 |
หมายถึง วปอ.?
----------------------------------------------
มีคนเคยวิจารณ์ว่า วปอ.นั้น เป็นหลักสูตรที่สร้างความแตกแยกในสังคม ในแง่ที่ว่าเป็นการรวมตัวของ elite หรือชนชั้นนำ ช่วงหนึ่งคอนเนคชั่นของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียน วปอ. กลายเป็นเครือข่ายทางทางการเมืองที่กระจายไปในทุกแห่งในกระทรวง ทบวง กรม ในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ความสัมพันธ์จึงเป็นลักษณะทางขวาง แนวระนาบ เป็นขนมชั้น ที่ไม่ใช่แนวดิ่ง
ที่สำคัญคือ หลักสูตรดังกล่าวจะใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมด โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 3-4 แสนบาท (ระยะเวลา 1 ปี) รวมค่าใช้จ่ายการดูงานในประเทศ และนอกประเทศ ซึ่งใน 3 หลักสูตรมีผู้เข้ารับการศึกษาจำนวน 260 คน การคัดเลือกจะมีสภาวปอ. มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ผู้ที่ได้สิทธิ์มักจะถูกล็อคเฉพาะคนที่มีใกล้ชิด หรือ รู้จักกับกรรมการสภาฯ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสิทธิของการได้ที่นั่งในหลักสูตรนั้นๆ โดยเฉพาะสำนักงบประมาณ จะมีโควตาเฉพาะเพราะเป็นส่วนที่สนับสนุนงบประมาณให้ วปอ.มาตลอด
จริงๆ มันเหมาะในช่วงสงครามเย็น ช่วงตอนที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านทรงริเริ่มก่อตั้งหลักสูตรนี้ แต่ตอนนี้อยากให้มีการยุบ หรือ ยกเลิกหลักสูตร วปอ.ไปเลย มันทำให้คนระดับ elite ผนึกแน่นในระดับระนาบมากขึ้น การเข้ามาศึกษาไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายทีเป็นประโยชน์โดยส่วนรวมของสังคม แต่เป็นการตอบสนองคนกลุ่มเดียว พวกเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในแวดวง วอป.ท่านหนึ่งระบุ
ในสถานะของทหารเอง ในหลักสูตรบริหารทั้ง 3 หลักสูตร ก็แตกต่างกัน ในส่วนของ วปอ. จะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งหลัก เป็นผู้บังคับหน่วย หรือ มีแนวโน้มว่าจะได้รับการโปรโมทขึ้นตำแหน่งหลัก โดยเฉพาะ แม่ทัพภาค หรือ ผู้บัญชาการกองพบ ซึ่งคนเหล่านี้เพื่อนร่วมรุ่นโดยเฉพาะนักธุรกิจ หรือ ข้าราชการ จะห้อมล้อม จะได้รับ ส่วนหลักสูตรถัดมาทหารที่อยู่ในตำแหน่งประจำ หรือ มีโปรไฟล์ที่ไร้อนาคต ก็จะไม่ได้รับความสนใจ
มันเป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก รอเพื่อนกูเป็นใหญ่เพื่อสร้างโอกาสให้ตัวเอง" เสียงจากคนในแวดวงเดิมระบุ
วปอ. อาจเรียกได้ว่าเป็น หัวเชื้อ ในการสร้างหลักสูตรผู้บริหารชั้นสูงในองค์กรอื่นๆ ขึ้นมา โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 6 หลักสูตร วปอ. , ปปร.ของสถาบันพระปกเกล้าฯ , วตท. ของตลาดหลักทรัพย์ ,บยส. ของสำนักงานศาลยุติธรรม Tepcot ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น แต่ขณะนี้ที่มาแรงที่สุดคือ วตท.และTepCot ที่ทำร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ฯ หรือร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรอื่นที่ เทียบเคียง และถูกคนใน วปอ.เองต่อต้านว่าเป็นหลักสูตรที่ก็อปปี้จาก วปอ.นั้นก็คือหลักสูตรสำหรับผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น ของสถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า
