 |
ความคิดเห็นที่ 6 |
ได้ยินมาจากครูลัพท์ หนูประดิษฐ์ (ปราชญ์ชาวบ้านตำบลคลองหวะ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) เป็นผู้จัดการกองทุนหมู่บ้านและสหกรณ์หาดใหญ่ ระดับชาติกล่าวไว้ว่า
ก่อนกู้เงินเป็นญาติกันมาสิบชาติ
พอทวงหนี้อาฆาตกันมากว่าสิบปี
แต่แกก็ยอมรับว่าการทวงหนี้เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ต้องใช้หลักการและเทคนิคต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงจิตใจและหน้าตาลูกหนี้ด้วย เพราะถ้าเกินเลยไปมากในบางขีดจำกัด แทนที่จะได้หนี้คืน อาจได้ต้องให้ญาติพี่น้องพาศพคนทวงหนี้กลับมาแทน ดังจะเห็นปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์หลายครั้ง
แต่ที่ดีแล้วให้ทำตามหลักศาสนาพุทธคือ สมถะ เดินสายกลางดีที่สุด ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง เปรียบเทียบกับพระภิกษุคือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"
จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนภิกษุทังหลาย คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้. แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนกู้หนี้ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย. แม้การเสียดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวง ก็เป็นทุกข์ ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี, การกู้หนี้ก็ดี, การเสียดอกเบี้ยก็ดี, การถูกทวงก็ดี, การถูกตามตัวก็ดี, การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม ด้วยประการฉะนี้.
คัดย่อบางส่วนจาก
ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๓๙๒
จากคุณ |
:
ravio
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ค. 53 14:10:13
|
|
|
|
 |