ความคิดเห็นที่ 5
คือ อะแฮ่ม จะบอกว่า ไม่เคยส่งงานให้ สนพ ดูเลยนะครับ เลยไม่มีประสบ การณ์ เอิ๊ก (สนพ ณ ถนนฯ ไม่นับนา อันนั้นโดนสั่งให้ส่ง อิๆ) ส่วนที่แปล วรรณกรรมเยาวชนให้ สนพ ก็คงนับไม่ได้อีก เพราะมันคนละแบบกัน
แต่เท่าที่ได้คุยกับเพื่อนนักเขียนหลายคน ที่มีงานตีพิมพ์แล้ว ทั้งที่เคยคุย ตอนอยู่ในช่วงส่งงาน และได้คุยกับคนที่เคยทำ สนพ อยู่บ้าง ก็มีความเห็น แบบนี้ครับ
(1) พึงระวังเรื่องความน่าเชื่อถือของ สนพ
ช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่าน มีข่าวหนาหูเหลือเกิน เรื่อง สนพ "เบี้ยวค่าเรื่อง" นักเขียน จ่ายไม่ครบ จ่ายช้า ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็น สนพ ใหม่ แต่ สนพ หน้า เดิมๆ ที่ทำแบบเดิมซ้ำๆ ก็เคยได้ยินมา นักเขียนใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยทราบ ยิ่ง ถ้าเป็นเด็กๆ มีคนรับพิมพ์ให้ก็ดีใจแล้ว สุดท้ายก็โดนกันไปหลายคน
ข่าวเหล่านี้ บางข่าวไม่มีมูล บางข่าวเกิดจากความเข้าใจผิด แต่บางข่าวก็เป็น เรื่องจริง ถ้าจะติดต่อกับ สนพ ไหน ทางที่น่าจะช่วยได้ คือคุยกันคนที่เคย ทำงานกับ สนพ นั้นครับ ถ้าเคยมีกรณีพวกนี้ เราจะได้เก็บข้อมูลไว้พิจารณา
(2) อ่านสัญญาให้ดี อย่าเซ็นโดยไม่อ่าน อย่าตกลงพิมพ์โดยไม่รู้ว่าเขาจะ ทำสัญญาแบบไหน
ก็เหมือนกัน หลายคนได้พิมพ์ก็ดีใจแล้ว จะทำแบบไหนเอายังไงก็ยอมหมด แล้วมารู้ทีหลังว่าถูกเอาเปรียบ โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย...
อันแรกเลยคือ อย่าทำสัญญาขายขาดลิขสิทธิ์ให้ สนพ เว้นแต่มั่นใจว่าต้อง การแบบนั้นจริงๆ
สัญญาที่นิยมทำกันเป็นมาตรฐาน คือสัญญาให้จัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ทั่วไปอยู่ที่ 5 ปี ถ้าเกินกว่านี้ แล้วเขาอยากพิมพ์ต่อ ก็ มาต่อสัญญากัน แบบนี้จะยืดหยุ่นกว่ากันมาก อีกหน่อยถ้าเรามีชื่อเสียงขึ้น มา งานที่เราเคยเขียนไว้ ก็ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกับเราอยู่
บาง สนพ ชอบพยายามซื้อขาด คือโอนความเป็นเจ้าของไปเลย มันก็ดีต่อ สนพ ในแง่ที่เขาจ่ายทีเดียว แล้วไม่ต้องมากังวลเรื่องข้อสัญญาพวกนี้อีก แต่ สำหรับนักเขียนก็ไม่ดีนัก เว้นแต่จะได้ค่าตอบแทนก้อนโตพอสมควร และ ยินดี เต็มใจ ขายสิทธิ์ขาดจริงๆ ไม่ถูกหลอก (บางคนเขาก็ชอบแบบนี้นะ ครับ แล้วแต่ความนิยมส่วนตัว)
(3) ระบบการจ่ายค่าตอบแทน
