 |
ความคิดเห็นที่ 17 |
|
ผมชื่นชมในอีกษรไทย ภาษาไทย และ ทุกงานเขียนที่จดจารจารึกบันทึกเรื่องราว รวมไปถึง งานวรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองจากทุกชนชั้น ทั้งอดีตและปัจจุบัน และยังชื่นชมไปถึง ผู้เขียนและรังสรรค์ผลงาน นั้น ๆ ด้วย ไม่ว่า จะเคร่งครัดชัดเจนในฉันทลักษณ์มากน้อย ไม่ว่าจะด้อยหรือเลิศล้ำ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ปฏิเสธมิได้เลยว่า วิถีชัวิต จิตวิญญาณ จารีตประเพณี ภูมิธรรมความรู้ วิทยาการและเรื่องราวประเทืองปัญญา ที่หล่อหลอมมาเป็นคนไทยล้วนมาจาก ภาษาไทย อักษรไทย ที่เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน โดยส่วนมาก
เพราะตราบใด ที่ยังมีคนเขียนภาษาไทย ถ้อยคำเนื้อความไทย ให้ปรากฏต่อสายตนของตนเองผู้เขียนหรือสาธารณชนได้ แปลว่า " ภาษาไทย ไม่เสื่อมสลายสูญสิ้น ไปจากโลก "
ส่วนถูกบ้างผิดบ้าง มีความไพเราะมากบ้าง น้อยบ้าง ทรงคุณค่ามากบ้าง น้อยบ้าง ก็ยังน่าชื่นชมยิ่ง ภาษาไทย อักษรไทยมีความสวยงามในตัวเอง เสมอมาและตลอดไป
ผมมีโอกาส ได้เห็นฝีมือและผลงานจิตรกร ที่มีฝีมือเก่งกาจไร้ขีดจำกัด อยู่พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรไทยและต่างประเทศ
ผลงานจิตรกรไทย( รวมไปถึงงานศิลป์แนวอื่นที่แตกแขนงออกไป ) เช่น สมเด็จพระอาจารย์ใหญ่แห่งวงการศิลปะและงานช่างแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จ ฯ กรมพระนริศ ฯ , ขรัวอินโข่ง , อ.ประหยัด พงษ์ดำ , อ.ถวัลย์ ดัชนี , อ.ทวี นันทขว้าง , อ.จำรัส เกียรติก้อง , อ.ปัญญา เพ็ชรชู , อ.ช่วง มูลพินิจ , อ.ปรีชา เถาทอง , " ทั่นเหลิม " เฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์ , ท่านองัคาร กัลยาณพงษ์และอื่น ๆ อีกมากมาย ( เพราะหากนำชื่อมาเขียนเรียงกัน อาจมากมายจนจำไม่หวาดไม่ไหว )
ศิลปินต่างประเทศ เช่น ศิลปินแนว แอบสแตกอาร์ต ( Abstract Art ) , Geomatric Abstract , Post-Impressionism หลายท่าน ที่โด่งดังค้างฟ้าอมตมหานิรันดร์กาล เช่น พาโบล ปิก๊าสโซ่ ศิลปินชาวเสปน พอล เซซาน ( Paul Cezanne ) พอล โกแกง ( Paul Gauguin ) วินเซนต์ แวนโก๊ะ ( Vincent van Gogh ) และ จอร์จ เซอราต์ ( Georges Seurat ) เป็นต้น และ อื่น ๆ มากมายเช่นกัน
ที่ยกมานี้ ส่วนมากนั้น เคยรังสรรค์ผลงานกึ่ง ๆ นามธรรม และ หรือมีผลงานแนวนามธรรม มากบ้าง น้อยบ้าง และ ดีไม่ดี ศิลปินบางคน เขียนแต่แนวนามธรรม แต่ต้องขอเว้นที่และสงวนศิลปินที่เขียนรูปและมีผลงานแนว ภาพเหมือน ภาพเสมือนจริง และ แนวคล๊าสสิค ไป เพราะไม่ได้มุ่งหมายจะเชื่อมโยงถึง
ศิลปินไทยและเทศ ที่เอ่ยนามมา ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในผลงาน ที่เป็นปัจเจกชน จนได้รับการยกย่องและนับถือ ในผลงาน
ที่เหมือนกันทั้งหมด พระองค์ท่าน และ เขา เหล่านั้น มีจุดเริ่มต้นที่คล้ายกันเหมือนกัน นั่นคือ รักและชื่นชมมมีความสามารถและจินตนาการล้นเหลือ
จุดเริ่มต้น เริ่มจกการสั่งสมภูมิรู้และการฝึกฝนอย่างยาวนานชั่วกัปป์ชั่วกัลป์ จนช่ำชองชำนาญ และ เป็นเลิศ ที่สำคัญ จนทะยานข้ามความเป็นกรอบและกฏแห่งวงการศิลปะ เพื่อทะยานเข้าสู่ห้วงแห่งความหลุดพ้นของงานศิลปะในทุกแขนง
ก้าวย่างอย่างมั่นคง ที่ละก้าว ทีละก้าว ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ไม่มีการกระโดดข้ามขั้นตอน แม้แต่น้อย จนบรรลุถึงจุดสูงสุดแห่งความสามารถ และ เมื่อนั้น พระองค์ท่าน ฯ , ท่าน และเขาเหล่านั้น จะมีความเหิมหาญในการฉุดกระชากจิตวิญญาณและมโนสำนึก เพื่อรังสรรค์ผลงานและสะท้านไตรภพ
