Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
พระราชประเพณีว่าด้วยกฎราชมณเฑียรต่างๆแห่งกษัตริย์ไทยจากยุคอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป ติดต่อทีมงาน

พระราชประเพณีว่าด้วยกฎราชมณเฑียรต่างๆแห่งกษัตริย์ไทยจากยุคอดีตถึงปัจจุบัน
กฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกๆพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี เป็นกฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นจากพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นผู้ที่ทรงอำนาจ ที่มีสืบเนื่องติดต่อกันมาอย่างยาวนาน สันนิฐานได้ตั้งแต่สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ถึงราชวงศ์จักรีภายในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นบรรทัดฐานให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ควรเคารพ ซึ่งในราชวงศ์จักรีของไทยใช้กฎมณเทียรบาลยึดถือและถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และกฎมณเทึยรบาลยังเชื่อมโยงเกี่ยวกีบขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ การลำดับขั้นตอน ยศ ฐานันดร บรรดาศักดิ์ ต่างๆ ซึ่งยึดถือสีบต่อกันมาในราชวงศ์ กฎมณเทียรบาลแห่งราชวงศ์จักรียังแบ่งออกได้อีกเป็นร้อย เป็นพัน ในสาขา แขนง แห่งกฎความประพฤติ และยึดหลักความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเอกสิทธิ์และ ความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยด้วยความชอบธรรม กฎมณเทียรบาลแห่งราชวงศ์จักรี นับเป็นกฎมณเทียรบาลที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามมิให้ประชาชาชนผู้ใด สามารถล่วงล้ำ ล่วงเกิน ลุในอำนาจกฎ หรือสามารถก้าวก่ายสิทธิในสถาบันของพระมหากษัตริย์ไทยได้ กฎมณเทียรบาลนั้น เป็นกฎที่ถูกสร้างขึ้นมาที่ใช้กันมาอย่างยาวนานในราชวงศ์ไทย และในราชวงศ์ไทยยังใช้กฎมณเทียรบาลกันอย่างเป็นระบบ และหมวดหมู่ ตามครรลองที่มีการพระราชกำหนดให้ถือกำเนิดกฎขึ้นในราชกาลแผ่นดินในสมัยนั้นๆ

พระราชประเพณีว่าด้วยกฎราชมณเฑียรต่างๆแห่งกษัตริย์ไทยจากยุคอดีตถึงปัจจุบัน

๑.พระราชโอรสผู้ที่ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงยศในความเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับต่อไป จะต้องมาจากการเคยดำรงตำแหน่งยศมกุฎราชกุมารมาก่อนเท่านั้น

๒.พระมหากษัตริย์ไทยจะยึดถึอน้ำอันศักสิทธิ์ ที่จัดให้มีการอันเชิญมาจากจังหวัดสุโขทัย ซึ่งถือเป็นประเพณีตามกฎพระราชมณเทียรบาลที่สืบทอดมาจากราชวงศ์จากสมัยสุโขทัย เพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีแต่งตั้ง พระมหากษัตริย์ไทยลำดับต่อไป

๓.ใช้พราหมณ์ในการประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อแต่งตั้ง พระมหากษัตริย์

๔.มีการสังคายนาพระไตรปิฎกจากพระมหากษัตริย์โดยพระเจ้าแผ่นดินไทยที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน

๕.การประชุมพงศาวดาร

๖.การแต่งตั้งกรมวังผู้ใหญ่

๗.การใช้คำราชาศัพท์ภายในพระราชวัง

หมวดบุคคลลำดับชั้นเจ้านาย
ชั้นชายาพระเจ้าแผ่นดิน และชายาเจ้านาย

๑.พระบรมราชินีนาถ คือ ภริยาของพระเจ้าแผ่นดิน ที่ทรงยกย่องแต่งตั้งให้เป็นใหญ่กว่าภริยาอื่น หรือภริยาที่เคยทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มาแล้ว ให้ใช้คำว่า “ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ”

