ลิงก์ ใน คคห. ๑ รู้สึกจะบอกไม่ครบนะครับ
ตอนกลางวัน เราใช้ ฆ้อง ตี ดัง โหม่ง ๆ จึงเรียก โมง
กลางคืน ครึ่งแรก ตีกลอง ดัง ตุ้ม ๆ จึงเรียก ทุ่ม
แต่หลังสองยาม (เที่ยงคืน) คนนอนหลับแล้ว การตีกลองอาจรบกวนการนอน
จึงใช้ตีแผ่นเหล็ก คงทำนอง กังสดาล จึงเป็นที่มาของ ตีหนึ่ง ตีสอง ตีสาม ตีสี่ ตีห้า
นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนเวรยามรักษาการณ์ ดังนี้
กลางวัน ผลัดละหกชั่วโมง คือ ย่ำรุ่งถึงเที่ยง และ เที่ยงถึงย่ำค่ำ
กลางคืน ผลัดละสามชั่วโมง คือ
ยามหนึ่ง ตั้งแต่ ย่ำค่ำ ถึง หนึ่ง(ชั่ว)ยาม (สามทุ่ม)
ยามสอง ตั้งแต่ หนึ่งยาม (สามทุ่ม) ถึง สอง(ชั่ว)ยาม (เที่ยงคืน)
ยามสาม ตั้งแต่ สองยาม ถึง สาม(ชั่ว)ยาม (ตีสาม)
ยามสี่ ตั้งแต่ สามยาม ถึง ย่ำรุ่ง
การผลัดเวรยาม ก็คงจะมีการ ย่ำฆ้อง ย่ำกลอง ฯลฯ เป็นสัญญาณ
เช่น ในเวลาเที่ยงวัน ก็มีการยิงปืนใหญ่ (ปืนเที่ยง) พวกที่ไกลปืนเที่ยงก็อาศัยฟังจากวัด
เพิ่มเติมนิดนึง หนึ่งชั่วยามไทย คือ สามชั่วโมง หนึ่งชั่วยามจีน คือ สองชั่วโมง หนึ่งชั่วยามอินเดีย คือ สี่ชั่วโมง (อินเดียจึงมีสามยามในเวลากลางคืน ปฐมยาม มัชฌิมยาม และ ปัจฉิมยาม)