๒
"ข้าหลวงนายอื่นๆเตือนฉันเรื่องข้าวยากหมากแพง การรีดนาทาเร้น และแผนการกบฏหรือไม่ก็บอก เรื่องเหมืองพลอยขี้นกการเวก(turquoise)ที่พึ่งพบใหม่ ขนตัวมาเต็นที่ราคาดีมีกำรี้กำไร หรือข้อเสนอส่งดาบชาวมาดาคัสคาไปสมทบ แล้วเจ้าเล่า? ท่านข่านผู้เกรียงไกรตรัสถามนายโปโล "เจ้ากลับจากดินแดนห่างไกลพอ ๆกัน แต่เล่าได้แต่เพียงความคิดที่เกิดแก่คนนั่งอยู่ตรงธรณีประตู เพลิดเพลินกับอากาศเย็นสบายตอนหัวค่ำ แล้วจะมีประโยชน์อันใดที่เจ้าได้ท่องเที่ยวไปมานี้?
"พะยะค่ะ มันเป็นหัวค่ำ. เราเนั่งบนขั้นบันไดพระราชวังของพระองค์ มีลมอ่อน ๆ โชยเบาๆ" มาร์โกโปโลตอบ "ประเทศใดก็ตามที่คำของหม่อมฉันได้กล่าวถวาย พระองค์จักทรงทอดพระเนตรเห็นมันจากตำแหน่งที่สูงที่ทรงสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ตลอด แม้นอกเหนือจากปราสาทราชวัง ก็ยังมีหมู่บ้านบนเรือนยกเสาสูงแลลมอ่อน ๆ พัดกลิ่นไอดินปากแม่น้ำโชยมา
"ข้ายอมรับว่า ข้าเห็นมีเพียงชายเพ่งสมาธิ คิดเลื่อนเปื้อน แต่เจ้าเล่า? เจ้าข้ามเกาะแก่ง ทุ่งราบแลขุนเขานานา แต่เจ้าทำเหมือนไม่ได้ขยับกายไปจากที่นี่เหมือนกัน"
นายชาวเวนิสตระหนักดีว่าเมื่อใดองค์กุ๊บไลทรงกริ้วเขา องค์จักรพรรดินั้นเห็นได้ชัดว่าทรงต้องการให้คิดปฏิบัติตามอย่างพลทหารที่ผึกมา ดังนั้น คำตอบและข้อโต้แย้งของมาร์โกกลายเป็นวิวาทะบังเกิดขึ้นและลุกลามต่อไปในเศียรขององค์ข่าน กล่าวคือ ระหว่างสองสิ่งนั้น ไม่สำคัญเลยว่าคำถามหรือคำตอบ สิ่งใดจะได้ถูกเอ่ยออกมาดัง ๆ หรือ คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสองสิ่งนั้นต่อไปในความเงียบ อันที่จริงทั้งคู่ต่างเงียบเสียงลงแล้ว ดวงตาสลึมสลือ เอนหลังหนุนหมอนอิง นอนแกว่งไกวในเปลญวน สูบยาจากกล้องอำพันปลายยาว
มาร์โก โปโลจินตนาการว่าได้ตอบ( หรือ องค์กุ๊บไลข่าน ทรงจินตนาการถึงคำตอบของเขา)ว่า ยิ่งใครไปในย่านอันไม่คุ้นเคยของเมืองที่ห่างไกล เขาก็ยิ่งเข้าใจนครอื่นที่ผ่านมาก่อนถึงที่นั่นมากขึ้น เขาทบทวนลำดับการเดินทางแล้วทบทวนอีก จนเขาบรรลุเข้าใจถึงท่าที่เขาออกเรือมา แลสถานที่คุ้นเคยต่าง ๆ ในวัยหนุ่ม สภาพแวดล้อมของบ้าน แลจัตุรัสเล็กๆ ในเมืองเวนิสนครที่เขากระโดดโลดเต้นอย่างร่าเริงครั้งยังเยาว์
ณ บัดนี้ องค์กุ๊บไลข่านทรงขัดจังหวะเขา หรือทรงจินตนาการว่าได้ขัดจังหวะเขา หรือมาร์โกโปโลจินตนาการเอาเองว่าถูกขัดจังหวะ ด้วยคำถาม เช่น "เจ้าไปข้างหน้าพร้อมกับหันศีรษะกลับมาด้านหลังเสมอหรือ?" หรือ "สิ่งที่เจ้าเห็นมักอยู่ข้างหลังหรือ?" หรือทำนองว่า "การเดินทางของเจ้าเกิดแต่เพียงในอดีตหรือ?"