๒.พระบรมราชินี คือ ภริยาพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นใหญ่กว่าภริยาอื่น แต่มิได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระบรมราชินีนาถ”

๓.มเหสี คือภริยาพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน แต่เป็นภริยารองลงมาจากอัครมเหสี

๔.พระอัครชายา คือภริยาพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหม่อมเจ้ามาก่อน และเมื่อได้เป็นภริยาได้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า เป็นภริยาตำแหน่งรองจากมเหสี

๕.เจ้าจอมมารดา คือหญิงตั้งแต่ ม.ร.ว. ลงมาถึงคนธรรมดาสามัญ แต่ได้เป็นตำแหน่งภริยาพระเจ้าแผ่นดิน และมีลูกกับพระเจ้าแผ่นดิน จัดเป็นสนมชั้นสูง

๖.เจ้าจอม คือหญิงตั้งแต่ ม.ร.ว. ลงมาถึงคนธรรมดาสามัญ ได้ตำแหน่งเป็นภริยาพระเจ้าแผ่นดิน (พระนม) แต่ไม่มีลูกกับพระเจ้าแผ่นดิน

๗.พระชายา คือพระองค์เจ้าหญิงที่เป็นภริยาเจ้าฟ้าชาย, พระองค์เจ้าชาย ,หรือหม่อมเจ้าชาย

๘.ชายา คือหม่อมเจ้าหญิงที่เป็นภริยาเจ้าฟ้าชาย, พระองค์เจ้าชาย , หรือหม่อมเจ้าชาย

๙.หม่อม คือ หญิงธรรมดาสามัญ ที่ได้เป็นภริยาเจ้าฟ้า, พระองค์เจ้า, หรือ หม่อมเจ้า

สกุลยศ

สกุลยศชั้นเจ้าฟ้า คือ พระราชโอรส พระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ที่มีคำนำหน้าพระนามว่า “ สมเด็จ...เจ้าฟ้า...” เช่น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์

เจ้าฟ้าชั้นเอก คือ พระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่พระราชมารดาทรงพระยศเป็น “เจ้าฟ้า”

เจ้าฟ้าชั้นโท คือ พระราชโอรส พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชมารดาทรงพระยศเป็น “พระราชนัดดา“ เช่น เป็นพระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า

สกุลยศชั้นพระองค์เจ้า เป็นสกุลยศชั้นรองจาก “เจ้าฟ้า”

พระองค์เจ้าชั้นสูง คือ พระราชบุตร พระราชธิดา ซึ่งเกิดด้วยพระสนม ตามกฎมณเทียรบาลเรียกว่า “พระเยาวราช” มีคำนำหน้าว่า “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ...” หรือถ้าได้รับพระราชทานชั้นเป็น “กรมพระยา” ก็จะใช้คำว่า “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา...” เช่น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ”

พระองค์เจ้าชั้นรอง คือ พระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ มีพระบิดา พระมารดา เป็นชั้นเจ้าฟ้า “เจ้าฟ้า“ หรือ พระองค์เจ้า ใช้คำนำหน้าว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ...”

สกุลยศหม่อมเจ้า เป็นสกุลยศรองจาก “ พระองค์เจ้า “ คือ เป็นราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ที่มารดามิได้เป็นพระองค์เจ้า หรือ เจ้าฟ้า หรีอพระบุตรา – บุตรี ของพระองค์เจ้า ใช้คำนำหน้าพระนามว่า” หม่อมเจ้า” หรือ ตัวย่อว่า ม.จ...” โดยสกุลยศหม่อมเจ้าที่ทรงคุณงามความดี อาจได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้า ได้ เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์

ฐานันดรศักดิ์เจ้าทรงกรม
คือ เจ้าที่พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าพระราชทานอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามกฎมณเทียรบาลเป็น “ กรม” ซึ่งมีขั้นลดหลั่นลงดังต่อไปนี้

๑.กรมพระยา ตัวอย่าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๒.กรมพระ ตัวอย่าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๓.กรมหลวง ตัวอย่าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร

๔.กรมขุน ตัวอย่าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี

๕.กรมหมื่น ตัวอย่าง พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

๖.สกุลยศหม่อมราชวงศ์ คือสกุลยศรองลงมาจากหม่อมเจ้า ( ม.จ. ) นับเป็นราชปนัดดาของพระมหากษัตริย์ คือ เป็น บุตร – ธิดา ของหม่อมเจ้า ใช้คำนำหน้าว่า หม่อมราชวงศ์ หรือ ม.ร.ว.......” ตัวอย่าง หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์

๗.สกุลยศชั้นหม่อมหลวง คือ บุตร – ธิดา ของหม่อมราชวงศ์นับเป็นสกุลยศชั้นสุดท้ายในเครือพระประยูรญาติ ให้ใช้คำนำหน้าว่าหม่อมหลวง........” หรืออักษรย่อว่า “ ม.ล........”ตัวอย่าง หม่อมหลวงเติบ  ชุมสาย

อิสริยยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านาย

ชั้น ๑. ตำแหน่ง พระมหาอุปราช

ชั้น ๒. ตำแหน่ง สมเด็จกรมพระยา  

ชั้น ๓. ตำแหน่ง กรมพระ

ชั้น ๔. ตำแหน่ง กรมหลวง

ชั้น ๕. ตำแหน่ง กรมขุน

ชั้น ๖. ตำแหน่ง กรมหมื่น

ชั้น ๗. ตำแหน่ง อิสริยยศชั้นพิเศษ

บรรดาศักดิ์ชั้นขุนนางที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้งจากข้าราชการ
ตามลำดับ ชั้นสูง - ต่ำ มีดังนี้
ชั้น ๑. สมเด็จเจ้าพระยา  เช่น  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ชั้น ๒. เจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ชั้น ๓. พระยา เช่น  พระยาวิชยาธิบดี
ชั้น ๔. พระ  เช่น พระพินิจชนคดี
ชั้น ๕. หลวง เช่น  หลวงพิบูลย์สงคราม
ชั้น ๖. ขุน เช่น  ขุนพิทักษ์เสนาประชาราษฎร์
ชั้น ๗. หมื่น เช่น หมื่นหาญสงคราม

