ขออนุญาตมาแปะไว้ใน ทู้นอกเรื่องอีกรอบ เพราะยังมีประเด็นน่าสนใจคุยค้างเอาไว้อ่ะค่ะ
คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค
ข้อความยกมานะคะ
(กระทู้ระเบิดเวลา) อยากทราบว่ามีนิยายแฟนตาซีเรื่องใดที่ใช้การเล่าเรื่องสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
คือ กำลังทำวิจัยส่วนตัว เพราะเท่าที่ตัวเองอ่านๆ มา แฟนตาซีน้อยเรื่องมากที่ใช้การดำเนินเรื่องด้วยการใช้คำว่า ผม ฉัน ข้า กู
หรือว่าที่ใช้ๆ กันมันไม่เคยผ่านสายตาก็ไม่รู้
รบกวน คอนิยาย ช่วยบอกรายชื่อหน่อยนะคะ อยากดูสถิตอ่ะ
ปล.๑ ขอเฉพาะที่เป็นนิยายแฟนตาซีเท่านั้นนะ จะไทย เทศ อย่างไรก็ได้
ปล.๒ ขออภัยที่บังอาจตั้งกระทู้ในหมวดนิยาย แต่รับรองว่าจะลบทันทีที่เสร็จธุร ด้วยว่ามันด่วนจี๋ๆ หากไปตั้งค้างเติ่งในนอกเรื่องแล้วมันจะต้องใช้เวลาอักโขอ่ะค่ะ
ย้ำ!!!!
กระทู้นี้เป็นกระทู้ระเบิดเวลา ข้าพเจ้าจะระดมพลกดลบในเวลา ๒๔ นาฬิกาเจ้าค่ะ
คริคริคริ
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 14:52:38 ]
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
การใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งทำให้ความเป้นแฟนตาซีด้อยลงไปหรือเปล่า ?
เพราะเวลาใช้แล้ว มันจะทำให้โฟกัสลงไปที่ตัวเอกมากกว่าที่จะไปโฟกัสยังสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
ทำให้การนำเสนอสิ่งแวดล้อมรอบข้าง อันเป็นจุดเด่นของแฟนตาซีลดถอยลงไป ?
จากคุณ : ซ่อนนาม - [ 2 เม.ย. 52 16:09:19 ]
ความคิดเห็นที่ 2
ขอบคุณคุณซ่อนนาม เหยื่อรายแรก อิอิ
วิธีการเล่าเรื่องต่างๆ มีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันไป
อย่างที่คุณซ่อนนามบอกก็เข้าเค้า
เพราะแฟนตาซีจะเน้นฉาก บรรยากาศต่างๆ
ขณะที่ การใช้ "บุรุษที่ ๑" เล่าเรื่อง เหมาะกับงานเขียน
ที่คนเขียนต้องการซ่อนอะไรบางอย่างไว้ ด้วยการจำกัดมุมมอง
จำกัดความรู้แจ้ง จากการนำเสนอแบบ "บุรุษที่ ๓"
นี่เองละค่ะ ที่มาของการตั้งกระทู้
เพราะ อย่างที่บอก เท่าที่อ่านแฟนตาซีตา ยังไม่ค่อยได้เห็น
ใครเล่าเรื่องด้วย บุรุษที่ ๑
แต่ก็เพราะความน้อยนิดของการอ่านของตัวเอง เลยต้อง "สืบถาม"
จากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักอ่านทุกคน
ขอบคุณล่วงหน้า สำหรับทุกๆความคิดเห็น
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 16:55:38 ]
ความคิดเห็นที่ 3
ไตรภาค บาติเมอัส ค่ะ
เราเพิ่งอ่านเล่มแรก ตอน ซามาร์คันด์ เหรียญอาถรรพ์
ใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งแทนตัวเอกบาติเมอัสค่ะ
แต่บางตอนก็เปลี่ยนไปใช้สรรพนามบุรุษทีสองสามด้วย
จากคุณ : เมาดิบ - [ 2 เม.ย. 52 17:12:25 ]
ความคิดเห็นที่ 4
เย้ๆ แสดงว่าการเล่าเรื่องแฟนตาซีด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ยังมีอยุ่ในบรรณพิภพ ไว้จะไปยืน เลียบๆ อ่านเรื่องที่คุณเมาดิบว่ามานะคะ
ส่วนบางตอนที่ว่าเปลี่ยนไปใช้สรรพนามบุรุษที่สองที่สาม วิเคราะห์ได้ว่า
อาจเป็นช่วงของการเล่าเรื่องซ้อนเรื่อง หรือการเท้าความละกระมัง
จะลองไปตามอ่านดูก่อนนะคะ
ขอบคุณมากมาย
มีเรื่องไหนอีกหรือเปล่าเอ่ย
รบกวนด้วยนะจ๊ะๆ
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 17:54:20 ]
ความคิดเห็นที่ 5
แอบมาดูคำตอบค่ะ
เพราะหนมจีนก็นึกไม่ออกเหมือนกัน
นึกได้แต่ละเรื่อง ก็ดันเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ซะนี่
เผื่อพี่ก๊อตตี้ผ่านมา...
