มดน้อย ในไร่ดอกเหงื่อ หน้าฝน ผมออกมาอยู่บ้านริมน้ำหลักเล็ก ๆ มาสักพัก เพราะโดยวิถีผมเป็นคนชอบความเรียบง่ายของธรรมชาติ ยามเช้าชมความแรกของแสงตะวันตกขอบฟ้า ยามสวยชอบความงามของจันทรา ยามเช้าต้องมีไออุ่นจากกาแฟ หนังสือ ความคิด สติของของชีวิตของวัน ยามเย็นหาปลาในสระ นั่งกับคนที่รักละเอียดฟองกับสิ่งที่ชอบ อยู่กลับความคิดคำนึงของตัวตน บางทีการเดินทางของชีวิตมันต้องใช้จังหวะ เวลา แต่เราต้องเชื่อมั่นในตัวเราให้ได้ว่า “เมล็ดพันธุ์ที่ดีของชีวิตเราเอง อยู่ไหนชีวิตก็งอกได้ แม้แต่ในน้ำแข็ง” เมื่อฤดูฝนผ่านมา เราต้องยอมรับกันก่อนว่าประเทศเรา เมืองเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่คนส่วนใหญ่ประกอบทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการผลิต โดยการใช้พื้นที่ดิน ไม่ได้ขายเหล็ก ขายน้ำมัน ขายทองคำ แต่เราขายอาหาร เลี้ยงคนในครัวเรือน คนในประเทศ และคนของโลกนี้ ที่สำคัญผู้คนในโลกนี้ไม่ได้กินน้ำมัน แต่เมื่อฤดูฝนมาทีไรน้ำท่วมบ้านเรา ท่วมพื้นที่การเกษตรของชาวนา สิ่งที่เรามักได้ยินคนในบ้านเมืองพูดถึงมีไม่กี่ประเด็น เช่น 1.ชดเชยค่าเสียหาย (ใช้เงินภาษี) (ตอนนี้บอกน้อยจะให้เพิ่ม) เอาเงินเป็นที่ตั้งในการแก้ปัญหา เอาเงินฟาดหัวมัน 2.สร้างเขื่อน (ให้เงินภาษีและกู้) เพื่อป้องกันการน้ำท่วมและเก็บน้ำไว้ใช้ตอนแห้งเพื่อการเกษตร (จริงหรือ) 3.การบริการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ (จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ) ต้อง Work Shop ต้องบูรณาการหน่วยงานของรัฐ เมื่อแล้งฝน บ้านเราต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร ประเทศไทยเราเองจะได้ข่าวมีพื้นที่การเกษตรแล้งเป็นจำนวนมาก น้ำไม่พอใช้ในการเกษตร เขื่อนกักเก็บน้ำไม่พอ คุณเคยไปดูเขื่อนไหมว่าตกลงเขื่อนที่สร้างให้เพื่อการเกษตรของเกษตกร หรือใช้ทำน้ำประปาเพื่อคนในเมืองใช้(ต้องไปดู) พื้นที่เกษตรกรเสียหายต้องชดเชย ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำตกชดเชย ต้องหาวิถีกักเก็บน้ำเพิ่มเติม(สร้างเขื่อน)เกษตรกรจะได้ประโยชน์สูงสุด ประเด็นคือ การแก้ปัญหาของประเทศนี้เมืองนี้ สมองมดน้อยอย่างผมคงไม่สามารถไปบอกและสอนใครได้ การแก้ปัญหาการจัดการน้ำต้องแบ่งให้ชัดก่อนว่า 1. การบริการจัดการน้ำท้องระบบ 2. การจัดการลุ่มน้ำทุกภาคส่วน เพราะมันคนละประเด็นกัน แนวคิดการจัดการลุ่มน้ำต้อง “เก็บน้ำไว้ในดินและเก็บดินไว้กับกี่” ธรรมชาติต้องสำคัญและต้องดูแลพี่น้องที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้ อีกแนวคิดหนึ่งของนักจัดการน้ำ ต้องกักเก็บน้ำไว้ในใช้ยามไม่ดีและพยายามนำน้ำที่สูญเสียในฤดูน้ำหลากมาใช้ให้เกิดประโยชน์ยามแล้งฝน (สร้างเขื่อน) และหลายประเทศก็ทำกัน ทำกันมากด้วย เช่น จีน ลาว (ในแม่น้ำโขง) มดน้อยในไร่ดอกเงือกจึงเสนอว่าการแก้ปัญหาประเทศนี้ ต้องทำในหลายมิติ การสร้างเขื่อนก็เป็นแค่แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา การให้คนในชุมชนมาเสนอแนวทางที่ยามอรับร่วมกันได้ก็เป็นวิธีการที่ดี ใช่ว่าการพัฒนาไม่ดี แต่การพัฒนาต้องตั้งอยู่บนพื้นที่ฐานที่ต้องมองมิติอื่นร่วมไปด้วย ไม่ใช่ว่าการพัฒนาต้องให้คนจนเป็นผู้สูญเสียอยู่ร่ำไป เช้าวันนี้ฝนตกพร่ำๆ น้ำริมฝั่งเริ่มเพิ่มระดับขึ้นมาด้วยฟ้าฝนตกมาหลายวันแล้ว แต่วิถีมดน้อยๆในสวนก็ค่อยๆทำงานไปเพราะมันคือหน้าฝน หาอาหารในสวน ก็พอมี พอกิน พอดี
จากคุณ |
:
ดูเธอทำ
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ส.ค. 54 07:00:32
|
|
|
|