 |
เราและสามีต่างก็มีเชื้อสายจีน (อากง-อาม่ามาจากเมืองจีน) เนื่องด้วยว่าเราต่างก็เติบโตมาในครอบครัวที่เรียกกันตั้งแต่ อากง, อาม่า, อาโกว, อาเตี๋ย, อาอี๊, อาอึ้ม, อาเจ็ก เพราะฉะนั้นคำเรียกเหล่านี้จึงเป็นคำที่คุ้นเคย
แต่แม่เราเป็นคนไทย เราก็เรียกแม่ว่า "แม่" ส่วนพ่อมีเชื้อสายจีนก็เรียกว่า "ป๊า"
เราให้ลูกเรียกว่า "ปะป๊ากับหม่าม๊า"ค่ะ (ทั้งที่จริง ๆ หน้าตาแฟนเราก็ไม่ได้เหลือเค้าลางจีนแล้ว เป็นคนผิวดำแดงด้วย ส่วนเราก็อาศัยว่าผิวขาว แต่หน้าตาก็ไม่ได้หมวยค่ะ)
ส่วนชื่อลูก เราตั้งให้เป็นชื่อไทยค่ะ ด้วยคิดว่าเราเป็นคนไทย เราก็อยากให้ชื่อลูกของเราเป็นไทย ๆ ค่ะ
เล่ามาซะเยอะ แค่อยากจะบอกว่าโดยส่วนตัวแล้ว จะพ่อหรือแม่ จะปะป๊าหรือหม่าม๊า ความหมายก็คือคำ ๆ เดียวกัน เป็นคำที่ลูกใช้เรียกซึ่งแสดงถึงความเคารพต่อบุปผการี อีกทั้งคนไทยเชื้อสายจีนก็พำนักอาศัยในแผ่นดินไทยมายาวนาน จึงไม่แปลกที่วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตบางอย่างจะถูกนำมาผสมผสานหรือนำมาใช้กับบางครอบครัว ซึ่งคงไม่ใช่แค่คำเรียกขานเท่านั้นหรอกค่ะ
คำว่า "พ่อ" อาจจะกินใจคุณ แต่คำว่า "ปะป๊า" ก็กินใจคนอีกหลายคนได้เหมือนกันค่ะ "คุณพ่อขา" ก็น่ารัก.... "ปะป๊าขา" ก็น่ารัก สำคัญว่าสอนให้ลูกพูดจาไพเราะ มีคำลงท้าย คะ, ขา แสดงความอ่อนน้อมอ่อนหวานต่อผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีของไทยดีกว่าค่ะ
ป.ล. ถึงเราจะให้ลูกเรียกว่า "ปะป๊ากับหม่าม๊า" แต่ลูกก็รู้จักคำว่า "พ่อกับแม่" นะคะ เค้ารู้ว่าคือความหมายเดียวกัน บางวันเค้าก็เรียกว่า "แม่จ๋า" "พ่อขา" นะคะ แล้วแต่อารมณ์ค่ะ ^^
* แก้ไขพิมพ์ผิดค่ะ
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 54 14:27:21
จากคุณ |
:
Torsang
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ค. 54 14:24:58
|
|
|
|
 |