ความคิดเห็นที่ 16
แห้ นิรนามตกเข้าไปอยู่ในพายุหมุนวนอะไรก็ไม่รู้ ติดอยู่นานเลยเจียว ตอนนี้ได้เวลากลับมาประจำการอาศรมแล้ว ดูกลบทโตเล่นหางต่อเน่อ
ซือตี๋พิราบเงิน . . . ถามค้างไว้ว่า คู่โท ล้า-หล้า ใช้ได้บ่ ขอตอบว่า ไม่น่าใช้ แล้วที่ถามมาคงเข้าใจว่า "หล้า" เป็น "คำควบกล้า" . . . ให้ ห ครึ่งเสียง และ ล ครึ่งเสียง แต่ถ้าลองผันเสียงดู จะเห็นดังนี้ . . . ลา หล่า หล้า ล้า หลา จึงน่าจะกล่าวได้ว่า ห เป็นเสียงที่มีอยู่ใน ล ตามธรรมชาติ ดังนั้น ห-ล จึงไม่อาจเป็นคำควบกล้ำได้ คือ จะกล้ำเสียง ห-ล ไม่ออก มีแต่เสียง ล อย่างเดียว หล้า จึงไม่ได้ ห ครึ่งเสียง แต่ได้ ล เต็มเสียง (หล้า-ล่า)
ในบท "พายุทราย" (#๖๘ กระทู้ที่แล้ว) ขอชมเชยก่อนที่หาเรื่องมาเขียนเข้ากลบทต่อเนื่อง ๒ บท โดยภาพรวมน่าจะเข้าเกณฑ์ดีเกือบดีมาก ถ้าไม่ไปติดที่การใช้คำบางคำที่มีน้ำเสียงเล่นๆ เช่น ว้าบ-แว้บ, ช่างปะไร, อู้ฝู้ (อู้ฟู่) เพราะภาพรวมเนื้อหาโคลงเดินมาในแนวจริงจัง ผสมเพื่อชีวิตหน่อยๆ (อย่าท้อ ลุกขึ้นสู้ ฆ่ามัน . . . ฮา) แล้วยังใช้รูปแบบสื่อสารถึงบุคคลหมู่มาก เช่น "เถอะเพื่อน", "เพื่อนเอื้อน, "โศกเถอะ" เป็นรูปแบบที่มีพลังของบทกวีมากกว่าโคลงที่มีเนื้อหาสอนศีลธรรมสอนให้คนทำดี (เว้นแต่ว่าคำสอนนั้นจะมีความคมคายบาดใจ)
จุดที่น่าสังเกตอีกอย่างจากโคลงพายุทรายคือ จะเห็นว่า การเข้ากลโดยใช้ "คำโดด" ได้เสียงไพเราะน่าสนใจ และได้สำเนียงต่างจากการเข้ากลโดยใช้คำมีลูกเก็บที่ใช้ในโคลงบทสอง เรื่องนี้เป็นเรื่องของหู . . . ฉะนั้น หูของใคร-ไหของครู ก็ต้องใช้หูของเคร๋าฟังดูว่า ชอบแบบไหน ถูกใจแบบไหน จะได้เลือกได้ถูกว่า จะเล่นกลบทโตเล่นหางเวลาไหนเพื่อเพิ่มความไพเราะของโคลง (ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เต็มรูปแบบของกลบทก็ได้) (ความเห็นข้างบนนี้ขออ้างถึงตำราของ คมทวน คันธนู ที่เขียนว่า บางครั้งอาจเล่นกลบทเพียงบางวรรคเพื่อเพิ่มสีสันให้กับโคลง)
ทีนี้เข้าเรื่อง ชำแหละ . . . เนื้อหาของโคลง พายุทราย เข้าใจว่าพูดถึงสงครามรุกรานอิรัก และเรียกร้องให้ชาวอิรักลุกขึ้นสู้แค่ตาย โดยพูดถึงคำสอนของศาสนาหนึ่งที่บอกว่า การตายในสงครามจะได้ขึ้นสวรรค์
บทแรก . . .
"ว้าบแว้บ" เป็นคำไม่เหมาะกับโคลงบทนี้ตามที่พูดไปแล้ว นอกจากนี้ วาบแวบ เป็นเสียงโท จึงไม่ต้องใส่ไม้โทเข้าไปอีก "ตายทราย รับรู้" เสียงดี แต่ความเดินเร็วจนกระโดด ต้องอ่านช่วยว่า โลกรับรู้ (หรือคนหมู่มากรับรู้) "ร่างวายกลาย กลับธาตุ" จินตภาพยาก แต่ฟังดูเป็นบทกวีดี (ฮ่าฮ่าฮ่า) แต่คำ "ชื่อเสียง" หน้าวรรคดูจะไม่กลมกลืนกลับ ๕ คำที่เหลือของบาทนี้ บาท ๔ ตรวจยากเพราะโครงสร้างคำดี คือ อ-ฟ อ-ฟ (อู้ฝู้ อวดฟ้า) เลยช่วยพรางจุดอ่อนในวรรค แต่ซือเฮียซาดิสม์ต้องชำแหละตามระเบียบว่า ใช้คำไม่กลมกลืนดังที่พูดข้างบนคือ "อูฝู้" (อู้ฟู่) กับ "บ้างปะไร"
บทสอง . . .
"โศกเถอะโศลกสลดระทด อย่าท้อ" อ่านยากยัง คงเป็นเพราะว่า คำสุภาพใช้คำตายเสียงตรีหรือเปล่า (พจน์-ระทด) แต่ความหมายโอเคจ้า (ระทด ก. สลด, เศร้าใจ, สั่นไหว) ระชด . . ไม่พบในพจนก. อุรส . . . น. "ผู้ที่เกิดแต่อก" คือ ลูก ดังนั้น "ระชดอุรส" จึงแปลไม่ออก อีกอย่าง ตรงนี้น่าจะใช้ ระ-ระ หรือ อุ-อุ เหมือนกันทั้งสองคำ บาท ๔ นิรนามรู้สึกอีกแล้วว่าการใช้คำโดดเข้ากลบทโตเล่นหาง ให้เสียงที่ดี (ง้อข้อ)
ซาหรุบหว้า . . . การลองแต่งรูปแบบใหม่ๆ (สื่อสารความในใจถึงคนหมู่มาก) แม้ต้องอ่านช่วยหลายจุด ได้ผลน่าสนใจ และน่าชมเชย ด้านการเข้ากลแม้ไม่เนียนในบางคำ แต่การลองเข้ากลหลายๆแบบ ทำให้เกิดข้อสังเกตที่น่าสนใจศึกษา . . . . .
จากคุณ :
นิรนาม ณ ถนนฯ
- [
29 เม.ย. 46 16:26:15
]
|
|
|