 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
กลบทกบเต้นสลักเพชร
เป็นกลอน ๙ คำ ที่บังคับให้ใช้ เสียงพยัญชนะ ซ้ำเสียงถึง ๓ชุดๆละ ๓ เสียง สลับกันตลอดวรรค
และต้องซ้ำเสียงสระอีก ๒ ที่ตรงคำที่๓-๔ และ๖-๗ทุกวรรคเช่นกัน
อีกข้อบังคับคือ เลื่อนคำรับสัมผัสจากคำที่๓ไปสัมผัสระหว่างวรรคตรงคำที่๖
..............................
กลบท "กบเต้นสามตอน"
มีช่วงจังหวะเป็นกลอนหก แต่แพรวพราวในการเล่นเสียงพยัญชนะและสระ ถือว่า ใช้ศิลปะในการประพันธ์ชั้นสูงมาก จะเห็นว่าเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะทั้งสามจังหวะ
..............................
กลบทกบเต้นต่อยหอย
ลักษณะพิเศษของกลบทกบเต้นต่อยหอยก็คือ คำที่ ๑,๒,๓ กับ ๔,๕,๖ในแต่ละวรรคจะสัมผัสอักษรกัน โดย
คำที่ ๑ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๔ คำที่ ๒ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๕ คำที่ ๓ จะสัมผัสอักษรกับคำที่ ๖
และเลื่อนรับสัมผัสระหว่างวรรคไปรับคำที่ ๖
.......................................
กลบทกบเต้นกลางสระบัว
เป็นกลบทกลอนเจ็ด ที่บังคับให้คำต้นวรรคกับคำท้ายวรรคต้องเป็นคำเดียวกัน
และต้องนำอักษรเสียงคำที่๑-๒ ของทุกวรรคมาเขียนเป็นคำใหม่วางตรงคำที่๓-๔ โดยให้คำที่สองกับสามต้องสัมผัสเสียงสระด้วย
และเสียงสระอักษรตัวที่๔ ยังต้องสัมผัสเสียงกับเสียงอักษรคำที่๖ด้วย เป็นเช่นนี้ทุกวรรค
จากคุณ |
:
ญามี่ (y@mie)
|
เขียนเมื่อ |
:
5 เม.ย. 53 16:30:08
|
|
|
|
 |