CafeTech-ExchangePantip MarketChatPantownBlogGangTorakhongGameRoom


    +++ ดูแล้วมาคุยกัน ... The Number 23 , วิเคราะห์สภาพจิตใจผู้หลงใหลเลข 23 +++

      ชอบมาก ห้ามพลาด (1 คน)
      ชอบ (13 คน)
      เฉยๆ (15 คน)
      ไม่ชอบ (1 คน)
      ไม่ชอบมาก เสียดายตังค์ (5 คน)

    จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 35 คน

     2.86%
     37.14%
     42.86%
     2.86%
     14.29%


    ถึงมิตรรักผู้อ่านกระทู้ทุกท่าน ก่อนอ่านบทความนี้ ขอเชิญชวนมาร่วมกันที่นี่จ้า

    exclaim ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับ 'การเซ็นเซอร์' ในหนังหรือในทีวี ปัจจุบัน (ทั้งกรณี 'เบลอ' และ 'แบน')
    http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A5310223/A5310223.html

    ฝากกระทู้นี้บอกต่อคนใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กด้วยครับ

    exclaim **** อย่าทำร้ายเด็ก ด้วยการพาไปดูหนังที่ไม่เหมาะกับเด็กเลยครับ (เมื่อผู้ใหญ่อุ้มเด็ก5ขวบ เข้ามาดู Hannibal rising) ****
    http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A5328389/A5328389.html




    ...เลือกอ่านบทความนี้พร้อมรูป และ อ่านความเห็นอื่นๆ + เชิญชวนมาแสดงความเห็นเพิ่มเติมที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&month=04-2007&date=14&group=1&gblog=234

    ...หนังตัวอย่างก็น่าดู พล็อตก็น่าสนใจ แถม ผู้กำกับโจเอล ชูมักเกอร์ เวลาทำหนังเล็กๆที่เน้นอารมณ์ดราม่าหรือระทึกขวัญกดดันคนดู เช่น Phone Booth และ Tigerland ส่วนใหญ่ผลลัพธ์ออกมาดี แต่ พอ ผมทำการบ้านก่อนไปดู 23 ด้วยการไปสำรวจคะแนนจากเว็บมะเขือเทศ (www.rottentomatoes.com) พบว่า หนังเน่าสนิท(rotten)ได้คะแนนจากกลุ่มนักวิจารณ์ไปแค่ 8 % คะแนนจากกลุ่มคนดูมีแค่ 46% และในเว็บ IMDBก็รับไปแค่ 6.2/10

    ผมลังเลใจว่าสงกรานต์นี้ ผมจะเลือกดูเรื่องไหน และ ตัดเรื่องไหนทิ้งระหว่าง 23 และ The reaping หนังแนวโปรดของผมทั้งคู่ และ กวาดรายรับพร้อมเสียงวิจารณ์มาแบบเน่าสนิททั้งคู่

    ...หนังตัวอย่างก็น่าดู พล็อตก็น่าสนใจ แถม ผู้กำกับโจเอล ชูมักเกอร์ เวลาทำหนังเล็กๆที่เน้นอารมณ์ดราม่าหรือระทึกขวัญกดดันคนดู เช่น Phone Booth และ Tigerland ส่วนใหญ่ผลลัพธ์ออกมาดี แต่ พอ ผมทำการบ้านก่อนไปดู 23 ด้วยการไปสำรวจคะแนนจากเว็บมะเขือเทศ (www.rottentomatoes.com) พบว่า หนังเน่าสนิท(rotten)ได้คะแนนจากกลุ่มนักวิจารณ์ไปแค่ 8 % คะแนนจากกลุ่มคนดูมีแค่ 46% และในเว็บ IMDBก็รับไปแค่ 6.2/10

    ผมลังเลใจว่าสงกรานต์นี้ ผมจะเลือกดูเรื่องไหน และ ตัดเรื่องไหนทิ้งระหว่าง 23 และ The reaping หนังแนวโปรดของผมทั้งคู่ และ กวาดรายรับพร้อมเสียงวิจารณ์มาแบบเน่าสนิททั้งคู่

    สุดท้ายผมเลือก 23 เพราะ ตอนที่เลือกซื้อตั๋วไม่มีรอบฉาย The reaping แล้ว

    ผมเข้าไปแบบปล่อยวาง ลดความคาดหวัง และ ก่อนหน้านั้นผมก็ไม่อ่านเรื่องย่อหรือคำวิจารณ์ใดๆมาก่อน นอกจากคะแนนที่ว่าไว้ข้างต้น