มีแฟนตาซีในถนนฯที่เป็นแบบนี้มั่งมั้ยคะ?
จากคุณ : หนมจีน - [ 2 เม.ย. 52 19:36:33 A:58.34.239.33 X: TicketID:063710 ]
ความคิดเห็นที่ 6
อ้าว พาดพิง
อยากบอกว่ารู้สึกว่ามี แต่ว่าจำชื่อเรื่องไม่ได้
ต้องเข้าใจว่านิยายหมวดนี้
เป็นหมวดที่มาลงแล้วเงียบหายบ่อยที่สุด
จำได้เลาๆ ประมาณที่ตัวเอกยังวัยรุ่น แล้วต้องไปอีกมิติค่ะ
(ล่าสุดที่หายไป
น่าจะเรื่องที่ต้องไปเรียนโรงเรียนพ่อมดอะไรสักอย่างที่ญี่ปุ่น)
อ้อ นึกออกแล้ว สัตตมกรก็ใช่ค่ะ ยังลงสม่ำเสมอ
ส่วนหลักที่ดำเนินเรื่องคือผม แม้จะมีพระเจ้าบ้างก็เถอะ
แต่ว่า แฟนตาซีของเรามันจะมีความหมายเหมือนกันปล่าวไม่รู้นะ
จากคุณ : scottie - [ 2 เม.ย. 52 20:25:40 ]
ความคิดเห็นที่ 7
ไทย
ไมรอน - พัณณิดา ภูมิวัฒน์
ฯพณฯ แห่งกาลเวลา - พัณณิดา ภูมิวัฒน์
เทศ
The Thief (จอมโจรยูเจดินิส) - Megan Whalen Turner
The King of Attolia (ราชันแห่งแอตโตเลีย) - Megan Whalen Turner
The Twilight series - Stephanie Meyer
นึกได้แค่นี้ค่ะ
ว่าแต่เรื่อง A Wild Sheep Chase (แกะรอยแกะดาว) ของ มุราคามิ
จะนับเป็นนิยายแฟนตาซีได้หรือเปล่าอะ เหมือนมันเป็นสืบสวนมากกว่านิ
จากคุณ : ปิยะรักษ์ - [ 2 เม.ย. 52 20:41:15 ]
ความคิดเห็นที่ 8
หะเหยๆ ในที่สุดกูรูก็มา (ถึงจะถูกใช้สิทธิ์พาดพิงก็เหอะเนอะ)
งานคุณพัณณิดา ภูมิวัฒน์ เหมาะยิ่งที่จะนำเสนอด้วยบุรุษที่ ๑
ส่วนเทศ ก็มีThe Twilight series เรื่องเดียวที่นึกออก
ทั้งสาม ก็เป็นไปตามสูตร "จำกัด" บางข้อมูลอย่างที่ว่าจริงๆ เสียด้วย
ส่วนเรื่องอื่นๆ จะลองเข้าไปควานหาอ่านตัวอย่างในเวปนะจ๊ะ
ขอบคุณคุณหนมจีน (คิดถึงจัง ไม่เจอในทู้อีตาซองตั้งนานละ)
ขอบคุณคุณก๊อตตี้ (งานนี้ขาดคุณก๊อตตี้ก็เหมือนตำน้ำพริกไม่ใส่พริกดิเนอะ)
ขอบคุณปิยะรักษ์ (สำหรับข้อมูลดีๆ ชัดเจน)
อีกชั่วโมงกว่าๆ ข้าพเจ้าจะลบกระทู้แล้วเน้อ
แบบว่า ยังอยากรู้อีก ในหมวดแฟนตาซี อื่นๆ ยังมีที่ใช้บุรุษที่หนึ่งอีกไหม
ยังไงนู๋ลบในรวมเรื่องนี้แล้ว จะไปตั้งไว้ในนอกเรื่องอีกทีนะคะ นะคะ