หมายเหตุ บรรดาศักดิ์ขุนนางได้มีการประกาศยกเลิกใช้ศักดินาในชั้นขุนนาง ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 และมีการเปลี่ยน ระบอบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ ปีพุทธศักราช 2475 ในรัชกาลที่ 7
ราชสกุล
เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ไทยในลำดับก่อนๆทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา หลายพระองค์ ซึ่งตามกฎมณเทียรบาลแห่งราชวงศ์จักรี ได้ยึดถือตามหลักแห่งราชสกุล คือ
๑.พระองค์ ผู้ที่ดำรงยศใน สมเด็จและ พระองค์เจ้า ให้ใช้ชื่อเรียกตามพระราชทินนามของพระองค์ โดยมิต้องสร้อยด้วยนามสกุลต่อท้าย
๒.ผู้ที่ดำรงยศในหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ให้ใช่เรียกชื่อยศและสกุล โดย มิต้อง สร้อยคำว่า ณ. อยุธยาต่อท้าย เช่น หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือ พลโทหม่อมหลวง ขาบ  กุญชรเป็นต้น ฯลฯ
ส่วนในกรณีของพระชายาในพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า ให้ใช้สร้อยคำว่า ณ อยุธยา ต่อท้าย เช่น พระชายาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล คือ หม่อมไฉไล ยุคล ณ อยุธยา    ส่วนในกรณีของผู้ที่มิได้ดำรงศ์ตำแหน่งในยศแห่งฐานันดรศักดิ์ใดๆในราชสกุลนั้นๆแล้ว ที่เป็นสามัญชนบ้างแล้ว ให้ใช้คำว่า ณ อยุธยาต่อท้ายราชสกุล (ในกรณีเป็นนาย เช่น นาย อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา) ส่วนในภรรยาของสามัญชนทั่วไปที่มาจากราชสกุลก็ให้ใช้คำว่า ณ อยุธยาสร้อยต่อท้ายด้วย
พระราชกรณียกิจที่ต้องประกอบพิธีตามพระราชประเพณี
๑.พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
๒.พระราชพิธีวันขึ้นปีใหม่
๓.รัฐพิธีพืชมงคล (ในวันพืชมงคล)
๔.พระราชกุศลวิสาขบูชา
๕.รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
๖.พระราชกุศลเข้าพรรษา
๗.พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
๘.พระกฐินหลวง
๙.วันที่ระลึกรัชกาลที่๕
๑0.พระราชพิธีรัชมงคล
๑๑.พระราชพิธีฉัตรมงคล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญตราของไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราของไทย เป็นเครื่องหมายที่ใช้แสดงถึงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ ซึ่งพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อสำหรับพระราชทานให้แก่ผู้ที่ทำความดีความชอบที่เป็นประโยขน์แก่ทางราชการ สาธารณชน หรือในกิจการส่วนพระองค์ทั้งนี้ผู้ที่เป็นราชการ จะได้รับพระราชทานโดยต้นสังกัดของข้าราชการผู้นั้นจะเป็นผู้ขอพระราชทาน หรือผู้บังคับบัญชาระดับสูงทำหนังสือขอพระราชทานผ่านสำนักราชเลขาธิการในพระองค์ในพระมหากษัตริย์ สำหรับผู้ที่ทำคุณประโยชน์ในกิจการส่วนพระองค์นั้น จะทรงพระราชกรุณาพระราชทานเองโดยไม่ต้องขอ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทย แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท โดยในแต่ละประเภทจะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ตามลำดับดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ( ป.จ.ว.)
ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)
ตติยานุจอมเกล้า (ต.อ.จ.)
จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
เสนางคบดีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดี (ส.ร.)
มหาโยธินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดี (ม.ร.)
โยธินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดี (ย.ร.)
อัศวินแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดี (อ.ร.)
เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)
เหรียญรามมาลา (ร.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ป.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จัตุถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)
เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)
เหรียญตรา
เหรียญตรารัตนวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตรารัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
เหรียญตราวัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)
เหรียญตราวชิรมาลา (ว.ม.ล.)
เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)
เหรียญชัยสมรภูมิ (ช.ส.)
เหรียญราชนิยม (ร.น.)
เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)
เหรียญงานพระราชทานสงครามยุโรป (ร.ส.)
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
เหรียญศานติมาลา ( ศ.ม.)
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ช.ร.)
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน (ช.ร.)
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.ม.)
เหรียญศาลทูลมาลา (ร.ศ.ท.)
เหรียญบุษปมาลา (ร.บ.ม.)
เหรียญรัตนาภรณ์
เป็นเหรียญเครื่องหมายส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชทานเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณแล้วแต่เล็งเห็นสมควร ซึ่งมีอักษรย่อและลำดับชั้นตามรัชกาลต่างๆ ดังนี้
รัชกาลที่ ๔ เหรียญรัตนาภรณ์
: ชั้นที่ ๑ (ม.ป.ร.๑)
: ชั้นที่ ๒ (ม.ป.ร.๒)
: ชั้นที่ ๓ (ม.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (ม.ป.ร.๔)
: ชั้นที่ ๕ (ม.ป.ร.๕)

