เราก็ยังเขียนไม่เก่งเท่าไหร่ อธิบายคงไม่ค่อยน่าเชื่อถือ^^ แต่มีเพื่อนเคยส่งมาให้อ่าน เลยเอาให้อ่านนะคะเผื่อมีประโยชน์
หลักนักเขียน 1. ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ 1.1 ตั้งชื่อแบบตามชื่อตัวละคร 1.2 ตั้งชื่อตามชื่อสถานที่ 1.3 ตั้งชื่อให้เป็นคำถาม 1.4 ตั้งชื่อเรื่องให้เป็นการเล่นคำเช่น "หนูนา ตาปี"ก่อนนะครับ 2. การขึ่นเรื่อง - ถ้ามีพระเอกกับนางเองคุณอาจจะให้เขาทั้งสองเจอกัน เช่นเดินชนกันที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง ก็สร้างได้ 3. ต้องเข้าใจครับว่าคนที่รู้จักตัวละครที่ดีที่สุดคือตัวคุณเพระคุณสร้างมันขึ่นมาเองครับ
คุณสมบัติของนักเขียนชั้นต้น คือต้องเป็นนักอ่าน อ่านเพื่อให้รู้ว่าใครเขียนอะไรไว้บ้าง อ่านเพื่อซึมซับวิธีการเขียน โดยเฉพาะงานเขียนระดับยอดเยี่ยมทั้งของไทยและของเทศด้วยการสังเกตุตรวจตรา คุณสมบัติต่อมาคือช่างรู้สึก เพราะหลักเกณฑ์เบื้องต้นของการสร้างผลงานศิลปะทั้งหลายไม่เฉพาะแต่วรรณกรรมก็คือถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนมีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากระทบใจ แล้วเปลี่ยนเป็นผลงานให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับผู้เขียนผ่านทางตัวหนังสือ นักเขียนจึงต้องอารมณ์อ่อนไหว รู้สึกไวต่อสิ่งเร้าทั้งหลาย ช่างจินตนาการ ควรจะเป็นคุณสมบัติอีกข้อหนึ่ง คือเห็นแล้วรู้สึกแล้ว ต้องจินตนาการเสริมต่อเป็นเรื่องราวต่าง ๆ กลายเป็นนวนิยายหรือเรื่องสั้น หรือจินตนาการเปรียบเทียบความรู้สึกที่ต้องการจะสื่อสารกับสิ่งอื่นในลักษณะการใช้โวหารภาพพจน์ในบทกวี นอกจากนี้นักเขียนควรจะเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกตุ เห็นได้ละเอียดกว่าผู้อื่น ลึกกว่าผู้อื่น อย่างที่เปรียบกันว่า กวีหรือศิลปินมี"ตาที่สาม" อะไรทำนองนั้น การช่างคิด ช่างสังเกตุ จะช่วยให้ผลงานมีแง่มุม หรือมีมุมมองแตกต่างจากผู้อื่น คมกว่าที่คนอื่นเคยเขียนไว้ จากที่กล่าวมานั้น คุณสมบัติข้อแรกคือการอ่าน จะช่วยให้การใช้ภาษาถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในใจเราออกมาเป็นตัวหนังสือได้อย่างคล่องมือ เหมาะใจ ส่วนหลักการเขียนหนังสือให้ดีคงไม่มีสูตรตายตัว นอกจากช่างอ่านช่างคิด แล้วก็ต้องทำตัวเป็นช่างเขียนอีกหนึ่งช่าง ทุกวันนี้ผู้ตอบกระทู้เองยังต้องเรียนรู้และ"หัดเขียน"ใหม่ทุกครั้งเมื่อสร้างผลงานใหม่ คำแนะนำที่เหมือนไม่ได้แนะนำสำหรับการเขียนหนังสือให้ประสบความสำเร็จ จึงได้แก่การอ่านแล้วเขียนแล้วก็อ่าน(อย่าลืมขัดเกลาต้นฉบับที่เขียนไว้ด้วย)
นวนิยาย เป็นเรื่องสมมติที่เขียนอย่างสมจริง มีโครงเรื่องซับซ้อน เสนอแนวคิดได้กว้างขวางกว่าเรื่องสั้น มีตัวละครหลายตัว ดำเนินเรื่องได้ยาว ให้รายละเอียดของฉากและตัวละครได้มากกว่าเรื่องสั้น ซึ่งชนิดของนวนิยายอาจจำแนกได้ดังนี้ 1. นวนิยายสำรวจโลก 2. นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ (อิงประวัติศาสตร์) 3. นวนิยายลูกทุ่ง 4. นวนิยายใช้ฉากในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ 5. นวนิยายมหัศจรรย์ 6. นวนิยายชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติ 7. นวนิยายแนวจิตวิทยา 8. นวนิยายมนุษยธรรม 9. นวนิยายนักสืบและอาชญากรรม 10. นวนิยายโรแมนติก 11. นวนิยายระหว่างชาติ 12. นวนิยายชีวิตครอบครัว องค์ประกอบของนวนิยาย 1. แนวคิดของแกนของเรื่อง 2. โครงเรื่องมีลักษณะซับซ้อน 3. ตัวละคร 4. ฉาก 5. ถ้อยคำหรือบทสนทนา
เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น คำตอบ 1. ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ (Local Colour) หมายถึงการพรรณาภาพอันใดอันหนึ่งเพื่อนำความคิดของผู้อ่าน ให้ซาบซึ้ง ในท้องเรื่อง ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน 2. การวางเค้าเรื่อง (Plot) มีหลักใหญ่ๆอยู่ สองแบบดังนี้ แบบที่ 1 คือเริ่มนำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งที่จุด ก. แล้วพาผู้อ่านเกิดความพิศวงตามเส้น ก. ข. โดยจัดเรื่องให้มีความยุ่งยาก เกิด ความฉงนขึ้นทุกที่จนถึงปลายยอดที่ ข. ซึ่งในภาษาการประพันธ์เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้า ใจ สะเทือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง และจบลงในจุด ค. แบบที่ 2 เป็นแบบสองซ้อน คือเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วย้อนต้นกล่าวถถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นว่ามีมูลเหตุเป็นมาอย่างไร จากจุด ก. มายังจุด ข. แล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังจุด ค. เช่นเดียวกับแบบ ที่ 1 โดยขมวดปมไปตามระยะทาง ข. ค. สร้างความฉงนสนเท่ห์ จนถึงจุด ค. ซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง และจบลงในจุด ง. โดยเร็ว 3. การจัดตัวละครและให้บทบาท เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสำคัญของเรื่อง ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ แสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น 4. การบรรยายเรื่อง มี 2 วิธี วิธีแรก ให้ข้าพเจ้าหรือผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง อีกวิธีให้บุรุษที่สาม ได้แก่ ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุด 5. การเปิดเรื่อง เรื่องสั้นไม่ควรเปิดเรื่องให้อืดอาดยืดยาว มีวิธีเปิดเรื่องดังนี้ ก. เปิดเรื่องโดยให้ตัวละครพูดกัน ข. โดยการบรรยายตัวละคร ค. โดยการว่างฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ ง. โดยการบรรยายพฤติการณ์และตัวละคร จ. เปิดเรื่องโดยขมวดแนวคิด วิธีเปิดไม่บังคับตายตัวตามแต่ผู้เขียน 6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร (Dialogue) ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยว กับตัวละคร 7. ต้องมีความแน่น (Compresion) คือพูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย 8. ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน คือก่อนเขียนต้องจินตนาการลักษณะตัวละครให้ชัดเจนก่อน แล้วเขียนตามที่เห็น จึงจะทำให้คนอ่านเห็น ตามด้วย 9. การให้ชื่อตัวละครและชื่อเรื่อง การตั้งชื่อตัวละคร ควรตั้ชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ ส่วนชื่อเรื่อง ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่าน เกิดความอยากอ่าน โดยใช้คำสั้นๆเพียง 2-3 คำ แต่ให้น่าทึ่ง 10. การทำบท คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียงกับการแสดงละคร ต้องพรรณาถึงกิริยาท่าทาง อาการรำพึงรำพัน ฯลฯ
ที่มา : "หลักนักเขียน" (สมบัติ จำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)
จากคุณ |
:
inmost
|
เขียนเมื่อ |
:
2 พ.ย. 54 11:02:59
|
|
|
|