ดูค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยปกติค่าตอบแทนนักเขียนนิยาย จะอยู่ประมาณ 10% ของราคาขาย คูณจำนวนเล่มที่พิมพ์ อาจจะบวกลบนิดหน่อย เช่นถ้า เป็นนักเขียนใหม่ คนอ่านไม่รู้จัก อาจจะได้เปอร์เซนต์ต่ำกว่านี้ ก็ถือว่ายุติธรรม ดี เพราะ สนพ ไม่รู้จะขายได้มั้ย ก็ต้องรับความเสี่ยงด้วย
ค่าตอบแทนแบบอัตราส่วนที่พิมพ์แบบนี้ ถ้า สนพ พิมพ์เพิ่ม ก็ต้องจ่ายให้เรา เพิ่มแต่ละครั้งไปครับ
เดี๋ยวนี้มีระบบค่าตอบแทนอีกแบบ ที่ สนพ ใหม่ๆ ชอบใช้กัน เพราะลดภาระใน การหมุนเงิน คือ จ่ายเป็นเปอร์เซนต์ตามจำนวนเล่มที่ขายได้ แต่มีประกัน ขั้นต่ำให้ว่าจะจ่ายเราอย่างน้อยกี่เล่ม ถ้าขายได้หมด ถึงจะจ่ายที่เหลือ
ตัวอย่างสองแบบเทียบกันนะครับ สมมุติหนังสือเล่มละ 100 บาท พิมพ์จำนวน 3,000 เล่ม มูลค่าการพิมพ์ทั้งหมด 300,000 บาท (คือมูลค่าหนังสือทั้งสามพัน เล่มรวมกัน ไม่ได้แปลว่า สนพ จะได้เงินจำนวนนี้จริงๆ เพราะยังมีส่วนลดแลก แจกแถม ค่าการตลาดจิปาถะ)
ถ้าเป็นระบบแรก สมมุติตั้งอัตราค่าตอบแทนไว้ที่ 10% คนเขียนจะได้ 30,000 บาท สำหรับการพิมพ์ครั้งนี้ ไม่ว่า สนพ จะขายหมดหรือเปล่า
ถ้าเป็นระบบใหม่ที่กำลังเริ่มนิยม เขาก็มักจะตั้งอัตราค่าตอบแทนแบบเดียวกัน คือ 10% แต่จะกำหนดว่า คนเขียนได้งวดแรกจากจำนวนหนึ่ง เช่น 1,500 เล่ม (คิดเป็นเงิน 15,000 บาท) แล้วถ้า สนพ ขายได้มากกว่า 1,500 เล่ม ไอ้ส่วน ที่ขายได้นั้น เราก็จะได้เล่มละ 10% (คือ 10 บาท) ทุกเล่มไป
แบบที่สองนี้ คนเขียนจะได้ค่าตอบแทนต่ำกว่าแบบแรก ถ้าตั้งอัตราเปอร์เซนต์ เท่ากันครับ เพราะคนเขียนจะมาร่วมรับภาระความเสี่ยงกับ สนพ ด้วย (ซึ่งความ เสี่ยงส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของการบริหารการตลาด เช่น การจัดการต้นทุน การจัด การสายส่ง ซึ่งคนเขียนไม่ได้เกี่ยวด้วยเลย)
ถ้าจะให้แฟร์จริงๆ การใช้ระบบที่สอง ต้องตั้งอัตราให้สูงกว่าถ้าใช้ระบบแรก แบบ นั้นถึงจะแฟร์กับคนเขียน
สนพ มักจะอ้างเรื่องความเสี่ยงในการขายไม่ออก แต่ก็เป็นเหตุผลที่ฟังยาก เพราะ สนพ มีหน้าที่ศึกษาตลาด และตัดสินใจ "เลือกเรื่อง" ที่ควรจะพิมพ์ ถ้าคิดว่าขาย ไม่ออกก็ไม่ควรเลือก ไม่ใช่มากดราคาคนเขียนให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
(4) ระยะเวลาจ่ายค่าตอบแทน
สนพ ใหญ่ๆ มักจะกำหนดไว้ประมาณสองเดือน (บวกลบนิดหน่อย) นับจากวันวาง ขาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีเงินหมุนเข้ามา ซึ่งคนเขียนก็ควรจะเข้าใจ ไม่มีปัญหา อะไร