รัชกาลที่ ๕ เหรียญรัตนวราภรณ์
: ชั้นที่ ๑ (จ.ป.ร.๑)
: ชั้นที่๒ (จ.ป.ร.๒)
: ชั้นที่๓ (จ.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (จ.ป.ร.๔)
: ชั้นที่ ๕ (จ.ป.ร.๕)
รัชกาลที่ ๖ เหรียญรัตนาภรณ์
:  ชั้นที่๑ (ว.ป.ร.๑)
: ชั้นที่๒ (ว.ป.ร.๒)
: ชั้นที่๓ (ว.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (ว.ป.ร.๔)
: ชั้นที่๕ (ว.ป.ร.๕)
เหรียญรัชกาลที่ ๗ เหรียญรัตนาภรณ์
:  ชั้นที่ (ป.ป.ร.๑)
: ชั้นที่๒ (ป.ป.ร.๒)
: ชั้นที่๓ (ป.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (ป.ป.ร.๕)
: ชั้นที่๕ (ป.ป.ร.๕)
รัชกาลที่๘ เหรียญรัตนาภรณ์
:  ชั้นที่๑ (อ.ป.ร.๑)
: ชั้นที่๒ (อ.ป.ร.๒)
: ชั้นที่๓ (อ.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (อ.ป.ร.๔)
: ชั้นที่๕ (อ.ป.ร.๕)
รัชกาลที่ ๙ เหรียญรัตนาภรณ์
:  ชั้นที่๑ (ภ.ป.ร.๑)
: ชั้นที่๒ (ภ.ป.ร.๒)
: ชั้นที่ ๓ (ภ.ป.ร.๓)
: ชั้นที่๔ (ภ.ป.ร.๔)
: ชั้นที่๕ (ภ.ป.ร.๕)
เหรียญราชรุจิ
เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานแก่ผู้มีคามรูชอบในพระองค์ รอง จากเหรียญรัตนาภรณ์ เหรียญราชรุจิ มี ๒ ชนิด คือ
เหรียญกะไหล่ทอง (ร.จ.ท.)
เหรียญเงิน (ร.จ.ง.)
เหรียญทั้ง ๒ ชนิดนี้ จะเติมเลขรัขกาลต่อท้าน เช่น เหรียญราชรุจิในรัชกาลที่๕ จะใช้อักษรย่อว่า ร.จ.ท. (๕)
เหรียญที่ระลึก
เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
เหรียญรัชฎาภิเษกมาลา (ร.ศ)
เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
เหรียญราชินี (ส.ผ)
เหรียญทวีธาภิเษก (ท.ศ)
เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
เหรียญรัชมังคลาภิเษก (ร.ม.ส.)
เหรียญบรมราชาภิเษก (รัชกาลที่๖) (ร.ร.ศ.(๖))
เหรียญบรมราชาภิเษก (รัชกาลที่๗) (ร.ร.ศ.(๗))
เหรียญบรมราชาภิเษก (รัชกาลที่๘) (ร.ร.ศ.(๘))
เหรียญชัย (ร.ช.)
เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕0 ปี (ร.ฉ.พ.)
ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตรามีเกียรติต่างกัน หากจะนำมาเรียบเรียงตามเกียรติตั้งแต่ลำดับสูงลงมาต่ำตามที่กำหนดไว้ จะสามารถเรียงลำดับได้ต่อไปนี้
ราชมิตราภรณ์ (ร.ม.พ.)
มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร)
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
รัตนวราภรณ์ (ร.ว)
ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
รามาธิบดี ชั้นที่๑ (เสนางคบดี) (ส.ร.)
มหาปรามาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช)
มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ประถมาภรณ์มงกุฎ (ป.ม.)
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
รามาธิบดี ชั้นที่๒ (มหาโยธิน) (ม.ร.)
ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ)
รามาธิบดี ชั้นที่๓ (โยธิน) (ย.ร.)
วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว)
รามาธิบดี ชั้นที่๔ (อัศวิน) (อ.ร.)
ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)
จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
จัตุถาภรณ์มงกุฏไทย (จ.ม.)
ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.)



เรียบเรียงโดย  นาย  ฑีพัดยศ  สุดลาภา (ควรมิควรแล้วแต่โปรด) ๑มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 54 14:27:03

แก้ไขเมื่อ 06 ต.ค. 54 15:34:04

แก้ไขเมื่อ 06 ต.ค. 54 15:33:00

แก้ไขเมื่อ 06 ต.ค. 54 15:31:59

แก้ไขเมื่อ 06 ต.ค. 54 15:31:11

 
 

จากคุณ : ฑีพัตรยศ
เขียนเมื่อ : 5 ต.ค. 54 10:58:55




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com