทางการบริหาร
    การนิติบัญญัติ และการตุลาการ จวบจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    เป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ    ตามระบบการตรากฎหมาย
    รัฐธรรมนูญนั้น  ย่อมกำหนดได้ว่า อำนาจอธิปไตยนั้นมีที่มาจากที่ใด  

    อย่างเช่นของประเทศฝรั่งเศส ที่มาของอธิปไตยมาจากประชาชน  ก็ยังมีข้อ
    ถกเถียงในระหว่างการตรากฎหมายว่าด้วยการกำหนดอำนาจของรัฐธรรมนูญว่า  
    แท้จริงแล้ว  อำนาจในการปกครองประเทศของไทยนั้น  แท้จริงเป็นของ
    ประชาชน หรือแท้จริงได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์  
    เพราะตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวัน
    พระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย "ฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร"  
    เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
    ดังนี้

            "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้า อยู่แต่เดิม
    ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของข้าพเจ้าให้แก่
    ผู้ใดคณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง
    อันแท้จริงของประชาราษฎร"  


               ส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลง การปกครอง จากระบอบสมบูรณา-
    ญาสิทธิราชย์  มาเป็นประชาธิปไตย

    แก้ไขเมื่อ 09 มิ.ย. 49 07:43:14

    จากคุณ : โตมิโต กูโชว์ดะ - [ 9 มิ.ย. 49 07:38:36 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | PanTown.com | BlogGang.com