    แล้ว ผมก็พบว่า

    ในความเน่าสนิทของมะเขือเทศจากเว็บrottentomatoes นั้น ยังมีแสงสว่างเรืองรอง

    ผมเป็นคนส่วนน้อยที่ไม่ได้ชอบเรื่องนี้มาก แต่ก็ค่อนข้างพอใจไม่ถึงกับเสียดายตังค์ค่าตั๋ว


    …วอลเทอร์ สแปร์โรว์ (รับบทโดย จิม แครี่ย์) พระเอกของเรื่อง เป็น เจ้าหน้าที่กองควบคุมสัตว์ วันหนึ่งเขารับมอบหมายไปจับสุนัขหลุด เกิดความผิดพลาด เขาโดนกัด และ ทำให้เขาไปพบ ภรรยาตามที่นัดไว้สายกว่าที่ตั้งใจ ภรรยาเขาจึงฆ่าเวลาด้วยการยืนอ่านหนังสือรอ และ มอบหนังสือให้เป็นของขวัญ หนังสือเล่มนั้นชื่อ The Number 23

    นิยายเล่มนี้ เล่าเรื่องของ ฟิงเกอร์ลิง (จิม แครี่ย์ ก็เล่นอีก) นักสืบเอกชนที่มีพ่อเป็นนักบัญชี ชีวิตในวัยเด็กถูกกำหนดให้ต้องมาสนใจตัวเลขและพบกับศพแม่ม่ายข้างบ้าน จนคิดฝังใจอยากเป็นนักสืบ เขาเดินทางไปช่วยสาวผมบลอนด์ที่กำลังจะฆ่าตัวตาย และ ทำให้เขาไปพบความจริงที่น่าสะพรึงกลัวของ อาถรรพณ์เลข 23


    1.ในมนุษย์ โครโมโซมตัวที่ 23 เป็นตัวบ่งชี้เพศ พ่อและแม่ถ่ายทอดโครโมโซม คนละ 23 เส้นสู่ DNA ของลูก

    2.มีตัวอักษรทั้งหมด 23 ตัวในภาษาละติน

    3.จูเลียส ซีซาร์ ถูกแทง 23 ครั้งจนเสียชีวิต

    4.โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.56 ชั่วโมง ไม่ครบ 24 ชั่วโมงพอดี

    5.กลุ่มอัศวินเทมเพลอร์ (อัศวินผู้พิทักษ์ศาสนาคริสต์) มีผู้นำทั้งหมด 23 คน

    6.ชาวมายันเชื่อว่าโลกจะถึงกาลอวสาน วันที่ 23 ธันวาคม 2012 (20+1+2=23)

    7.เรือไททานิคจมลงสู้ก้นมหาสมุทร ในเช้าวันที่ 15 เมษายน 1912 (4+1+5+1+9+1+2=23)

    ฯลฯ



    ชีวิตส่วนตัวของฟิงเกอร์ลิง ถูกนำไปโยงเข้ากับเลข 23 แล้วทุกอย่างในชีวิตก็เริ่มเลวร้ายลง เขาเริ่มหมกมุ่นมากขึ้น จนไปบำบัด และ คนรักเริ่มตีตัวออกห่าง จิตแพทย์ส่วนตัวไปเป็นชู้กับคนรัก จนทำให้ เขาตัดสินใจ ฆ่าคนรักอย่างโหดเหี้ยมและป้ายสีให้ชู้รัก นิยายจบลงแต่บทที่ 22 เว้นกระดาษเปล่าไว้ที่บท 23

    ...วอลเทอร์ ยิ่งอ่านนิยาย ยิ่งรู้สึกว่า เหมือนกับชีวิตตัวเอง และ เริ่มเอาตัวเองไปขลุกผสมกับเลข 23 เช่น ตัวเลขของสีที่ทาบ้าน , ตัวเลขของเลขที่บ้าน ฯลฯ

    มาถึงตรงนี้ ผมดูไปก็นึกถึงสมัยเรียน เขาศึกษากันมานานว่า โครงสร้างของจิตใจในระดับส่วนที่เรียกว่า Ego มีขอบเขตของมันเรียกว่า Ego boundary

