คงไม่สามารถใช้ได้ตรงๆตามตารางนี้ เพราะหาเครื่องพิมพ์ดีดหรือfontแบบนี้ยาก ลองไปดูในพจนานุกรมของ Mary R. Haas หรือหนังสือภาษาไทยของเอยูเอที่ประยุกต์ใช้อักษรภาษาอังกฤษมาใช้ในระบบเสียงภาษาไทย โดยให้ใกล้เคียงกับตารางของI.P.A. มากที่สุด
แต่ประเด็นหลักๆ ที่ผมอยากรู้ก็คือลักษณะเสียงสระของภาษาไทยในกรณีที่เป็นสภาวะโดดๆ จะได้ดู nature ของตัวเสียงชัดๆ ว่ามันมีความสั้น-ยาวอยู่จริงหรือไม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการออกเสียงคำไทยนั้นประกอบไปด้วย C V และ T เสมอ การที่จะมาวิเคราะห็แค่หน่วย V อย่างเดียวบางที่ก็อาจไม่แสดงความเป็นระบบเสียงภาษาไทยที่แท้จริงออกมา
ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณแม่ทัพน้อยในกรณีที่นำเอา Tonal rules มาวิเคราะห์ร่วมกับเสียงสระ แต่ก็ไม่ค่อยสู้จะเห็นด้วยในเรื่องของการเรียกชื่อสระแบบของคุณ หรือในเรื่อง Toneme ที่เคยเอ่ยมานานแล้วเต็ม ๆ นัก เพราะยังไงดูๆ ไปเงื่อนไขของเสียงมันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ T แต่อย่างเดียว แต่มันมากันเป็นสภาวะรวมของทั้ง C V แล้วก็ T แต่ถ้าจะเรียกชื่อสระ ก็น่าจะต้องดูที่ตัวสระโดดๆ มากกว่า