คำถามทั้งหมดนี้มากจน มาร์โก โปโลอาจอธิบาย หรือจินตนาการว่ากำลังอธิบาย หรือถูกจินตนาการว่ากำลังอธิบาย หรืออธิบายแก่ตนเองสำเร็จในบั้นปลายว่าสิ่งที่เขาแสวงหานั้นมักอยู่ ณ เบื้องหน้าเขา และแม้จะดูราวกับว่เกี่ยวข้องกับอดีต แต่เป็นอดีตที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กที่ละน้อยเมื่อเขาเดินทางต่อไปข้างหน้า เนื่องด้วยอดีตของนักเดินทางแปรไปตามเส้นทางที่เขามุ่งตามไป มิใช่อดีต ณ เวลานั้น แต่นั่นคือ อดีตยิ่งห่างไกลไปทุกวันวารที่ผ่านเพิ่มมาอีกแต่ละวัน เมื่อมาถึงนครใหม่แต่ละเมือง นักเดินทางพานพบอีกครั้งกับอดีตของตนที่เขามิเคยรู้ว่าตัวเองมี ความแปลกที่ซึ่งท่านไม่ได้รู้สึกต่อไป หรือไม่รู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของนอนรอท่านอยู่แล้วในต่างแดน ที่ซึ่งมิได้เครอบครอง
มาร์โกเข้าสู่เมืองหนึ่ง ที่' เขาเห็นใครบางคนใช้ชีวิตอยู่จตุรัส หรือยามหนึ่งที่อาจเป็นชีวิตเขา' บัดนี้เขาอาจไปอยู่แทนที่ชายผู้นั้น หากเขาได้หยุดกาลเวลา เมื่อนานมาแล้ว' หรือหากเมื่อนานมาแล้ว ที่สี่แยก แทนที่จะใช้ถนนสายหนึ่งที่เขาได้เลือกก็ใช้ทางตรงข้ามเสีย และหลังจากพเนจรมายาวนาน เขาได้มาอยู่ในสถานที่ของชายผู้อยู่ที่จตุรัสนั้น บัดนี้ ไม่ว่าจากอดีตแท้จริงหรือสมมติของเขานั้น เขาถูกกันออกไป' เขามิอาจหยุดนิ่ง' เขาต้องไปยังเมืองอื่น ๆ ที่ซึ่งอดีตอื่น ๆ รอคอยเขาอยู่ หรืออะไรบางสิ่งที่ซึ่งอาจเป็นอนาคตที่เป็นไปได้ของเขาแลบัดนี้ อาจเป็นปัจจุบันของใครคนอื่น อนาคตทียังมิบรรลุเป็นเพียงกิ่งก้านสาขาของกิ่งตายแห่งอดีต
"การเดินทางทำให้อดีตของเจ้ากลับมีชีวิตใหม่หรือ?" นั่นคือข้อคำถามขององค์ข่าน ณ บัดนี้ ที่คำถามอาจถูกกำหนดได้เช่นกัน' "การเดินทางชดเชยอนาคตของเจ้าได้หรือ?"
แลคำตอบของมาร์โก คือ "สถานที่อื่นเป็นดั่งกระจกที่ฉายภาพตรงข้าม นักเดินทางจดจำส่วนเรื่องส่วนน้อยของเขาได้ค้นพบเรื่องส่วมมากที่หาใช่เเรื่องของเขาไม่และจะมิมีวันที่จะเป็นไปได้ "
(มีต่อ)
จากคุณ :
ส.ค.ศ.๔๙๑๔ - [30 พ.ค. 45 00:49:06 A:202.57.160.159 X:]