    เช่น ถ้า นาย ก. ดูละครแล้วเศร้าเนื่องจากนางเอกตายเราก็ร้องไห้ , นาย ข. ดูเจมส์บอนด์ ก็นึกคึกอยากเป็นพระเอกแต่ซักพักก็จบไป , นายค. เจอเพื่อนที่ถูกโกงเงินก็หงุดหงิดแทน

    ถ้าแค่นี้ ถือว่าปกติ

    แต่คนที่เสีย Ego boundary คือ คนที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งของ แฟนตาซี(fantasy) และ ความเป็นจริง(reality) หรือ ก้าวข้ามเส้นแบ่งของ ตัวเรา(self) และ ตัวเขา(others) ชนิดข้ามไปแล้วอาจลืมข้ามกลับมา

    ก็จะกลายเป็น นายก. ร้องไห้เจ็ดวันเจ็ดคืน กินไม่ได้นอนไม่หลับเพราะนางเอกละครตาย จนวางแผนจะไปงานศพ , นายข. แต่งตัวชุดทักซิโด้ ไปซื้อปืนมาพก เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น เจมส์ แล้วกระโดดเข้าปล้ำหญิงกลางห้าง , นายค. หงุดหงิดคิดว่าเงินตัวเองก็คงโดนโกงเหมือนกัน นั่งหมกมุ่นพร้อมบอกใครต่อใครว่าตัวเองโดนโกงเงิน เดินไปต่อยคนโกง

    ...วอลเทอร์ พระเอกของเรา กำลังเสีย Ego boundary

    วอลเทอร์ สงสัยว่าใครกันที่เป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะรายละเอียดในวัยเด็กจนมาถึงปัจจุบัน มันช่างตรงกับชีวิตของเขาอย่างเหลือเชื่อ จะต่างไปก็ตรงที่ตอนนี้ เขายังไม่ได้คิดจะฆ่าใคร

    แต่ เขาก็หมกมุ่นกับ 23 ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อพบว่า ทุกอย่างรอบตัวล้วนรวมกันได้ 23

    และ ภรรยาของเขาก็เริ่มไปสนิทกับเพื่อนจิตแพทย์คล้ายในนิยายเข้าไปทุกที

    เขาเริ่มฝันร้าย และ เห็นภาพตัวเองฆ่าภรรยา


    เรื่องราวถัดจากนี้ คือ สิ่งที่ท้าทายคนดูว่า เรื่องราวแท้จริงเป็นเช่นไร

    ใครเป็นคนเขียนนิยายเล่มนี้ คนเขียนมีวัตถุประสงค์อย่างไร

    และ ทำไมถึงต้อง 23


    ...หนังเล่าเรื่องแบบคู่ขนาน ระหว่าง ชีวิตอันเรียบง่ายของวอลเทอร์ และ ชีวิตอันหวือหวาของฟิงเกอร์ลิง ก่อนจะถูกเลข 23 ขมวดสองชีวิตให้มาพบบั้นปลายร่วมกัน

    ในตอนต้นของหนัง เริ่มต้นชนิดเดาได้ยากว่า จะเป็นหนังผี หนังอาถรรพณ์ หรือ หนังเขย่าขวัญจิตวิทยา แต่เมื่อถึงท้ายเรื่อง ทุกอย่างก็เริ่มชัดเจนขึ้น

    หนังทำได้ดีในช่วงแรก การกำหนดเลข 23 เป็นความคิดที่น่าสนใจ ชวนให้เห็นถึงสภาพที่ไม่มั่นใจในจิตมนุษย์ ที่โอนอ่อนเชื่ออะไรง่ายๆอย่างเหลือเชื่อ ทั้งที่ บางครั้งผลรวม 23 ในหนังก็เป็นความพยายามชนิดดันทุรัง แต่ก็ยังรวมกันให้ได้เป็นเลขนี้ จนไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นคนงมงายในไสยศาสตร์อยู่อีกจำนวนมาก

    ...ดูหนังแนวนี้บ่อยๆก็คงอดเดาไม่ได้ ผมเองก็เช่นกัน มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพราะเผลอเดาไปตั้งแต่ก่อนเข้าโรงแล้ว เนื่องจากอ่านในเน็ต เขาว่าไว้ว่า เรื่องนี้สูตรสำเร็จ เดาได้ง่ายเกินไป

    ถึงผมจะเดาถูกเมื่อรู้เฉลยในตอนจบ แต่ในตอนดูนั้น ไม่ทำให้น่าเบื่อเลย เพราะ ถึงคุณจะเดาได้ แต่ หนังเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการเปรียบเทียบกับหนังไทยเรื่อง แฝด ของการเขียนบทหนังหักมุม

