ความคิดเห็นที่ 18
ถ้าการศึกษาเรื่องคนที่ตายแล้วเป็นการไม่เป็นธรรม หมายความว่าชีวประวัติต่างๆที่เราเรียนมานั้นไม่เป็นธรรมทั้งหมดเหรอครับ? ลองคิดดีๆนะครับ หรือชีวประวัติ "ต้อง" เขียนชมเท่านั้น ถึงจะยุติธรรม ถ้าวิจารณ์ถือว่าไม่ยุติธรรมทันที หนังสือเล่มไหนที่เกี่ยวกับหม่อมคึกฤทธิ์ "ยุติธรรม" ในสายตาของคุณ
และที่สำคัญคุณมีอคติกับหนังสือไปแล้ว เพราะตัวหนังสือไม่ได้ ตัดสินหรือพูดเรื่องที่คุณว่าเลย
หนังสือเล่มที่ว่านั้นบอกว่า ไม่ว่าคนชอบหรือไม่ชอบต่างเห็นตรงกันว่า มรว.คึกฤทธิ์ เป็นนักการเมือง นักคิด นักเขียน ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของสังคมไทยมากที่สุด ตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตัวหนังสือเล่มนั้นศึกษาข้อเขียน-บทความ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยของท่านว่าเป็นอย่างไร โดยยกข้อความมาจาก Primary Source
ผมถึงเสนอว่าถ้าสนใจเรื่องคึุกฤทธิ์ควรอ่าน เพราะจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของท่านผู้นี้ผ่านทางข้อเขียนของท่านเองโดยไม่ต้องให้ใครมาตีความ อย่างเ่ช่นการเปลี่ยนจาก Pro ไต้หวันมาเป็น Pro จีนแดง จนกระทั่งนำไปสู่การเยือนจีน หรือนิยามคำว่าการเป็นไทยที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญระหว่างยุคป. และยุค ส. เป็นต้น
If we value the pursuit of knowledge, we must be free to follow wherever that search may lead us. The free mind is not a barking dog, to be tethered on a ten-foot chain.
Adlai E. Stevenson Jr. (1900 - 1965), speech at the University of Wisconsin, Madison, October 8, 1952
จากคุณ :
Nexus
- [
13 ก.ค. 51 20:25:28
]
|
|
|