บทสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับ "แค้นนัก...รักเสีเลย"
หน่อย ว่าคุณคิดเรื่องนั้นมาได้เ อย่างไร?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: ผมคงมีภาพนี้ในความคิดมาเป็นเวลานมนานแล้ว
ภาพเด็กคนหนึ่ง แอบซ่อนอยู่ในหลุม ขดตัวกลม มี
อะไรบางอย่างข้างนอกไล่ตามหาเขาอยู่ บางสิ่งที่น่า
สะพรึงกลัว ผมลองนึกถึงว่า เด็กในหลุมคนนั้นกำลังคิด
อะไรอยู่ และคิดอย่างไรกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นข้างนอก
แล้ว เรื่องราวทั้งหมดก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เมื่อผมตัด
สินใจเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ก็พรั่งพรูมา ตอนนี้ทุก ๆ
คนพากันพูดว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสงคราม แต่ที่จริง
แล้ว สงครามเป็นแค่พื้นฐานท่านั้น โครงเรื่องจริง ๆของ
"แค้นนัก...รักเสียเลย" คือเรื่องเด็กที่รอดชีวิตเพราะถูก
ซ่อนไว้ในหลุม และแล้วเธอใช้ชีวิตที่เหลืออยู่มองหา
หลุมอื่นที่ซึ่งเธอจะได้พบตำแหน่งเหมือนกันที่ช่วยรักษา
ชีวิตของเธอได้ตลอดไป.
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: เรื่องราวดูเหมือนใช้ฉากสถานที่ไม่เจาะจงแน่ชัด
นักในอิตาลี สเปน หรืออาจเป็นทางอเมริกาใต้ ทำไมจึง
เป็นเช่นนั้น?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: หนังสือของผมแทบจะทุกเล่ม มีฉากที่ตั้งอยู่ใน
จินตนาการ ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาจากสถานที่ของนานา
ประเทศมากมายหลายแห่ง ในกรณีนี้ ขณะที่ผมกำลัง
จินตนาการเรื่องราวของนีน่า ชื่อที่มีสำเนียงสเปนเมัก
ผุดก้องขึ้นในหัว ผมคิดว่ามีความสัมพันธ์ตามธรรมชาติ
ระหว่างสงครามกลางเมืองและอเมริกาใต้ หรือสเปน
หากแต่เรื่องที่ผมได้เขียนมาอาจเกิดขี้นโดยง่ายใน
อิตาลี หรือฝรั่งเศสช่วงหลังสงคราม แน่นอนว่าสงคราม
ทั้งหมดก็เหมือน ๆ กัน คือผู้ชายในสงครามเป็นคพวก
เดียวกัน พวกเขาทำผิดเรื่องเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้
จบ
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: ในช่วงระยะเวลาปี1930หรือ40 ขณะเมื่อระบบการ
ปกครองฟาสซิสต์เรืองอำนาจ มีความหมายอย่างไรต่อ
คุณ? มันมีอะไรที่น่าสนใจสำหรับคุณ?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: มันเป็นช่วงระยะเวลาที่รวมไว้ซึ่งความปรารถนา
อันใหญ่หลวง บางทีอาจเป็นช่วงเวลาสุดท้ายของการ
เมืองการปกครองที่รวมไว้ซึ่งความมืดบอด เร่าร้อน
และยิ่งใหญ่ อีกทั้งโศกนาฏกรรมใหญ่หลวงเป็นตาม
ธรรมดา ผมหลงไหลในสิ่งต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับช่วง
ปีเหล่านั้น ความป่าเถื่อนอันผู้คนจักสามารถแสดงออก
มาได้ ความเศร้าโศกอันมีได้มากมายขณะเดียวกับ
อุดมคติอันสูงส่งและพฤคิกรรมอันโหดร้ายแสนสาหัส
อันได้เกิด สิ่งที่ทำให้ผมสนใจด้วยเช่นกันคือการพาด
ผ่านกันระหว่างชะตากรรมแห่งประวัติศาสตร์กับการ
กระทำของปัจเจกชนเล็ก ๆ
ทั้งหมดผมมองว่ามันเหมือนโรงละคอนโรงใหญ่ ที่ซึ่งมี
ความทรงจำอันมหาศาล ความผิดพลาดที่สั่งสมรวบ
รวมรักษาไว้ ด้วยความทรงจำพรรค์นั้น ใคร ๆ ก็อาจ
เข้าใจได้ว่าทำไม ทุกวันนี้ สำหรับพวกซึ่งมีช่วงศตวรรษ
อย่างของพวกเรา ชาวยุโรปจึงไม่กระตือรือร้นเกี่ยวกับ
การทำสงครามหรือการยินยอมให้คนอื่นก่อสงครามือ
ทิ้งไว้เหลือเป็นความทรงจำเบื้องหลังพวกเขาที่นั่น
สามารถไม่ใช่ไม่มีความปราถนายกเว้นสันติภาพ.
