ความคิดเห็นที่ 42
ซือม่วยไร้นาม
แต่งโดยใช้คำพระ นิรนามคนบาปก็ใบ้รับประทานนะซี จะดูแค่การเข้ากลบทเน่อ เรื่องความหมายไม่ดูจ้าน โอกาสดู (คำพระ) ผิดสูงมาก เดี๋ยวจะหน้าแตกแบบหมอโมโนไม่รับเย็บ
๏ เพียรฝึกใจฝึกไว้ ให้ทัน กิเลสนา | ผ่านได้ แต่น่าลองยุบ "ไว้ ให้" เป็นคำเดียว พลั้งพลาดหลงพลาดพลัน สติกู้ | "หลงพลาด" ... ไม่แน่ใจ อารมณ์รื่นรมย์อัน ลวงหลอก | "รมณ์-รมย์" ... ดีเด่น, แต่ "อัน" ธรรมดาไปนิด สุขหน่ายสุขสราญรู้ สุกไหม้สุกเกรียม ๚ | การคำซ้ำดูดี แต่ ความหมาย ยังไม่แน่
๏ อริยสัจสี่สัตย์สล้าง สว่างกมล | สัจ-สัตย์ ... ลูกเล่นดี แต่แบ่งจังหวะอ่านยากอยู่บ้าง เห็นทุกขังทุกข์ทน สมุห์สร้าง | ทุกขัง-ทุกข์ทน ความหมายอาจใกล้กัน สายกลางสื่อกลางหน สู่นิโรธ รู้แล | "สื่อกลาง" วิจารณ์ยากจิงวุ้ย มรรคแปดมรรคใช่อ้าง มรรคแท้มรรควิถี ๚ | ให้คะแนนระดับดี เพราะสะดุดตรง "มรรคใช่อ้าง"
สรุปด้านการเข้ากลซ้ำคำ มีลูกเล่นพิสดารน่าประทับใจ น่าให้ซือเฮียหมีเซอะรับไปติวบ้าง ด้านรสคำ-ความหมาย . . . แบ๊ะๆๆ (ใบ้รับประทานจ้าน)
ลองแต่งแบบไม่ใช้คำพระมาดูอีกหน่อยเน่อ
คำศัพท์ -
อริยสัจ น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ (ป. อริยสจฺจ) น. (ป. อริยสจฺจ) ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (ที่เกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์).
สัตย์ น. คุณลักษณะที่ประกอบด้วยความจริง ความแน่แท้ ความซื่อตรงไม่กลับเป็นอย่างอื่น. (ส.; ป. สจฺจ) น. จริง, แท้, แน่นอน, ซื่อตรง, ดี, เมื่อต้องการจะแสดงว่ามีลักษณะใดเป็นเฉพาะ ก็ประกอบกับคำเหล่านั้นแล้วแต่กรณี เช่น สัตย์ซื่อ สัตย์จริง สัตย์สาบาน. (ส.; ป. สจฺจ) ทุกขัง, ทุกขํ - ไม่พบในพจนานุกรม สมุห์ น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห) น. หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี. น. ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์. นิโรธ น. (แบบ) ความดับ. (ป.) น. (แบบ) นิพพาน. (ป.) มรรค น. ทาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค) น. เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล. (ส. มารฺค; ป. มคฺค) น. ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค) . . . . .
จากคุณ :
นิรนาม ณ ถนนฯ
- [
4 ธ.ค. 45 20:05:41
]
|
|
|