ความคิดเห็นที่ 85
หวัดดีครับคุณนกโก๊ก ขอคุยกันเป็นภาษาคน (ร้อยแก้ว) ก่อนนะครับ โดยจะขอใช้ที่คุณนกฯ เขียน มาเป็นตัวอย่างในการอ้างถึง จากที่เขียน..การจะเยื้องย่างแบบ 'ตีนช้าง' หรือไม่.. ด้านซ้าย กัด สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง พฤกษ์, ผูก, มัด ตรงนี้ใช้ มัด บ่า สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง มี, สุข, ด้วย ตรงนี้ ไม่พบ เดือน สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง อบ, รม,เตือน ตรงนี้ใช้ เตือน ศิษย์ สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ตั้ง, สติ,ตรวจ ตรงนี้ไม่พบ ใคร สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ห่าง,ถี่,ไย ตรงนี้ใช้ ไย หลุด สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ลักษณ์,หลัก,ร้อย ตรงนี้ไม่พบ คำ สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วงพิ, นิจ,นำ ตรงนี้ใช้ นำ ด้านขวา เจ้า สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ใช่, เป้า ตรงนี้ใช้ เป้า ปีน สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง การ,งาน,สอน ตรงนี้ไม่พบ น้อย สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ษี,ข้อย ตรงนี้ใช้ ข้อย ขม สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ดั้น,โชว์,ดู ตรงนี้ไม่พบ ได้ สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง ชรา,ใช้ ตรงนี้ใช้ ใช้ ชาญ สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง โท,พยัญ ตรงนี้ไม่พบ ไว้ สามารถสัมผัสได้กับคำใดคำหนึ่งช่วง บ้า,ใบ้ ตรงนี้ใช้ ใบ้ ถ้าเราลองขีดเส้นใต้คำบังคับสัมผัสที่ผมยกเป็นตัวอย่าง เราจะเห็นการ ยักเยื้อง ฮิ ๆ ผมว่าเหมือน 'ช้างเดิน' ยะย้ายไปจริง ๆ คุณนกสัมผัสที่ต้อง สัมพันธ์กันจะขาดไปเป็นท่อน ๆ ซึ่งแก้แป็บนึงก็หายแล้วครับ เอกโทก็เหมือนเอกโทโคลงสี่สุภาพครับ เพียงแต่ ตรงนี้.. ใช่เป้า,ษีข้อย,ชรา ใช้,บ้าใบ้ ท่านให้เป็นโทคู่ครับ, สร้อยโคลงก็เช่นกัน เหมือนโคลงสี่สุภาพ ง่า-นกโก๊กไม่อ้างอิงตำรา แต่ของผมเอา 'แต่งโคลงตำรับประมาวลมารค' มา แจงให้ทราบครับ ฮิ ๆ ก็ไม่มีอะไรหรอกเพื่อความสบายใจว่าถูกต้องตามแบบ แผนตอนนี้ผมเองจำบาทกุญชรได้ขึ้นใจแล้ว สามารถเขียนแบบปกติได้ แต่ ก็ยังคงใช้แบบโบราณปฏิบัติอยู่ กันเหนียวไว้อีกชั้นหนึ่ง เพราะสัมผัสสัมพันธ์ จะไม่มีทางหลุด ในกระบวนโคลงสี่ดั้นอันมี วิวิธมาลี, บาทกุญชร, ตรีพิธพรรณ,จัตวาฑัณฑี ความเห็นผมว่า 'บาทกุญชร' เลิศสุด ควรที่เราจะนำมาเขียนให้เป็นปกติคู่กัน ไปกับโคลงสี่สุภาพ
จากคุณ :
ราม ลิขิต
- [
10 ก.ค. 51 11:39:26
A:118.172.241.136 X: TicketID:150092
]
|
|
|