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: เรื่อง"Senza Sangue"-"แค้นนัก...รักเสียเลย"-
ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือในอิตาลีเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา
แล้วกลายเป็นหนังสือขายดีที่สุดทันที คุณส่วนใน
ความสำเร็จอย่างรวดเร็วของมันอย่างไรบ้าง?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: ตามธรรมดา หนังสือของผมเป็นที่ชื่นชอบใน
อิตาลี ผู้อ่านศรัทธาในงานผม เป็นเช่นนั้นสำหรับ
หนังสือของผมทุกเล่ม
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: หนังสือเล่มหลังสุดของคุณคือ "City," ซึ่งเพิ่งออก
มาจำหน่ายที่อเมริกาในปีนี้ มันเป็นหนังสือนวนิยาย
ประณีตและสร้างสรรค์เล่มหนึ่ง เกี่ยวกับเด็กอัจฉริยะ
อายุ 13ปีชื่อ Gould ที่มีเพื่อนในจินตนาการที่ดีที่สุดคือ
คนหูหนวกกับยักษ์ และพี่เลี้ยงชื่อ Shatzy Shellเรื่อง
ราวของความสัมพันธ์ของเขาทั้งหลายร้อยเรียงเป็นใน
ฉากชาติตะวันตกที่Shatzy ต้องการกระทำ; หลาย ๆ
ตอนจาก เรื่องนักมวยรองบ่อนซึ่ง Gould เล่าให้ตัวเอง
ฟังและส่วนของความเรียงโดย Mondrian Kilroy, เรื่อง
ร้อยแก้วของ ที่เป็นอาจารย์ของGould ตรงกันข้ามกับ
เรื่อง"ไหม" ซึ่งตีพิมพ์ในอังกฤษเมื่อปี 1998 ที่เป็นเรื่อง
แนวนิทาน เกี่ยวกับพ่อค้าผ้าไหมฝรั่งเศสซึ่ง เมื่อปี
1861 ถูกบังคับให้เดินทาไปญี่ปุ่น ที่ซึ่ง เขาได้พบหญิง
สวยลึกลับในคฤหาสน์ของชนชั้นสูงผู้ทรงอิทธิพล แล้ว
ตกเป็นทาษเสน่ห์เธอ คุณจะวิจารณ์หนังสือเหล่านี้ได้
ไหม?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: สำหรับผม เล่มหนึ่งซึ่งดูเหมือนประสบความสำเร็จ
มากที่สุดคือ "City," ซึ่งยังมีคนน้อยนักที่ได้ อ่านผู้คน
บ่นว่ามันอ่านยากมากทีเดียว แต่สำหรับผม มันดู
เหมือนซับซ้อน ซึ่งมันต่างกัน มันเป็นตัวอย่างที่ดีว่าเรา
กำลังทำอะไรกันอยู่ในยุโรปเมื่อเราเริ่ม งานในทิศ
ทาง อย่างที่ใคร ๆ ชอบอ้างคำพูดของ David Foster
Wallace ที่ว่า ผลลัพธ์ที่แตกต่าง แต่มาจากแนวความ
คิดเริ่มต้นที่คล้าย เป็นอะไรที่เป็นสัญชาตญาณใหม่
แห่งขอบฟ้าวงวรรณกรรม
หนังสือของผมซึ่งมีผู้นิยมอ่านอย่างกว้างขวางมากที่
สุด คือ "ไหม" แน่ล่ะครับ ตอนนี้ผมไม่ใคร่ชอบมัน
นัก (**ว่ากันว่านักเขียนมักเกลียดหนังสือจองตนซึ่ง
ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ) แต่ผมรู้สึกพอใจว่า
มีคนอ่านมันในเกือบทุก ๆ ประเทศทั่วโลก ผมจำได้ว่า
เมื่อไปประเทศไทยว่าด้วนเรื่องการตีพิมพ์ พวกเขา
บอกกับผมว่า ก่อนเรื่อง"ไหม" มีหนังสืออิตาลีเพียง
หนึ่งเล่มเท่านั้น หนังสือได้ถูกแปลเป็นไทย นั่นคือ "พี
นอคคิโอ"(-ไม่จริงอะ ความพยาบาทเอย อะไรเอยอีก
หลายเรื่องมั้ง The Name of the roseอีกอะ -คน
แปล) สิ่งนั้นเป็นเรื่องที่สามารถทำให้คุณอารมณ์ดีไป
ได้หลายเดือน
นิตยสารนิวยอร์กเคอร์: นวนิยายรุ่นเดียวกันส่วนมากมักมีลักษณะเป็น
ภาพยนตร์ แต่ "แค้นนัก...รักเสียเลย" กลับรู้สึก เกือบ
จะเหมือนบทภาพยนตร์ มีการเปลี่ยนมุมมองในการ
บรรยายที่รวดเร็วและ ประโยคคำพูดที่เลื่อนไหลจน
เป็นการอุปมาอุปมัยไป ภาพยนตร์มีผลต่องานของคุณ
ใช่ไหม?
อเลสซานโดร แบริกโฆ: สิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ผมเพลิดเพลินเกี่ยวกับหนังสือ
ของตัวเอง คือพวกคนอ่านเขาได้อ่านและจินตนาการ
ตามนั่นก็คือภาพยนต์แล้ว-ทั้งหมดที่พวกเขาต้องทำ
คือการถ่ายทำ แต่ถ้าคุณพยายามทำมัน คุณก็จะพบว่า
ไม่เกิดผลเลย ซึ่งยากที่จะจีบใจ และที่ยากอย่างยิ่ง
คือทำบทภาพยนตร์ที่ดีจากเรื่องเหล่านั้นในทางปฏิบัติ
ผมดูว่าหนังสือของผมสามารถเตือนเรา ๆ ถึงโลกของ
วรรณกรรม ถึงแม้ว่าหนังสือได้ประยุกต์หยิบยืมเทคนิค
มากมายมาจากภาพยนต์ แต่ยังคงเป็นโลกที่มีความ
รุ่มรวยสลับซับซ้อนที่ภาพยนต์นั้นไม่สามารถมีได้
แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 46 22:58:55
แก้ไขเมื่อ 22 มี.ค. 46 03:03:57
แก้ไขเมื่อ 22 มี.ค. 46 01:11:22
แก้ไขเมื่อ 22 มี.ค. 46 01:09:24