ความคิดเห็นที่ 28
ทั่นเหล็กละมุน - ๒๗
คำว่า "เยียรบับ" ศัพท์นี้ เผอิญติดมาจากหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งกำลังอ่านอยู่ คือโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
อ่านไปติ๊กไป เพราะเห็นว่าแปลกดี กะว่าจะมาเปิดพจนก. แต่ไม่ทันได้เปิด และไม่คิดว่าจะได้นำมาใช้ พอมาแต่งในอาศรมฯ ศัพท์นี้ก็ผุดขึ้นมา และคิดว่า น่าจะหมายถึง การทำรบับ (ระบับ) แบบแผน ประมาณนี้ และน่าจะพอกล้อมแกล้มได้ และเสียงดี ก็เลยโอเคเบตง นะครับ
จริง ๆ แล้ว ไม่รู้ความหมายที่แท้จริง หรอกครับ (พิราบฯมั่ว แหะ ๆ) แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ลองค้นดูดีกว่า ก็ได้ผลมาดังนี้ ครับ
๑. ค้น : เยียรบับ คำ : เยียรบับ /เสียง : เยีย-ระ-บับ/คำตั้ง : เยียรบับ/ชนิด : น. นิยาม : ผ้าซึ่งทอด้วยทองแล่งกับไหม แต่มีไหมน้อยกว่า, ส้ารบับ ก็ว่า. //คิดว่าอันนี้ไม่น่าเกี่ยวกับโคลงที่แต่ง
๒. ค้น : เยีย คำ : เยีย ๒/เสียง : เยีย/คำตั้ง : เยีย ๒/ชนิด : ก./ที่ใช้ : ถิ่น นิยาม : ทำ. //คิดว่าอันนี้พอได้บ้าง คำ : เยีย ๔/เสียง : เยีย/คำตั้ง : เยีย ๔/ชนิด : ว. นิยาม : งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, เยียรยง. //อันนี้น่าจะช่วยแก้ต่างให้ได้
๓. ค้น : ระบับ คำ : ระบับ/เสียง : ระ-บับ/คำตั้ง : ระบับ/ชนิด : น. //อันนี้ก็น่าจะช่วยแก้ต่างให้ได้ นิยาม : แบบ, ฉบับ. สรุป - พิราบฯใช้ ว่า เยียรบับ (เยียระบับ) ในความหมาย เยีย-งามยิ่ง + ระบับ-แบบ, ฉบับ
//รอดตัวไป แหะ ๆ
จากคุณ :
พิราบเงิน
- [
27 ม.ค. 47 08:23:18
]
|
|
|