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 22:36:40 ]
ความคิดเห็นที่ 9
ขออนุญาตมาโหนกระทู้ถามนะคะคุณซองไม่ครบพัน
งงๆว่าไอ้พอยท์ออฟวิวของบุรุษที่สองเนี่ย มันทำได้ยังไงค่ะ
แล้วนิยายมันจะเขียนออกมาเป็นยังไง หน้าตาแบบไหน
เป็นงานเขียนลักษณะไหน ใครมีตัวอย่าง มีความรู้
พอจะแจกแจงให้ผู้(รู้)น้อยกระจ่างแจ้งได้หรือเปล่าคะ
จากคุณ : annie (หมูอมโรค) - [ 2 เม.ย. 52 23:15:16 ]
ความคิดเห็นที่ 10
บุรุษที่สอง ก็อย่างเช่น เชอร์ล็อกโฮม อ่ะค่ะ
ในเชอร์ล็อกโฮม หมอวัตสันเป็นคนเล่าเรื่องการสืบสวนของท่านเชอร์
ใช้ตัวรองในการเดินเรื่อง โดยมองพฤติกรรมของตัวหลัง จะใช้ เขา เธอ ไรงิ
ส่วนเรื่องอื่นยังคิดไม่ออก ในไทยไม่นิยมเขียน เพราะค่อนข้างยาก
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 23:18:04 ]
ความคิดเห็นที่ 11
เอากระทู้มาฝากให้ช่วยลบด้วยค่ะ
เหลืออีก 1 ท่านมาช่วยกดจิ๊กก็ลบได้แล้วค่ะ
วานหน่อยนะคะเพื่อนๆผู้น่ารักและใจดีทุกท่าน
http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W7590671/W7590671.html
จากคุณ : annie (หมูอมโรค) - [ 2 เม.ย. 52 23:18:11 ]
ความคิดเห็นที่ 12
คุณซองไม่ครับพันคะ
อย่างนี้เองเหรอคะที่เรียกว่าการเขียนแบบบุรุษที่สอง
อ้าว! งั้นแอนนี่ก็กำลังเขียนแบบนี้อยู่อะสิ
แต่.. แต่... แอนนี่เข้าใจว่า 'บุรุษที่สอง' หมายถึง 'เธอ คุณ มรึง เอ็ง เจ้า'
ประมาณนี้ซะอีกค่ะ ส่วนที่แบบว่า 'เธอ' 'เขา' นี่เป็นบุรุษที่สาม
แต่ถ้าพูดถึงเชอร์ล็อค โฮล์มก็เห็นภาพค่ะ แต่ไม่ทราบจริงๆว่า
แบบนี้เรียกว่าบุรุษที่สองเล่าเรื่อง
วานช่วยอธิบายต่ออีกนิดได้มั้ยคะ
ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่ให้ความรู้
จากคุณ : annie (หมูอมโรค) - [ 2 เม.ย. 52 23:22:10 ]
ความคิดเห็นที่ 13
แง่บๆ หลักการแบ่งมันมาจากฟากตะวันตก ที่มีการแบ่งบุรุษสรรพนามชัดเจนกว่าเรา กระมังอะคะ เลยทำให้พอมาอธิบายทำนองไทยๆ แล้วไม่ค่อยชัดเจน (โห ต้องจุดธูปเรียกครูบาอาจารย์มาเข้าทรงซะละ ๕๕๕)
ในกรณีเดียวกันกับสรรพนามนี่คุณแอนนี่ยกมาก คุณ มืง เอ็ง เจ้า ก็อาจ
