เรื่องที่น่าจดจำ
เมื่อวันเฉลิมฉลองครบ ๖๐ ปี การครองสิริราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ผ่านไปแล้วเมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
เราก็ควรจะรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีอีกพระองค์หนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับเดือนมิถุนายน เหมือนกัน แต่เป็นการระลึกถึงด้วยความรู้สึกตรงข้ามกัน
พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นก็คือ พระเปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
พระองค์ท่านมีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้า อานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพ ณ วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับรัชกาลที่ ๖
ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ประกาศสถาปนาให้ยกขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ตั้งแต่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
และได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชสมบัติ สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาล ที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ เนื่องจากรัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ท่านมีพระชนมายุ ๘ พรรษาเศษ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดล ขณะที่ประทับอยู่ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อันประกอบด้วย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดล ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาเยี่ยมประเทศไทยครั้งแรก โดยเรือเดินสมุทรชื่อ เมโอเนีย ตั้งแต่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๘๑
ถึงเกาะสีชังเช้าวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ แล้วเสด็จลงประทับเรือหลวงศรีอยุธยา มาถึงท่าราชวรดิษฐ์ เมื่อเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เป็นเวลา ๕๙ วัน จึง เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ได้เสด็จออกจากกรุงเทพมหานคร โดยเรือหลวงแม่กลอง เมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๔๘๑ (ขณะนั้นขึ้นปีใหม่ ๑ เมษายน) เวลา ๐๗.๐๔ นาฬิกา แล้วเปลี่ยนไปประทับเรือเดินสมุทรชื่อ ซีแลนเดีย ที่เกาะสีชัง ไปขึ้นบกที่เมืองท่ามาเซลล์ เสด็จต่อทางรถไฟถึงเมืองโลซานน์ ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
ต่อมาถึง ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดล ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมประเทศไทยอีกครั้ง โดยกองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินถวายเป็นพระราชพาหนะรับเสด็จจากเมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย เสด็จถึงสนามบินดอนเมืองในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ในคราวนี้ทรงมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษาเศษ รัฐบาลได้ตระเตรียมที่จะประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้แล้ว และทรงมีกำหนดจะเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๘๙
เมื่อได้ปฏิบัติพระราชกรณีกิจต่าง ๆ จนถึง วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ก็ได้เสด็จสวรรคต โดยไม่มีผู้ใดคาดฝัน ยังความทุกข์โศกให้แก่ปวงพสกนิกรทุกถ้วนหน้าอย่างหาที่เปรียบมิได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์แล้ว ได้เฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทมหิดล ว่า
พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๘๙
และมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ท่านกลางพสกนิกรที่จงรักภักดีและเทิดทูนบูชา อย่างเนืองแน่นมืดฟ้ามัวดินและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงอัญเชิญพระบรมราชสริรางคาร มาประดิษฐานในผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระพุทธปฏิมาประธาน ในพระวิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม
เรื่องทั้งหมดนี้ได้เก็บมาจากหนังสือที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก สำราญ แพทยกุล องคมนตรี จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๙ ท่านที่สนใจในรายละเอียด โปรดหาอ่านได้ในหอสมุดแห่งชาติ
แต่ขอเชืญชวนให้เพื่อนใน ถนนนักเขียน ได้รำลึกถึงพระองค์ท่าน ซึ่งได้เสด็จสวรรคต ครบรอบ ๖๖ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้
จากคุณ |
:
เจียวต้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
6 มิ.ย. 55 21:12:50
|
|
|
|