ความคิดเห็นที่ 1 |
|
ส่วนใหญ่ไม่เกิน 10% จากราคาหน้าปกค่ะ สัญญาที่ สนพ. โดยมากจะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์จากเราแบบมีช่วงเวลา เช่น 3 หรือ 5 ปี เป็นต้น แต่ 10% ที่ว่ามานี้ จะไม่รวมเรื่องค่าลิขสิทธิ์กรณีที่หนังสือของเราได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศนะคะ (อันนี้จะมีข้อตกลงแยกเป็นอีกข้อต่างหากค่ะ)
การขายลิขสิทธิ์ขาด อืมม์ อันนี้อาจต้องอธิบายกันยาวหน่อยนะคะ
ตามปกติ เราจะรู้กันว่า ผู้สร้างสรรค์งานคือเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราขายลิขสิทธิ์ (ขายขาดเลยนะคะ) ให้กับ สนพ.ไป เท่ากับว่างานชิ้นนั้น เป็นของ สนพ.นั้นแต่เพียงผู้เดียว และจะมีเพียง สนพ. นั้นเท่านั้นที่มีสิทธิ์พิมพ์เผยแพร่ผลงานของเราได้ (ตัวอย่างง่ายๆ อย่างเรื่องงานเพลงไงคะ)
ตามปกตินั้น โดยมากแล้วจะไม่ทำสัญญาขายขาดลิขสิทธิ์กันค่ะ แต่จะทำเป็นลักษณะที่ว่า ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายหน่อย ก็เหมือนกับเป็นการเช่าลิขสิทธิ์จากเรานั่นล่ะค่ะ
ลิขสิทธิ์ ในงานวรรณกรรม จะมีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์นั้น และจะอยู่ต่อไปอีก50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์นั้นถึงแก่ความตาย
เพิ่มเติมให้ค่ะ เผื่ออ่านแล้วงง T_T จากเว็บ Lawthai.com และเว็บของสนง.กฤษฎีกา รวมๆ กันนะคะ
"กฎหมายให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเอง กล่าวคือผู้ที่มิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การที่เราถ่ายภาพวัดพระแก้ว ภาพถ่ายที่ได้มาดังกล่าวถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเราเอง การที่มีบุคคลอื่นไปถ่ายรูปวัดพระแก้วบ้างรูปถ่ายดังกล่าวก็เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลนั้นด้วยเช่นกัน เพราะเป็นงานอันเกิดจากการสร้างสรรค์งานของตนเอง งานสร้างสรรค์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ได้แก่ งานประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในประเภทงานวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ผู้สร้างสรรค์งานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทันทีที่มีการสร้างสรรค์งานขึ้น โดยมิต้องไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิในลิขสิทธิ์ นอกจากการได้ลิขสิทธิ์มาด้วยการสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ยังอาจได้มาด้วยการรับโอนลิขสิทธิ์จากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยทางนิติกรรมหรือทางมรดกได้อีกด้วย
ผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ของตน หากมีผู้ใดกระทำการดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือว่าบุคคลดังกล่าวกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งมีความรับผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ยังได้กำหนดให้นักแสดงมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตน เช่น การแพร่เสียงแพร่ภาพ บันทึกการแสดงของตนที่ยังมิได้มีการบันทึกไว้แล้ว หรือทำซ้ำสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้ ซึ่งหากมีบุคคลใดกระทำการดังกล่าว โดยมิได้รับอนุญาตจากนักแสดงก่อนย่อมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของนักแสดงอันมีความรับผิดตามกฎหมาย"
ส่วนที่ว่าอะไรคือการละเมิดหรือไม่ ข้อนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมค่ะ ^^
แก้ไขเมื่อ 05 มี.ค. 53 09:39:25
จากคุณ |
:
อริญชย์ (อินทรายุธ)
|
เขียนเมื่อ |
:
5 มี.ค. 53 09:32:34
|
|
|
|