พร้อมกันนั้น ธรรมเนียมปฏิบัติ และ โปรแกรมการเรียนการสอนในหลักสูตรอื่นก็จะล้อจากหลักสูตรของ วปอ.เป็นหลัก เช่นการดูงานต่างประเทศ การนัดสังสรรค์สัมมนาเกือบทุกสัปดาห์ เลยไปถึงการจัดหมู่ลูกเสือเพื่อทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม ซึ่งคนที่เข้ารับการศึกษาส่วนใหญ่มักจะแย่งเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่คนมีอำนาจ หรือ มีชื่อเสียงเป็นหลัก
มันเป็นการตอบโจทย์ของกลุ่มผลประโยชน์ ไม่ใช่ตอบโจทย์ของสังคม สังเกตได้จากกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์ที่ถอดรหัสตัวนี้ได้ จะเห็นได้ว่าตระกูลนี้จะส่งคนในตระกูล คนใกล้ชิด หรือ คนของเขาเข้าไปศึกษาที่ หลักสูตร สจว.ของสถาบันจิตวิทยาเพื่อความมั่นคงก่อน คนเหล่านั้นก็จะไปเรียนต่อที่ วปอ. เวลามีงานเลี้ยงเปิด ปิด หลักสูตร คนตระกูลนี้คือ โต้โผ หรือ สปอนเซอร์ในการจัดเลี้ยง หรือ กลุ่มบริษัทท่องเที่ยว ทำธุรกิจขนส่งก็จะได้เข้ามาเรียนเพราะรู้ว่าต้องพานักศึกษาไปดูงานต่างจังหวัด คนในรุ่นจะได้งาน แถมได้คอนเนกชั่นจากนักศึกษาที่เป็นผู้บริหาร เวลาหน่วยงาน หรือ กระทรวง ทบวง กรม ไหนต้องจัดงาน เดินทางไปดูงาน บริษัทก็จะเข้าไปรับงาน จับงานตรงนั้นได้ง่าย
ส่วนกิจกรรมของ นักศึกษา ที่น่าจะมีสัดส่วนมากกว่า การเล่าเรียนเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์ เป็นจุดที่ถูกวิพากย์วิจารณ์มากที่สุด โดยเฉพาะการที่หลายคนไม่ได้สนใจการเรียนการสอน การบรรยาย หลายครั้งที่เห็นนักศึกษาโดดเรียนไปตีกอล์ฟกัน ส่วนการวิจัยฯ เจ้าตัวก็มักให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำให้ และ กลุ่มรวมที่ทำเอกสารยุทธศาสตร์ก็จะมีแกนหลักไม่กี่คน การระดมความเห็นไม่ได้นำไปสู่เนื้อหาที่เป็นประเด็นในการแก้ไขปัญหาส่วนรวม แต่เป็นเพียงความเห็น และ สีสันที่ถูกบรรจุลงไปอย่างกระจัดกระจาย กว้างขวาง
อาจกล่าวได้ว่าปัญหาที่เจอกันมากคือ เรื่องชู้สาว เหมือนคนแก่ที่มารวมกันเหมือนถูกปล่อยผี มีการคลุกคลีทำกิจกรรม ไปต่างจังหวัด กินเหล้า สังสรรค์กันบ่อย สร้างปัญหาครอบครัวเพราะทุกรุ่น มีปัญหาเกิดขึ้นทุกปี อย่างเช่นหลักสูตร บยส.ของสำนักงานศาลยุติธรรม มีผู้พิพากษา และ อัยการมาเรียนร่วมกับผู้บริหารภาคอื่น มากินเหล้า สังสรรค์เฮฮาเกิดความโน้มเอียงในทัศนคติ เป็นหลักสูตรแรกที่ควรล้มเลิกเป็นอันดับแรก
ไล่เลียงข้อมูลแล้ว พอจะได้เห็นภาพของ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้อย่างกว้างขวาง แต่ฉากหน้าของคนที่เรียกว่าชนชั้นนำ มีหน้าที่และความรับผิดชอบหาทางออกให้กับสังคม พร้อมแก้ไขปัญหาระดับชาติ แต่ดูเหมือนข้างในจะกลวงและฟอนเฟะอยู่มิใช่น้อย
http://isranews.org/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99/58-2012-08-12-13-59-01/6070-2012-03-27-08-01-11.html
จากคุณ |
:
Sgt.Oat
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ก.ย. 55 23:29:33
|
|
|
|
 |