 |
เรียนคุณ Diwali "เก้าพันเก้าร้อยปี" ส่วนตัวไม่เคยได้ยิน เดี๋ยวรอผู้รู้มาเพิ่มเติมนะครับ ในประวัติศาสตร์จีนมีคนตั้งตนเป็น "เก้าพันปี" เป็นขันทีในสมัยราชวงศ์หมิง ขันทีนี้ชื่อว่า "เว่ยจงเสียน" ได้รับความไว้วางใจจากฮ่องเต้มาก มีหน้าที่บริหารแผ่นดิน ก็เลยตั้งตนเองเป็น "เก้าพันปี" คือเป็นรองแค่ฮ่องเต้ "พันเดียว" เพราะฮ่องเต้มี "หมื่นปี" พอเปลี่ยนรัชกาล ขันทีผู้นี้ก็ถูกฮ่องเต้องค์ใหม่กำจัด โดนระบุว่ามีโทษใหญ่สิบกระทง
ในงิ้วปักกิ่งยังมีอีกคน เป็นขันทีในราชวงศ์หมิงเช่นกัน ชื่อ "หลิวจิ่น" เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ คนนี้ก็ถูกสั่งประหารในเวลาต่อมา วิธีการประหารก็คือถูกเฉือนเนื้อออกจนตาย ตามบันทึกถูกแล่อยู่สามวันถึงตาย จำนวนครั้งที่เฉือนคือ 3,357 ครั้ง ว่ากันว่าวันแรกที่ถูกเฉือน ยังกินข้าวต้มได้อยู่ แล้วก็รอเฉือนต่อวันที่สอง....หุ หุ หุ
วิธีการประหารแบบนี้แต่ละสมัยถูกกำหนดต่างกัน มาถึงสมัยชิงก็ยังมีอยู่ แต่จำนวนครั้งลดลง มีหลายเซ็ทให้เลือก ตั้งแต่ 24 36 72 และ 120 ก็จะมีหลักการเฉือนว่าเฉือนที่ใดก่อน ไล่เฉือนทั่วร่างจนนักโทษขาดใจตาย หากอยากเห็นภาพจริงๆสมัยชิงก็ลองเอา 凌迟 คำนี้ไปเสิร์ชดู แต่ทำใจก่อนดูนะครับ
ส่วนคำว่า "วั่นซุ่ย" หากใช้กับกษัตริย์ แปลว่า ทรงพระเจริญ ถ้าใช้กับผู้นำหรือประเทศชาติ จะแปลว่า จงเจริญ ก็ได้ครับ ที่เทียนอันเหมินก็เคยติดคำอวยพรนี้โดยนำมาต่อหลังชื่อประธานเหมาและชื่อประเทศจีน ปัจจุบันญี่ปุ่นก็ยังมีการนำคำนี้ไปใช้ โดยออกเสียงว่า "บันไซ" ในภาษาญี่ปุ่นครับ
มาเพิ่มเติม
"เก้าพันเก้าร้อยปี" น่าจะหมายถึงหนึ่งในสองคนด้านบนที่กล่าวไป ต้องดูที่เนื้อเรื่องอีกที เพราะอย่าง "เว่ยเสียนจง" ก็มีคนเพิ่มให้ในภายหลังเป็น "9,999 ปี" น้อยกว่าฮ่องเต้ปีเดียว
แก้ไขเมื่อ 12 พ.ย. 54 10:25:36
จากคุณ |
:
อุปรากรจีน
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ย. 54 10:19:14
|
|
|
|
 |