ความคิดเห็นที่ 43
ในตอนท้ายเรื่องอภินิหารการประจักษ์ สมเด็จพระปวเรศฯ ทรงกล่าวเพิ่มเติมถึงศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งไม่ได้ทรงกล่าวถึงเลยในตอนต้นว่า "เรื่องราวของพระแท่นมนังคศิลาบาตร อยู่ในเสาศิลาที่มาแต่เมืองสุโขทัย และพ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น" ซึ่งเป็นการพิมพ์เนื้อหาของจารึกหลักที่ 1 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะคงมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ จึงทรงนำมาตีพิมพ์ไว้ที่นี้ เป็นที่หน้าสังเกตว่า เนื้อหาที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ทรงแปลนั้น จะยกเอามาแต่เฉพาะเหตุการณ์ที่มีศักราชโดยเริ่มขึ้นที่มามหาศักราช 1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงให้ปลูกไม้ตาลนี้ 14 ปีเข้า จึงให้ช่างถากขดานหินกลางไม้ตาลนี้ และในวันอุโบสถก็โปรดให้พระเถระผู้ใหญ่สวดธรรมแก่เหล่าอุบาสก หามิใช่วันอุโบสถพระองค์เองก็เสด็จขึ้นประทับออกว่าราชการ ข้อความที่ว่า "พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้พระเถระผู้ใหญ่สวดธรรมบนแท่นหินนี้" รับกับพระราชดำริของเจ้าฟ้ามงกุฎเมื่อเสด็จสุโขทัยที่ตรัสกับแท่นศิลาว่า "ให้ไปบางกอกด้วยกัน จะได้ฟังเทศน์ถือศีล" น่าจะสันนิษฐานได้อีกว่า พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าหากเมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติขึ้นเมื่อใดก็คงใช้แท่นศิลานี้เป็นบัลลังค์ แต่ก็มิได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์เท่านั้น ระยะที่พ่อขุนรามคำแหงให้ปลูกต้นตาล และถากขดานหิน สอดคล้องกับ 14 ปีที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบวรนิเวศฯ ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับพระองค์เสด็จขึ้นประทับเหนือราชบัลลังก์ สมเด็จพระปวเรศฯยังทรงประทานข้อเฉลยไว้ท้ายเล่มว่า "ถ้าจะใคร่ทราบกลศักราชทั้งปวง ต้นศักราชปีมะเส็งมากกว่ามหาศักราช 621" ดังนั้น หากเราจะเปลี่ยนมหาศักราช 1214 อันเป็นปี่ที่พ่อขุนรามคำแหงปลูกต้นตาลมาเป็นพุทธศักราชโดยการเอา 621 มากบวกก็จะได้เป็นปีพุทธศักราช 1835 ซึ่งถ้าเราอ่านศักราช 1835 เป็นคริสต์ศักราช ก็จะได้ปี ค.ศ. 1835 คือสองปีก่อนที่เจ้าฟ้ามงกุฎจะเสด็จไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบวรนิเวศฯ และสิบสี่ปีต่อมาก็เท่ากับปีพุทธศักราช 1849 ถ้าอ่านเป็นปี ค.ศ. 1849 อันได้แก่สองปีก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ ปีต่อมาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศฯ ตรัสถึงได้แก่ปีศักราช 1209 ปีกุน ซึ่งเราทราบดีแล้วในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่ากล่าวถึงศักราช 1207 ปีกุน เพราะฉะนั้น ความผิดพลาดนี้เป็นเจตนาที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างของเวลาสองปี ดังนั้น ถ้าเอาสองปีมาเพิ่มเข้าไปก็จะได้ปีคริสต์ศักราช 1837 และ คริสต์ศักราช 1837 ก็คือปีที่เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จไปครองวัดบวรนิเวศฯ และปีคริศต์ศักราช 1851 ก็คือปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ซึ่งเป็นปีกุน เหตุการณ์ต่อมาที่กล่าวถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 คือ ปีศักราช 1209 ที่พ่อขุนรามคำแหงให้ขุดเอาพระธาตุออกไปให้คนทั้งหลายเห็น แล้วเอาลงไปฝังไว้กลางเมืองศรีสัชนาลัย ปีนี้สามารถปรับเป็นปีคริสต์ศักราช 1830 ตามที่เสนอไปแล้ว ซึ่งตรงกับปีที่เจ้าฟ้ามงกุฎโปรดเกล้าฯให้ขุดศิลานิมิตวัดสมอรายขึ้นมาดูแล้วทรงให้ผูกนิมิตใหม่พร้อมกับให้พระภิกษุที่วัดสมอรายอุปสมบทขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการสถาปนาธรรมยุตนิกายให้ถูกต้อง ส่วนศักราช 1205 