จึงมีการสร้างผลงาน แนว แอบสแตกอาร์ต ( Abstract Art ) , Geomatric Abstract , Post-Impressionism หากไม่ใช่ก็ใกล้เคียง
แต่ก่อนถึงจุดนั้น ขอย้ำว่า ผ่านกระบวนการฝึกฝนมาทุกขั้นตอน นับ 1 2 3 4 5 จนถึง แสน ล้าน โกฏิ
นี่จึงเรียกว่า " สูงสุด คืนสู่ สามัญ อย่างแท้จริง "
ไม่มีใครที่กังขาในความรู้ความสามารถและจินตนาการของศิลปิน จิตรกร เหล่านั้น แม้แต่เล็กน้อยธุรีดิน
เพราะผลงานล้วนประจักษ์ในทุกขอบเขตความสามารถ
หากเทียบได้ในงานวรรณกรรม ผู้จะเขียนบทกวี ( กวีแปลว่าผู้รอบรู้ นักปราชญ์ ) , หรือแปลอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อความ พยางค์ หรือประโยคที่ถูกร้อยเรียงอย่างวิจิตรงดงาม ที่สมัยนี้เรียกว่า วรรณกรรมหรือวรรณศิลป์ ก็แล้วแต่ ล้วนต้องเริ่มจาก รู้และเข้าใจในฉันทลักษณ์ ของร้อยแก้ว ร้อยกรอง มากบ้างน้อยบ้าง
เริ่มจาก สามัญ ขั้นพื้นฐาน จนช่ำชองชำนาญ ถึงขีดสุด และสุดท้าย เริ่มข้ามกรอบกฏแห่งฉันทลักษณ์ทั้งปวง ได้ อย่างองอาจทรนง ห้าวหาญ สมัยนี้ มีกวี ที่ทำเช่นนั้น และมีคนไม่แย้งเลย นั่นคือ อ.อังคาร กัลยาณพงษ์ หรือแม้แต่ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็ยังเคยเขียนแนวนามธรรม ในบางโอกาส
หากจะย้อนไป ในสมัย อยุธยา ก็ คือ " เพลงยาวกรุงศรีอยุธยา " ในสมัยแผ่นดิน ล้นเกล้า ฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่้มีและเป็นแนว " นามธรรม " ที่ต้องตีความและใช้ปัญญาสอดส่องมากมาย ไม่เขียนให้อ่านงาน เข้าใจง่ายนัก แต่เขียนให้อ่านยาก เข้าใจยาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงฉันทลักษณ์อยู่ เช้นกัน
" บทกวีไร้ฉันทลักษณ์ " หากถูกเขียนขึ้นจากผู้ที่ช่ำชองและเชียวญชาญ เก่งกาจด้านร้อยแก้ว ร้อยกรอง แล้ว ย่อมไม่มีใครกังขาสงสัยในภูมิรู้ เป็นแน่ หากให้ อ.อังคาร ฯ , อ.เนาวรัตน์ เป็นต้น เขียนแบบไร้ฉันทักษณ์ ย่อมเขียนได้แน่นอน เพราะสามารถทะยานข้ามความกังขาสงัสยในวรรณกรรมแล้ว เชียวชาญแล้ว เก่งฉกาจแล้ว และไม่แปลกเลย หากท่านเหล่านั้น จะหวนกลับไปเขียนแบบแนวกวีไทย ที่ใส่ใจในฉันทลักษณ์ ถึงอย่างไรก็เขียนได้ เพราะบทกวีของท่าน ภูมิปัญญาของท่าน เชื่องและยอม ต่อจินตนาการและสติปัญญา ของท่านแล้ว
หากจุดเริ่มต้นของการประพันธ์ มิได้เริ่มการการเข้าใจในภาษาพูดภาษาเขียนบ้าง การรู้อักขระ วรรณยุกต์ พยัญชนะ สระ แล้ว และเริ่มฝึกฝนจากง่ายไปยาก จนสลับซับซ้อนมากขึ้น ไหนจึงจะบังเกิดความเข้าใจและเป็นนายแห่งภาษาได้
มีพยัญชนะบางตัว ศัพท์บางศัพท์ คำบางคำ ประโยคบางประโยค ของภาษาไทย ที่ถูกทิ้งไว้ในก้นกรุ บางอย่างเสื่อมสลายหายสิ้นไปแล้ว
เพราะมีหลายคนบอกว่า ไม่ทันสมัยแล้ว ล้าสมัยแล้ว และที่สำคัญ ไม่โดนใจวัยอินเทรนด์
ภาษาไทย คำและประโยค วรรณกรรมไทย ร้อยแก้ว ร้อยกรอง จึงเริ่มหายไป
จึงได้แต่มองและอ่านผลงานของนักเขียนนักประพันธ์มากมาย อย่างชื่นชม แต่มีบ้างเหมือนกัน ที่ยังมองว่า " นักเขียน หรือ ผู้ที่มีส่วนในการคัดเลือกผลงาน ในทุกเวทีการประกวด" ที่ได้รับการยกย่องหรือบัญญัติตนและผลงาน นั้น ๆ ว่าเป็น ผู้ได้รับรางวัล หรือ ที่มีหลายท่าน กล่าวว่า " กวีไร้ฉันทลักษณ์ " ในอดีตและปัจจุบัน นี่สิ
ยังสงสัยอยู่ !!!
จากคุณ |
:
ฮกกงจื้อ (the darkknight)
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ก.ย. 53 20:52:01
|
|
|
|
 |