    การเล่าเรื่องหนังหักมุมหรือหนังเฉลยปริศนาที่ดี มีอยู่สองแบบในความเห็นของผม

    คือ

    1.หนังเดาไม่ได้ เพราะไม่คิดว่าจะหักมุม เช่น Sixth sense

    2.เดาได้ แต่ เดาได้หลายทาง เพราะผู้กำกับทำให้เราไขว้เขว ไม่แน่ใจว่า จริงๆแล้วคำตอบของเรื่องคืออะไร เพราะแต่ละทางก็ล้วนเป็นไปได้แทบทั้งสิ้น

    เรื่องนี้ก็เช่นกัน ในตอนต้นคุณอาจเดาว่าเป็นผี อาจเดาว่าภรรยาวางแผนแกล้ง อาจเดาว่ามีฝาแฝด อาจเดาว่าพระเอกบ้า อาจเดาว่าเป็นเรื่องราวของอาถรรพณ์ ทุกเส้นทางที่คิดไว้นั้น ล้วนมีความเป็นไปได้จนกระทั่งช่วงท้าย

    แต่ แฝด มีทางเลือกอยู่เส้นทางเดียว พอเริ่มเดาได้ ทุกอย่างก็จบลง ไม่มีทางเลือกอื่นพอจะเป็นไปได้ให้ต้องคิดต้องลุ้นอีก นี่คือ จุดอ่อนที่น่าเสียดาย



    exclaim Spoiler alert : ข้อความถัดจากนี้ เฉลยตอนจบ และ วิเคราะห์แง่มุมทางจิตวิทยา หากยังไม่อยากรู้ข้ามไปอ่านที่ความเห็น1 ต่อเลยครับ





    หนังเฉลยไว้ว่า

    เรื่องในหนังสือนั้น เป็น ตา วอลเทอร์ หรือ จิม แครี่ย์ นี่แล เขียนไว้

    เพราะเมื่อ 13 ปีก่อน เขาเองเป็นฆาตกรที่ฆ่าคนรักตัวเอง เพราะคนรักคิดเอาใจออกห่าง เขาเองก็มีความผิดปกติทางจิตเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว

    ความรู้สึกผิดในใจ (guilt) ค่อยๆกัดกิน

    จนเขาหาทางระบายออกผ่านการเขียนนิยายเล่มนี้ ในห้องพักของโรงแรม ก่อนจะตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย
    แต่ดันรอด

    จิตแพทย์ผู้รักษา แอบเห็น นิยายเรื่องนี้ก็เลยเก็บเอาไว้ และ รักษา จิมจนหาย

    จิม ความจำเสื่อม จึงออกไปใช้ชีวิตใหม่

    แต่ จิตแพทย์เกิดจิตเสื่อมแทน หันไปหมกมุ่นกับเลข 23 และ รวมเล่มนิยายออกมา

    สุดท้ายแล้ว 23 ก็ไม่ต่างอะไรจาก บาป(sin) ที่ตามหาตัวเจ้าของจนเจอ และ มนุษย์ก็ต้องชดใช้กรรมที่เคยทำมา

    ความบังเอิญส่วนหนึ่งในหนัง แสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือ หลักการทางจิตวิทยา นั่นคือ ปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ ที่อาจเป็นกรรมที่ไล่ทัน หรือ เป็นวิญญาณที่ยังคงอยู่ ส่งผลให้ หมากัดที่แขนบริเวณเดียวกับรอยแผลตอนที่พระเอกฆ่าคนรัก และ หมาก็พาเขาไปพบหลุมฝังศพนั้น

    …วิเคราะห์เนื้อหาในนิยาย The number 23 ในเชิงจิตวิเคราะห์ แม้จะไม่ได้ลึกซึ้งแต่ก็ ถือว่า น่าสนใจ เพราะจัดได้ว่าเป็นการทำการบ้านของคนเขียนบทที่ดีอยู่พอตัว ไม่ได้เขียนขึ้นมามั่วๆซั่วๆ

    นิยายเล่มนี้ เป็นเหมือน ตัวแทนของการไถ่บาป เช่นเดียวกับ การอดอาหารของคริสเตียน เบลล์ ใน The machinist และ ยังเป็นสัญลักษณ์ของ ความรู้สึกผิดในใจตัวละคร (guilt)

