 |
ตำนาน"ม่อนก๋องข้าว"
|
|
เล่าขานตำนานในท้องถิ่นดอยม่อนก๋องข้าว บ้านสาสบหก อำเภอแจ้ห่ม ดินแดนแห่งวีรกรรมของบรรพชนชาวลั๊วะ ดอย(ภูเขา) ม่อนก๋องข้าว ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ป่าอนุรักษ์ห้วยหก หมู่ที่ ๒ บ้านสาสบหก ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศเหนือ ๔๕ กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอแจ้ห่มไปทางทิศใต้ ๖ กิโลเมตร ชุมชนสาสบหกลุกขึ้นมาจัดการป่าในพื้นที่ของตนเองจำนวนกว่า ๒,๘๐๐ ไร่ ให้เป็นป่าอนุรักษ์ของชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำห้วยหกอย่างจริงจังในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา โดยสร้างฝายชะลอน้ำ(ฝายแม้ว) ตามแนวพระราชดำริฯ ทำแนวป้องกันไฟป่า การเฝ้าระวัง การดับไฟป่า และการปลูกไม้ผลคืนให้กับป่าเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ โดยได้รับการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในชุมชนจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทย(ลำปาง)จำกัด ได้องค์ความรู้การจัดการป่า และน้ำจากศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ หมู่บ้านสามขา อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง และการสนับสนุนจากเครือข่ายกัลยาณมิตรร่วมสร้างจากนักศึกษาหลายสถาบัน จากการที่ชุมชนสาสบหกลุกขึ้นมาจัดการป่าในพื้นที่ของตนเอง ทำให้พื้นที่ป่าดังกล่าวอุดมสมบูรณ์กลับฟื้นคืนสภาพอย่างรวดเร็ว เช่น มีน้ำไหลในลำห้วยหกตลอดทั้งปีจนสามารถผันน้ำป่ามาใช้ในชุมชน(ประปาภูเขา)ได้ จากการเฝ้าระวังดูแลไฟป่า ทำให้พื้นที่ป่ารอดพ้นจากไฟป่าถึง ๙๕ % ปริมาณสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ที่หนีไฟเข้ามาอยู่ในป่าแห่งนี้เพิ่มขึ้น อีกทั้งมีต้นไม้เล็ก ๆขึ้นเต็มภูเขาเป็นล้าน ๆ ต้น (ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก) นอกจากนี้ก็มีผลิตผลจากป่า เช่น หน่อไม้ เห็ดเกิดขึ้นโดยทั่วไป เป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนานอันเนื่องมาจากการทับถมของใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่า(สร้างอ่างเก็บน้ำบนภูเขา) ฝายชะลอน้ำ หรือฝายแม้ว ที่ทำมาจากไม้ไผ่ หรือวัสดุที่อยู่ในป่าได้ทำหน้าที่ของเขาในการชะลอน้ำ เก็บกักดักตะกอน ค่อย ๆ ระบายน้ำที่ใสสะอาดลงสู่ฝายประปาภูเขาลงสู่ชุมชน และอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรห้วยหกอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะเป็นฝายธรรมชาติถาวรในอนาคต เพราะในแต่ละฝาย มีต้นไม้เล็ก ๆ ที่เกิดจากลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นในป่าหยั่งรากลงดินยึดเกาะตามสันฝายชะลอน้ำ ซึ่งจะสร้างพลังการยึดเกาะของดินในร่องน้ำเล็ก ๆ ในป่า ชะลอความเร็วของน้ำยามฝนตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การดูดซึมซับน้ำของต้นไม้ในป่าได้ดีมากขึ้น ยืดระยะการร่วงหล่นของใบไม้ในฤดูแล้งให้ยาวขึ้น มีส่วนที่ทำให้ไฟป่าลดลง เมื่อความสมบูรณ์ ความชุ่มชื้นในป่ามีมากขึ้น ย่อมเป็นที่ชอบใจของสัตว์ต่าง ๆ ดังนั้น มันจึงพากันอพยพมาอยู่ เช่น ฝูงลิงมีนับเป็นร้อย ไก่ป่ามีนับไม่ถ้วน และสัตว์อื่น ๆ อีก ... ชุมชนหยุดการล่า และรณรงค์การอนุรักษ์ป่า และสัตว์ป่าในการจัดการหลายรูปแบบ ม่อนก๋องข้าว เป็นภูเขาลูกใหญ่ สูงตระหง่านเป็นเสน่ห์แห่งป่า รูปร่างคล้ายจอมปลวก เป็นแหล่งต้นน้ำห้วยหกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชุมชนที่มีเรื่องกล่าวขานตำนานที่เกี่ยวข้องกับวีรกรรมของบรรพชนสาสบหก ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าโดยนักวิจัยในชุมชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้โดย สถาบันแสนผญา จังหวัดลำปาง ความว่า.. ราวประมาณ ปี พุทธศักราช ๑๓๐๐ ตามประวัติศาสตร์แห่งล้านนา ลัวะได้ถูกขับไล่แตกกระจายอพยพออกจากเมืองเชียงใหม่ มาอยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น เชียงราย น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง จากการสืบค้นในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มพบว่ามีร่องรอยของชาวลัวะตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นกลุ่มโดยสังเกตจากการสร้างคูเมือง หรือชาวบ้านเรียกว่า คืเมือง
จากคุณ |
:
เพลงสน บนยอดภู
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ม.ค. 53 10:54:02
|
|
|
|  |