สนพ ใหม่ๆ มีข่าวกระหึ่ม ว่ามีการแบ่งจ่ายเป็นงวด จ่ายครึ่งแรกก่อนในระยะเวลา ข้างต้น แล้วอีกครึ่งหนึ่ง จ่ายเมื่อหนังสือขายได้ แป่ว... แล้วคนเขียนจะต้องรอ ไปถึงเมื่อไหร่
การจ่ายเงินช้า ถ้านักเขียนไม่ได้มีธุระรีบใช้เงินก็อาจจะไม่เดือดร้อนอะไร แต่ อย่างน้อยที่สุด เป็นมารยาทของ สนพ ที่จะบอกให้รู้ ขอผัดผ่อน (เขามีสถานะ เป็นลูกหนี้ เราเป็นเจ้าหนี้เขา) ไม่ใช่ทำตัวเงียบหาย ให้คนเขียนต้อง "บากหน้า" ไปทวงเอาเอง (ทีตอนอยากได้งานเราล่ะ โทรเช้าโทรดึก)
ประเด็นข้างบนนั้น เป็นประเด็นคอขาดบาดตาย ที่ก่อให้เกิดความช้ำใจได้มากๆ ครับ ยังมีประเด็นปลีกย่อยโบนัสอีกบ้าง ที่ถ้ามีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็... ไม่ถึงกับร้ายแรง
บาง สนพ จะดูแลนักเขียนใน สนพ ดี มีความสัมพันธ์แบบพี่น้อง มีอะไรคุยกัน ถ้า เจอ สนพ ที่เป็นแบบนี้ก็โชคดีไป
บาง สนพ ชอบถือวิสาสะแก้งานเขียนของเรา ถ้าแก้นิดแก้หน่อยในส่วนของการ บรรณาธิกร (editing) ก็ไม่น่าเกลียด ไม่มีปัญหา บาง สนพ อาจจะสนุกกว่านั้น (หรือบาง บ.ก.) และไม่ถามนักเขียน ซึ่งอันนี้เป็นมารยาทที่แย่มาก ถ้าแก้เยอะ แล้วทำโดยที่นักเขียนไม่ได้ยินยอมด้วย บางทีอาจถึงขั้นเสียชื่อนักเขียนไปเลย จะแก้อะไร ก็ควรจะคุยกันให้เข้าใจก่อน
แต่ก็มี บ.ก. บ่นมาเหมือนกัน ว่านักเขียนบางคน แตะต้องอะไรไม่ได้เลย ไม่ยอม ให้แก้ท่าเดียว ทั้งที่งานยังต้องเกลาอีกมาก แล้วก็ไม่ยอมแก้เอง ทำงานด้วยยาก ยิ่ง เจอบ่อยๆ ก็อยากจะหนีเหมือนกัน
ก็ขอเสนอในประเด็นนี้ว่า คุยกันดีๆ คงเข้าใจกันได้ ถ้าไม่ดุเกินไปทั้งสองฝ่าย กร๊าก
เรื่องส่วนร่วมของนักเขียนในการผลิตรูปเล่มก็ต่างกันไปครับ บาง สนพ จะถามนัก เขียนให้มีส่วนร่วมมาก เช่น รูปปก สไตล์การออกแบบ บาง สนพ มีทีมงานเฉพาะ นักเขียนส่งต้นฉบับมา แล้วจบแค่นั้น เพราะถ้าคุยไปคุยมาหลายตลบแล้วมันเสีย เวลา อันนี้ก็แล้วแต่แต่ละที่ไป
นั่นเป็นประเด็นทั่วไปนะครับ ส่วนข้อมูลจำเพาะ ว่าที่ไหนเป็นยังไง คงต้องรอถาม เพื่อนในวงการ ข่าวบางคราว บอกหน้ากระทู้คงไม่สะดวก เดี๋ยวโดนฟ้องกราวรูด ก็คงต้องอาศัยกระซิบถามเพื่อนๆ เป็นการส่วนตัว ส่วนคุณพีทอยู่ห่างไกล ก็เลย ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรพวกนี้หรอกครับ มารู้ก็เฉพาะข่าวที่ดังมากๆ จนมาถึงห้องสมุด หรือถนนนักเขียน แถวนี้เท่านั้นเอง
น้ำท่วมทุ่งอีกแล้ว เอิ๊ก เที่ยงคืนกว่าแล้ว ไปสลบดีกว่า
จากคุณ :
คุณพีทคุง (พิธันดร)
- [
14 ก.ค. 51 21:09:14
]
|
|
|