    เพราะไม่จำเป็นเลยที่ ตัวนิยาย ซึ่งพระเอกในตอนนั้น จะซุกซ่อนโค้ดลับทุกคำที่ 23 ทุกๆหน้าที่ 23 เพื่อให้คนอ่านแกะรอยไปจนเจอ หลุมฝังโครงกระดูกที่แท้จริง
    เหตุผลที่อธิบายได้มีอยู่ข้อเดียว

    นั่นคือ ในระดับจิตสำนึกรู้ตัวที่แม้ต้องการจะเอาตัวรอดและป้ายความผิด แต่มันก็เกิดความรู้สึกต่อสู้กับ ส่วนของความรู้สึกผิด(guilt)ที่ทรมานจิตใจ เขาจึงเขียนจนหวังว่าอยากจะให้มีใครไปค้นพบโครงกระดูกของคนรัก อยากจะให้มีคนไปขุดพ้นจนเจอ แต่ ความรู้สึกผิดนี้อยู่ในระดับจิตใต้สำนึก(unconscious)จึงกดไว้และแปรมันมาสู่นิยาย เป็นความรู้สึกของ มโนธรรม(superego)ที่มีอยู่ลึกๆในใจจนเกิดความขัดแย้งขึ้นมา

    และ หากลองดูเนื้อหาในนิยาย เทียบกับ ชีวิตจริงของ จิม คือ คนไม่ค่อยเอาไหน ไม่มีใครเอา รู้สึกโดดเดี่ยวตั้งแต่เด็ก

    นิยายของเขาก็เหมือน การล่องลอยในระดับจิตใต้สำนึก มีทั้งการชดเชย(compensation)และการขยำรวม(condensation)สิ่งที่ตกตะกอนในจิตใจตั้งแต่เด็ก อาทิเช่น ความอ่อนด้อยอ่อนแอทั้งในการงานและชีวิตคู่ ถูกชดเชยเป็น นักสืบสุดเท่ เชี่ยวชาญทั้งเชิงรักและเชิงรบ , ตัวเลขทั้งหลายก็มาจาก การถูกจับยัดตัวเลขใส่สมองโดยคนเป็นพ่อตั้งแต่เด็ก , ภาพความตายอันน่าสยดสยอง รวมไปถึง การฆ่าตัวตายของพ่อ ก็ถูกจับมาแทนด้วย สัญลักษณ์ การตายของแม่ม่าย และ เรื่องราวการฆ่าตัวตายในนิยายของตัวเอง (สังเกตให้ดี แม่ม่ายที่ถูกฆ่า , แม่แท้ๆของฟิงเกอร์ลิง และ suiide blonde คือ คนๆเดียวกัน ทั้งสามล้วนเป็น ตัวแทนของแม่ ที่ตายจากไป)

    ...การปิดท้ายด้วยการเลือกตัดสินใจของตัวละคร เป็น ทางออกที่ผมชอบมากที่หนังเลือกคลี่คลายให้พระเอกตัดสินใจ รอดจากการฆ่าตัวตายเพราะถูกลูกเรียก ลูก ยังเป็นเหมือน สิ่งกระตุ้นเตือนให้เขาบอกประโยคสำคัญกับคนดูว่า

    There's no such thing as destiny. There are only different choices. Some choices are easy, some aren't. Those are the really important ones, the ones that define us as people

    ชีวิตคนเราก็เป็นเช่นนี้เอง หลายคนยอมปล่อยให้ความผิด ความชั่วร้ายเกิดขึ้นต่อไป เพราะเราไม่อยากรับผิดชอบ และ เราก็ด่วนสรุปว่า มันเป็นชะตาลิขิตแล้วหละ

    ทั้งที่จริง เส้นทางที่เราเดินอยู่นั้น เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะไปทางไหน และ การเลือกที่แตกต่างของแต่ละคน ก็เป็นตัวบอก ความเป็นคนๆนั้นที่ชัดเจน เช่น พระเอกเลือกที่จะเดินหน้าไปรับความผิดเพื่อปล่อยให้ผู้บริสุทธิ์กลับออกมา มันก็บ่งชี้ถึง ตัวตนที่ดีงามภายในจิตใจของเขานั่นเอง


    (มีต่อ)

    แก้ไขเมื่อ 18 เม.ย. 50 11:01:04

    จากคุณ : "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" - [ 18 เม.ย. 50 10:53:47 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | PanTown.com | BlogGang.com