 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
หลังจากที่มีการเจรจากันเกี่ยวกับการส่งทหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2509 ประเทศไทย โดยรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ประกาศส่งกองกำลังทางอากาศและทางเรือเข้าไปในเวียดนามเป็นครั้งแรก แลกกับการที่ขอให้สหรัฐฯ ช่วยเรื่องปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย ทั้งนี้ แนวทางความต้องการในการส่งทหารเข้าไปในเวียดนามใต้นั้น เป็นแนวทางที่เห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้นำระดับสูงของไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ตั้งแต่การก่อสร้างค่ายฝึกที่กาญจนบุรี การฝึกภาคสนาม ชุดทหาร การขนส่ง อาหาร เงินเดือน ค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยในกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิต อีกทั้งตกลงที่จะมอบอาวุธที่ทหารไทยใช้ในสงครามเวียดนามให้เป็นสมบัติของกองทัพไทย จนกระทั่งเดือนมกราคม 2510 ไทยได้เตรียมกองกำลังภาคพื้นดินไว้กว่า 2,500 นาย และได้ส่งกองทหารชุดแรกจำนวน 2,207 นาย ในนาม จงอางศึก สังกัดกรมทหารอาสาสมัคร ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นเพื่อภารกิจในสงครามเวียดนามโดยเฉพาะ ไปถึงเวียดนามใต้ในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2510 และในเดือนกรกฎาคมต่อมา ทางวอชิงตันก็ได้ขอให้ไทยส่งกำลังเข้าไปเพิ่มเติม ทำให้รัฐบาลไทยส่งกองกำลังเข้าไปเพิ่มเติมอีกในเดือนกรกฎาคมปีต่อมาจำนวน 11,300 นาย ภายใต้ชื่อ กองพลทหารเสือดำ
ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนากับบุคคลผู้หนึ่งที่เคยผ่านช่วงเวลาดังกล่าว กล่าวคือ ท่านเคยสมัครเป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบทั้งในสมรภูมิเวียดนาม และลาว โดยปัจจุบันท่านรับราชการในตำแหน่งระดับสูง ณ จังหวัดสิงห์บุรี บทสัมภาษณ์นี้ ผู้สัมภาษณ์ได้เรียบเรียงในรูปบทความ โดยมีการเพิ่มเติมข้อมูลข้อเท็จจริงบางส่วน เพื่อให้บทสัมภาษณ์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล ผู้เขียนไม่ขอเปิดเผยชื่อจริงของผู้ให้ข้อมูลในบทความนี้
จากคุณ |
:
a whispering star
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มิ.ย. 53 14:31:55
|
|
|
|
 |