ผมแต่งวรรณกรรมเล่มน้อยครั้งที่ 4 เรื่อง "มัชฌิมา ทางสายกลาง"โดย ฑีพัตรยศ สุดลาภา
|
|
มัชฌิมา...ทางสายกลาง
การได้เดินทางสายกลางนั้นขั้นแรกต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่จิตใต้สำนึกมาก่อนอันดับแรก และสร้างจิตใต้สำนึกให้เป็นสามัญสำนึก อาจจะต้องประกอบด้วยการมีจริยธรรม และ จรรยาบรรณในความเป็นผู้มีความรู้คู่ตนเองก่อน สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนเกิดมีความรู้สึกนึกคิด รู้จักผิดชอบชั่วดี และรู้ถึงได้ในสิ่งผิดสิ่งถูก สามารถแยกแยะออกมาได้โดยที่ไม่ต้องมีใครบังคับ เราอาจทำได้โดยการยึดหลักทางสายกลางของพระพุทธศาสนา บางคนก็ทราบดีว่าคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสิ่งที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สิ่งสิ่งนี้อาจนำพาตนเองให้เดินสายมัชฌิมาในข้อที่เราเลือกคือการทำดีแล้วได้ดี (มิทำให้ใครเดือดร้อนหรือเบียดเบียนทางเดินผู้อื่น) ใช้ส่วนนี้ประกอบกับการตัดสินใจในการใช้ทางนี้เดินหรือประพฤติ โดยยึดหลักทางสายกลาง (มัชฌิมา) และผลที่จะเกิดตามมานั้นคนทุกคนจะต้องพบกับความเจริญ ความสุข เราอาจใช้ได้ในสังคมการอยู่ร่วมกันในเรื่องของการตัดสินใจ การรับฟัง การรับรู้ที่ถูกต้อง ตรมหลักธรรมของทางสายนี้ มัชฌิมา คำนี้ ความจริงแล้ว คือทางดำเนินชีวิตของมนุษย์ทางหนึ่ง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดสั่งสอนไว้ ซึ่งถือเป็นทางดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ และส่อให้เห็นถึงความงดงาม ถือได้ว่ามิมีบาปใดๆในทางแห่งสายมัชฌิมานี้ ทางสายกลาง จึงเป็นคำที่สั่งสอนเปรียบเปรยให้ผู้ดำเนินชีวิตตามทางสายนี้ จะพบแต่สิ่งที่วางไว้ ซื่อตรง อาจก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีซึ่งกันและกันไม่มากก็น้อย นั่นคือทางสำหรับผู้ที่เลือกรับรู้ประพฤติให้เป็นไปตามครรลอง ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่องค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้
เมื่อคนเราได้เกิดแล้ว คิดดี
พฤติกรรม ท่าที ย่อมไว้
รู้ถูก รู้ชั่ว แบ่งแยก นำพา
เกิดทรัพย์ สนองได้ ให้อยู่ ฤาตน
มัชฌิมา กับ ความประพฤติควบคู่วิชาการ การใช้วิชาการโดยการยึดหลักธรรมมาประกอบในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ให้คำสั่งสอน (ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ บุคคลที่น่านับถือ) หรือจะเป็นผู้ที่ดำเนินตามกฎเกณฑ์ของสังคมในสถานสถานะของตน นั้นสามารถใช้ความเป็นเอกทางสังคมของตนเองรวมเข้ากับคุณธรรม นั่นก็สามารถก่อเป็นวิชาการได้โดยส่วนชอบธรรม และสามารถเข้าถึงสังคมชั้นพัฒนาแล้วได้โดยที่ไม่ต้องหวาดหวั่นต่อสิ่งเร้าต่างๆ และถ้าคนประพฤติตนควบคู่กับวิชาการ แล้วเลือกทางเดินมัชฌิมาแล้วนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างจะช่วยลดความขัดแย้งในสังคมไทยได้ และถ้าทุกคนเชื่อถือและยึดหลักตามข้อเหล่านี้ ก็สามารถทำให้สถาบันของสังคมคนทั่วไปเกิดแต่ข้อดี และเกิดพลัง ซึ่งสามารถจะใช้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ในโลกอนาคตโดยสันติสุข ปราศจากทุกข์ และ ภัย ต่างๆได้อย่างแน่นอน
แม้หนทาง เลือกได้ โดยคน จะยากดี มีจน ใฝ่รู้ มิตรภาพ ถนอมไว้ ใช้ผ่อน คงดี กาลเวลา หมุนได้ มากด้วย คุณธรรม
โดย ฑีพัตรยศ สุดลาภา 9 กรกฏาคม 2553
จากคุณ |
:
ฑีพัตรยศ
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ก.ค. 53 15:34:21
|
|
|
|