ความคิดเห็นที่ 23
ถ้ายึดตามสวน KEW สายหลวงใต้ สายหลวงลาว สายหลวงฟิลิปปินส์ (โอโน่) ก็ถือเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยปัจจุบันใช้ชื่อ Dendrobium anosmum Lindl. (1845)
เนื่องจาก anosmum มีแหล่งกระจายพันธุ์กว้างไกลตั้งแต่ศรีลังกาไปจนถึงปาปัวนิวกินี ทำให้มีหน้าตา สีสัน ขนาด ของทั้งต้นและดอกแตกต่างกันในแต่ละแหล่ง กลายเป็นที่มาของชื่อพ้องหลายชื่อ เช่น
Dendrobium superbum var. giganteum Rchb.f.
Dendrobium macrophyllum Lindl., (1839)
Dendrobium macranthum Miq.(1859)
Dendrobium retusum Llanos, (1859)
Dendrobium superbum var. huttonii Rchb.f. (1869)
Dendrobium scortechinii Hook.f. (1890)
Callista scortechinii (Hook.f.) Kuntze (1891)
Dendrobium superbum var. dearei Rolfe (1891)
Dendrobium leucorhodum Schltr.(1912)
Dendrobium anosmum var. dearei (Rolfe) (1935)
Dendrobium anosmum var. huttonii (Rchb.f.) Ames & Quisumb (1935)
หวายที่บ้านเราเรียกกัน "โอโน่" เป็น anosmum ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในฟิลิปปินส์ ซึ่งหน้าตาสีสันดูสวยกว่าของทางบ้านเรา (แต่แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนด้วยแหละครับ) ต่อมามีการนำเอาไปปลูกเลี้ยงในฮาวาย (จะเอาไปในช่วงที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในความปกครองของอเมริกาหรือไม่ ไม่ทราบได้ครับ) ซึ่งคนฮาวายเห็นว่าหวายชนิดนี้มีลักษณะลำต้น ตอนที่ไม่ทิ้งใบเหมือนกับ พืชในวงศ์ผักปลาบชนิดหนึ่ง (Commelina diffusa) ซึ่งมีชื่อพื้นเมืองภาษาฮาวาย Honohono ก็เลยเรียกกล้วยไม้ชนิดว่า Honohono หรือ Okika honohono ตามไปด้วย แต่หวายชนิดนี้ที่เข้ามาแพร่ขยายอยู่ในเมืองไทย จะเข้ามาจากฟิลิปปินส์โดยตรง หรือเข้ามาจากฮาวาย ก็ไม่รู้อีก แต่ที่ค่อนข้างแน่คือ ชื่อ Honohono พอมาถึงบ้านเราก็กร่อนหรือเพี้ยนไปหลายแบบ เคยได้ยินทั้ง "โอโน่", "โอโนโน่", 'โอโนโอโน่' และ 'โอโนมานู' ซึ่งชื่อหลังสุดคือ "โอโนมานู" น่าจะเกิดมาจากความสับสนกับลูกผสมหวายอีกต้นอย่างที่คุณแดงอุบลบอกไว้ครับ
เคยอ่านเจอว่าในฮาวายชื่นชอบ "โอโน่" ถึงขนาดจัดงานประกวดกันเป็นเรื่องเป็นราวทุกปี ประกวดกันแต่เฉพาะโอโน่ คล้ายๆ กับงานรักษ์เหลืองจันท์ของบ้านเรา แต่ตอนนี้ยังมีงานอยู่ไหม ก็ไม่รู้อีก ไม่เคยไปฮาวายครับ อิอิ
จากคุณ :
Magnificum
- [
9 มี.ค. 50 19:43:11
]
|
|
|