 |
สวัสดีปีใหม่ทุกๆคนเด้อ
นิรนามปีไหนๆชีวิตก็วุ่นวายไม่มีระเบียบ อยู่ๆก็เขียนโคลงไม่ออกไปเสียดื้อๆ เลยหายตัวจากระทู้ไปดื้อๆ หุหุ แต่เคยคิดอยู่หลายทีว่า จะมาชวนเขียนโคลงเลียนลีลาของท่านกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้ประพันธ์เอกวรรณคดี "ลิลิตเตลงพ่าย" ขอนำตัวอย่างมาแสดงให้ศึกษาลีลาดังนี้
๑๘๕/๔๒๙
อวยพรคณะปราชญ์พร้อม พิจารณ์ เทอญพ่อ ใดวิรุธบรรหาร เหตุด้วย จงเฉลิมแหล่งพสุธาร เจริญรอด หึงแฮ มลายโลกอย่ามลายม้วย อรรถอื้นอัญขยม
๑๘๖/๔๓๐
กรมหมื่นนุชิต เชื้อ กวีวร ชิโนรส มิ่งมหิศร เสกให้ ศรีสุคต พจนสุนทร เถลิงลักษณ์ นี้นา ขัตติยวงศ์ ผจงโอษฐ์ไว้ สืบหล้าอย่าศูนย์
ที่มา : http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2#.E0.B8.95.E0.B8.AD.E0.B8.99.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88_.E0.B9.91.E0.B9.92_.E0.B8.AA.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.94.E0.B9.87.E0.B8.88.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.99.E0.B8.A3.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.9E.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A3.E0.B8.B2.E0.B8.8A.E0.B8.97.E0.B8.B2.E0.B8.99.E0.B8.AD.E0.B8.A0.E0.B8.B1.E0.B8.A2.E0.B9.82.E0.B8.97.E0.B8.A9
ถอดความเบื้องต้น ผิดพลาดตรงไหนขอแรงช่วยกันทักท้วงช่วยกันค้นคว้า
บทที่ ๑๘๕/๔๒๙
๑ - คารวะและเรียนเชิญปราชญ์ผู้รู้ วิจารณ์เถิด (วิจารณ์งานประพันธ์ "เตลงพ่าย" ชิ้นนี้) ๒ - สิ่งใดบกพร่อง จงได้กล่าวชี้ (บรรหาร=เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง) ๓ - ขอให้งานประพันธ์นี้เป็นที่นิยมของชาวไทยตราบนานเท่านาน (พสุธาร น่าจะแผลงจาก พสุธา)(หึง=นาน) ๔ - และแม้ข้าตายจากโลก เนื้อหาสาระและถ้อยคำของข้าไม่ตายไปด้วย (อรรถ=เนื้อความ) (อื้น=เอิ้น=เอื้อน=พูด,กล่าว,บอก) (อัญขยม [เขมร]=ข้า,ข้าพเจ้า)
บทที่ ๑๘๖/๔๓๐
๑ - ข้าคือ กรมหมื่นนุชิต ผู้มีพรสวรรค์ทางกวี (วร- ปกติใช้เติมหน้าคำ =พร, ของขวัญ, ยอดเยี่ยม) ๒ - ชิโนรส คือนามซึ่งพระเจ้าแผ่นดินตั้งชื่อให้ (มหิศร=ผู้ยิ่งใหญ่,พระเจ้าแผ่นดิน,พระอิศวร) ๓ - [ชื่อเต็มของผู้ประพันธ์คือ "กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสศรีสุคตขัติยวงศ์บรมพงศาธิบดีจักรีบรมนาถ ปฐมพันธุมหาชวรางกูร" จึงตีความหมายบาท ๓ และ ๔ ว่า ... ] ข้าผู้มีถ้อยคำไพเราะ สร้างงานประพันธ์นี้ขึ้นมา (สุนทร=งาม,ดี,ไพเราะ) (เถลิง=ชึ้น) ๔ - ข้าผู้มีเลือดกษัตริย์ ขอกล่าววาจาอาญาสิทธิ์ว่า ผลงานจักยืนยงไม่สาบสูญไป (ขัตติย- =พระเจ้าแผ่นดิน) (ผจงโอษฐ์ ตีความว่าหมายถึง กล่าวคำประกาศิต)
ลองศึกษาสำนวน, ลีลา, เสียงโคลง, ไวยากรณ์โคลง-การเรียบเรียงประโยคซึ่ง ประธาน กริยา กรรม และคุณศัพท์ ไม่เรียงตามไวยากรณ์ปกติ แล้วแต่งเลียนลีลามาอ่านเป็นขวัญหูขวัญตากันหน่อย
ถ้ามีผู้ร่วมสนุกจำนวนมากพอสมควร จะมีการให้คะแนนเพื่อหาผู้ที่แต่งเลียนลีลาได้ใกล้เคียง (วิธีให้คะแนนขออุบไว้ก่อน)
กติกา 1.แต่ง 1 บท (4 บาท) กำลังดี มากกว่า 1 บทก็ไม่ว่า แต่ไม่ควรเกิน 100 บท เพราะถ้าเกิน 100 บทจะให้เป็นผู้ชนะไปเลย 2.แต่งให้มีลีลาคล้ายลีลาของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ดังเช่นโคลงตัวอย่างที่ยกมา
. . . . .
แก้ไขเมื่อ 02 ม.ค. 55 22:28:46
จากคุณ |
:
นิรนาม ณ ถนนฯ
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ม.ค. 55 22:25:57
|
|
|
|
 |