จัดเป็นบุรุษสรรพนามที่ ๒ ได้เช่นกันนี่เนอะคะ (โห อันนี้ตอบแบบกำปั้นทุบดิน)
โดยสรุปคือ เราแบ่งคร่าวๆ อย่างง่ายๆ ว่าเป็นมุมมองแบบ ๑ ฉัน, ๒ เธอ, ๓ เขา เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในการศึกษาวิจักษ์วิจารณ์
ฉัน บุรุษที่หนึ่ง เราเรื่อง ข้อดีคือ จำกัด ข้อมูลที่คนอ่านต้องรู้ไว้ได้ ข้อเสียคือ จะไม่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า (กรณีคนปกติ) ไม่สามารถรู้ใจใครได้ กล่าวคือ จะรู้จะเห็นเท่าที่ประสบการณ์และประสาทสัมผัสของตัว "ฉัน" มีอยู่ และเท่าที่ "ฉัน" จะประมวลเอาเองได้เพียงแค่นั้น
เธอ บุรุษที่สอง หรือจะใช้สรรพนามใดก็ตามแต่ แต่หลักๆ คือผู้เขียนใช้ตัวรองหรือตัวประกอบเป็นคนเล่าเรื่อง เล่าผ่านมุมมองของตัวประกอบ ซึ่งตัวประกอบก็ต้องมีบทบาทในเรื่องพอสมควร ข้อดีข้อเสีย นึกไม่ออกเหมือนกัน ๕๕๕ รู้แต่ว่าเขียนยาก เพราะเขียนไปเขียนมา มันจะไปใกล้กับ บุรุษ
ที่หนึ่ง คือแทนที่ ฉัน จะเล่าเรื่องของ เธอ...ฉันกลับเล่าเรื่องของตัวเองซะงั้น
เขา บุรุษที่สาม หรือที่เรียกกันว่า มุมมองแบบรู้แจ้ง คนเขียนเป็นพระเจ้า รู้ไปหมด ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร มีหน้าที่นำมาถ่ายทอดให้คนอ่านได้อ่าน
วิธีนี้นิยมใช้มากที่สุด และคนนิยมอ่านที่สุด เพราะทันใจ ทำความเข้าใจได้ง่าย ข้อดีคือ เขียนบอกได้ทุกอย่างที่อยากบอก ไม่ต้องกั๊ก ข้อขัดข้องคือหากคิดจะอุบไต๋อะไรไว้ไม่ให้คนอ่านนึกถาม ก็ต้องทำให้แนบเนียน ไม่อย่างนั้น คนอ่านจะหาว่า คนเขียนลืมเขียนซะงั้น
คร่าวๆ เท่าที่ฟื้นความทรงจำนะคะ ส่วนใครมีข้อเพิ่มข้อแย้ง ก็ร่วมแบ่งปันกันได้เลยค่ะ
โฮๆๆๆ จะเที่ยงคืนละ เพิ่งได้ ไม่กี่เรื่อง
รบกวน รบกวน รบกวนช่วยกันหน่อยเด้อค่ะเด้อ
จากคุณ : SONG982 - [ 2 เม.ย. 52 23:37:06 ]
คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค
เชิญ แนะนำ แฟนตาซีที่ใช้ ผม ฉัน ข้า กู ในการเล่าเรื่อง ต่อไปเลยนะคะ
จากคุณ :
SONG982
- [
2 เม.ย. 52 23:58:14
]