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ลายสือไทยนั้น ตรงกับปีที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระราชศรัทธาที่จะนำเอาพระวินัยมอญมาเป็นข้อปฏิบัติในธรรมยุตนิกาย และอาจจะทรงริเริมประดิษฐ์อักษรอริยกะเพื่อเขียนภาษาบาลีก็เป็นได้ การเฉลยการเปลี่ยนศักราชต่าง ๆ สมเด็จพระยาปวเรศฯ ทรงต้องการที่จะให้บุคคลในกาลข้างหน้ารับทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้กลเลขในการลบบวกศักราชต่าง ๆ ที่จะให้เห็นว่าพระองค์เกี่ยวข้องกับนิพนธ์หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ดังที่สมเด็จพระยาปวเรศฯ ทรงเขียนไว้เป็นอวสานพจน์ของหนังสืออภินิหารการประจักษ์ ศักราชคิดดั่งนี้ ชอบขยัน มืดลับชนสามัญ ห่อนเจ้า ไทยถือว่าสำคัญ กลเลข แยบยลคนกล่าวแกล้ง กล่าวว่า คนไกล ดังนั้น ผมจึงใคร่ขอเสนอต่อท่านผู้มีเกียรติว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1 นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์อันได้แก่สิบสี่ปีหลังจากที่เสด็จไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศฯ นอกจากนั้นแล้ว ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังส่อให้เห็นอีกด้วยว่าเหตุใดพระองค์ถึงทรงพระราชนิพนธ์จารึกหลักนี้ขึ้นมา มูลเหตุอันเป็นแรงบันดาลพระทัยคงจะได้แก่พระองค์ตั้งพระทัยที่จะทรงพระราชนิพนธ์ประวัติของพระแท่นมนังคศิลาบาตรนี้ ในรูปแบบของประวัติศาสตร์นิพนธ์ โดยใช้พระปรีชาสามารถทางด้านภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ดาราศาสตร์ และการคำนวณในการสร้างภาพพจน์ที่ใกล้เคียงกับอดีตเท่าที่จะทรงทำได้ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นนี้ยังเป็นกุศโลบายที่พระองค์จะนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่มีมาแต่เดิมไปสู่โลกทัศน์ใหม่ ซึ่งรับกับอารยธรรมตะวันตก จารึกหลักที่ 1 จึงเป็นการสร้างภูมิหลังเพื่อเป็นหลักประกันแก่ความเปลี่ยนแปลงที่ พระองค์ทรงกระทำเพราะความเปลี่ยนแปลงบางประการเช่น การที่พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะ และอาจจะมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนระบบวิธีเขียนภาษาไทยให้อยู่ในบรรทัดเดียวกันเพื่อสามารถที่จะใช้กับเครื่องพิมพ์ได้สะดวกยิ่งขึ้น บางประการ เช่นการเปิดการค้าเสรี การขัดผลประโยชน์ของเจ้านายและผู้มีบรรดาศักดิ์ ที่แต่เดิมใช้ระบบการค้าแบบผูกขาด การเปลี่ยนแปลงที่พระองค์จะทรงริเริ่มขึ้นนั้นมิได้เป็นการกะทำผิดจากโบราณราชประเพณี แต่กลับเป็นการรักษาโบราณราชประเพณี ที่มีมาแต่สมัยสุโขทัย ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป บ้านเมืองจึงจะอยู่เย็นเป็นสุขเช่น การที่พระองค์จะลดค่าระวางปากเรือ จังกอบ ให้เหลือว่าละ 1000 บาท จากวาละ 1700 บาท ตามที่อังกฤษขอมาในสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง จึงมีมาแต่เมื่อโบราณว่า " เจ้าเมืองบ่อเอาจังกอบในไพร่" หรือเมื่อพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ไพร่ที่ไม่สามารถจะช่วยตัวเองได้ ให้มาถวายฎีกาแก่พระองค์โดยตีกลองวินิจฉัยเภรี ก็มีมาแล้วในการที่ไพร่ฟ้าหน้าใสไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกาต่อพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ต้องการที่จะปรับปรุงพระราชพิธีสำหรับบ้านเมือง เช่นให้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระองค์เองก็เสวยน้ำพิพัฒน์สัตยานั้นด้วย ก็แสดงให้เห็นในข้อความที่ "ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนถือบ้านถือเมือง" นอกจากนั้นพระองค์ก็ยังทรงให้ความสำคัญแก่เทพารักษ์ผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมือง เช่น การนับถือพระขพุงที่สุโขทัย และพระสยามเทวาธิราช ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นเพื่อพิทักษ์รักษากรุงสยามในลักษณะเดียวกัน และเมื่อพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ราษฎรมาเฝ้าชมพระบารมี ก็มีมาแล้วในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ชาวเมืองสุโขทัยมาดูพ่อขุนรามคำแหงท่านเผ่าเทียนเล่นไฟ ทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ในประกาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลาจารึกหลักนี้ จึงเปรียบเสมือน รัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะทรงใช้เป็นแนวทางการบริหารแผ่นดิน เพื่อให้บ้านเมืองเจริญตามอารยธรรมตะวันตกเพื่อให้เป็นที่นับถือของฝรั่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงใช้ประปรีชาสามารถในทางปัญญาที่ได้นำกรุงสยามให้พ้นจากภัยพิบัติได้ ผมขออัญเชิญพระราชดำรัสของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงตรัสว่า "แต่น่าอนาถใจจริงๆ ทุกวันนี้ผู้รู้พระคุณของทูลกระหม่อมมีน้อยตัวลงทุกที" ข้าพพุทธเจ้า ขอสดุดี พระมหาราชา ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทยด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ศักราช หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆ ศักราชที่นิยมใช้กันและที่สามารถพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งแต่เดิมนับเอา วันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมาเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มนับตามแบบสากล คือ วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา คริสต์ ศักราช (ค.ศ.๗เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิด เป็นค.ศ. 1 ซึ่งในขณะนั้นได้มีการใช้ พุทธศักราชเป็นเวลาถึง 543 ปีแล้ว การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุริยคติ ดังนั้นวันขึ้น ปีใหม่ของค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี มหาศักราช (ม.ศ.)เริ่มนับเมื่อพระระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครอง คันธาระราฐของอินเดียทรงคิดค้นขึ้น ภายหลังได้เผยแพร่เข้าสู่บริเวณสุวรรณภูมิและประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบนี้ จุลศักราช (จ.ศ.)เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน" ลึกออกจากการเป็นพระ เพื่อชิงราชบัลลังก์ในสมัยพุกามอาณาจักรการนับเดือน ปี ของ จ.ศ. จะเป็นแบบจันทรคติ โดยถือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือ วันที่ 1 เมษายน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ยกเลิกการใช้ ร.ศ. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)ป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด กระทำฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพจากเมืองเมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลาม การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่างของอายุศักราชแต่ละศักราชมาบวกหรือลบศักราขที่เราต้องการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ. จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ. ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ. ฮ.ศ. + 621 = ค.ศ. ค.ศ. - 621 = ฮ.ศ. ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ. พ.ศ. - 1164 = ฮ.ศ. บัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อเปรียบเทียบศักราช ทั้งสองต้องใช้ 543 บวกหรือลบแล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย หรือสากลได้ง่ายขึ้น ที่มา ณรงค์ พ่วงพิศ และคณะ, หนังสือเรียนหลักประวัติศาสตร์ 1 กรุงเทพฯ : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด , 2546
จากคุณ :
ต่อครับ
- [
17 เม.ย. 50 11:22:11
A:210.1.22.23 X: TicketID:102871
]
|
|
|