ดอกผักตบชวา
ผักตบชวามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศบราซิล ด้วยความงดงามของดอก จึงถูกนำไปทวีปยุโรป และนำมาสู่เกาะชวา ในสมัยเป็นอาณานิคมของดัตช์(เนเธอแลนด์) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ และเกาะศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ สำหรับประเทศไทยนั้น มีบันทึกว่า นำเข้ามาจากเกาะชวาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะชวา กล่าวกันว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงโปรดว่า ดอกงามเหมือนดอกกล้วยไม้จึงนำกลับมากรุงเทพฯด้วย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรากฏว่า ผักตบชวาได้ขยายไปถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว จึงเรียกกันว่า ผักตามเสด็จ พระยาจัน (บุญยืน) จากเชียงใหม่มาเห็นเข้าก็ชอบใจ จึงน้ำมาใส่เรือกลับไปเชียงใหม่ด้วยในปีนั้น จะเห็นได้ว่า เพราะความงามของดอกผักตบชวา จึงทำให้มีผู้นำไปขยายแพร่พันธุ์กันทั่วโลก ก่อนจะเห็นว่าเป็นวัชพืชน้ำที่สำคัญอย่างในปัจจุบัน
เนื่องจากผักตบชวามีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับผักตบ ซึ่งเป็นพืชน้ำดั้งเดิมของไทยและนำมาจากเกาะชวา จึงเรียกว่า ผักตบชวา บางท้องที่เรียกตามลักษณะก้านใบที่ป่องตรงกลางว่า ผักป่อง(สุพรรณบุรี) ภาษาอังกฤษเรียก water hyacinth เพราะทรงดอกคล้ายดอก hyacinth
พิมพ์ผิดเยอะมาก เจอทีละนิดละหน่อยค่ะ
แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 52 23:42:07
แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 52 21:44:33
แก้ไขเมื่อ 14 พ.ย. 52 22:51:12
แก้ไขเมื่อ 14 พ.ย. 52 22:47:16