ความคิดเห็นที่ 16

จิตรปทาฉันท์ นั้นเท่าที่เสาะหาความหมายไม่พบครับ แต่อาจแยกออกเป็น 2 คำคือ "จิตร" และ "ปทา"
จิตร ๑, จิตร- ๑ [จิด, จิดตฺระ-] น. การวาดเขียน, การระบายสี, ลวดลาย. ว. งดงาม, สดใส, ที่เขียนงดงาม. (ป., ส.). จิตร ๒ [จิด] (โบ) น. จิต, ใจ.
-------- ปทา - ค้นหาไม่พบ แต่พบว่า ปทา อาจกลายเป็น บท ในภาษาไทย
ป พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
หรือคำว่า
ปทานุกรม (ปท + อนุกรม) ปทานุกรม น. หนังสือสําหรับค้นคว้าความหมายของคําที่เรียงตามลําดับบท.
---- ค้นจาก บท บท ๑, บท- ๑ [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท). บท ๒, บท- ๒ (แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคําอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคําแปลที่คํานั้น ๆ). (ป. ปท).
------------ ดังนั้น "จิตรปทา" อาจมีความหมายคือ คำประพันธ์ที่มีความสวยงามเหมือนภาพเขียน (อันนี้ผม "เดา"เอานะครับ)
จากคุณ :
ethanoic
- [
8 ก.พ. 52 21:25:56
]
|
|
|