Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009....เสียชีวิตจากการรักษาช้าจริงหรือ ??? ... ศจ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  

http://www.thairath.co.th/today/view/23303


ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009....เสียชีวิตจากการรักษาช้าจริงหรือ?


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ไวรัสสัตว์สู่คน เปิดประเด็นสงสัย



ประกาศ ของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ระบุว่า ผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลล่าช้า... หลังป่วยแล้วถึง 6 วัน ทำให้การให้ยาต้านไวรัสไม่ได้ผลดี

คุณ หมอธีระวัฒน์ บอกว่า คณะอนุกรรมการวิชาการ ที่ ศ.นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้ทักท้วงและขอให้มีการนำเสนอว่า...การรักษาดังกล่าวแท้จริงแล้วอาจจะมี ความสมเหตุสมผล

"ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวในระยะแรก เช่น วันที่หนึ่ง...สอง...สาม อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ไข้ไม่สูง หรือลดลงได้เมื่อกินพาราเซตามอล"

ไม่มีอาการเหนื่อยหรือเพลีย กินอาหารได้ เดินหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งเริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 หรือ 5

การ รักษาคือการให้ ยาโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เริ่มให้ในวันที่ 5 และ 6 ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม...และเป็นการให้ยารักษาภายใน 1-2 วัน  หลังจากอาการรุนแรงขึ้น โดยสำนักระบาดวิทยาจะต้องแจ้งให้อนุกรรมการวิชาการทราบโดยละเอียด

ถ้ากระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ยารักษาผู้ป่วยทุกรายหลังจากเริ่มมีอาการแรก เช่น จาม ไอ ไข้ เล็กน้อย...ภายใน 2 วัน ทั้งหมด

หมายความว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องรักษาคนที่มีอาการหวัด

ทุกประเภท ไปทั้งหมด เพราะไม่สามารถรอตรวจว่าเป็นไข้หวัดชนิดใดได้

ซึ่งอาจมีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 เพียงส่วนหนึ่ง...ไม่ใช่สัดส่วนที่มากเท่าที่คิด

โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในต่างจังหวัดขณะนี้ คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า ไม่ได้หนาแน่นเท่ากรุงเทพฯ

นโยบาย นี้...เท่ากับว่า แต่ละเดือนอาจมีคนไข้เป็นหวัดไปพบแพทย์ ที่คลินิก ได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ คนละ 10 แคปซูล (วันละสองแคปซูล นาน 5 วัน) เป็นหมื่น...เป็นแสนคน

และแต่ละคน อาจกลับมาเป็นหวัดซ้ำอีกในอีก 2-4 สัปดาห์ต่อมา ก็ต้องได้รับยาอีกใช่หรือไม่?

คุณ หมอธีระวัฒน์ ย้ำว่า ถ้าเรายังไม่สามารถบอกได้ภายใน 3-4 ชั่วโมง หลังจากผู้ป่วยมาตรวจว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือไม่ และตัดสินใจว่าจะให้ยาได้อย่างเหมาะสม ก็จำต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลจากอาการทางคลินิก

เริ่มตั้งแต่... อาการขณะนั้นดำเนินจากอาการน้อย...เป็นเริ่มรุนแรงขึ้น มีไข้ 38 องศา...จากเดิมที่เคยดีขึ้นเมื่อกินพาราเซตามอล กลับไม่มีผล

และยัง มีอาการหนึ่งใน 5 ประการหรือไม่ ได้แก่ ปวดเมื่อยเนื้อตัวจนแทบไม่อยากเคลื่อนไหว, ปวดหัวพาราเอาไม่อยู่, เหนื่อยเพลียจนไม่อยากลุก, เบื่ออาหารของชอบอยู่ตรงหน้าก็ไม่อยากกิน, คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียบ่อยครั้งขึ้น

"หากร่วมกับอาการไอจนเหนื่อย หรือจนเจ็บหน้าอกเฉพาะที่ ยิ่งเป็นสัญญาณว่าต้องได้รับการรักษาด้วยยาโดยเร็ว"

นี่คือการรักษาที่สมเหตุสมผลที่สุด ตามสภาพข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้... ในบริบทของประเทศไทย

แม้ ว่า ทุกคนจะอุ่นใจว่ามีหลักประกัน...เป็นหวัดจะได้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ 2009 เร็วภายในสองวัน แต่ต้องไม่ลืมว่ายังมีคนที่เป็นหวัด...ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล กี่หมื่นราย ที่มีอาการ...แต่ไม่รุนแรง

ผู้ป่วยเหล่านี้ หายเองภายใน 3-4 วัน โดยไม่ต้องใช้ยารักษาใดๆ นอกจากพารา คลอเฟน (chlorpheniramine) และไม่ควรได้ยาไข้หวัดใหญ่ 2009

เป็นเหตุผล...ที่มีคำแนะนำให้นอนพักอยู่กับบ้าน  สังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลง

ประเด็นน่าสนใจ...ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าการใช้ยาต้องระมัดระวัง และรัดกุม...เพื่อระวังการดื้อยา
แต่ การกระจายยาให้คลินิกทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่าจะได้ยาเร็วๆ...ทั้งที่กลุ่มป่วยเหล่านี้ ไม่ได้เป็น และอาจเข้าใจว่าต้องได้ยาทันทีที่มีอาการหวัด

ผลที่ตาม มา...คุณหมอทั่วประเทศจะกล้าปฏิเสธการสั่งยาให้ผู้ป่วยหรือ แม้ในร้อยคน...พันคนที่เป็นหวัดมาหา อาจมีแค่รายหนึ่งที่อาการรุนแรงหนักขึ้น... เกิดเสียชีวิต ก็คงต้องถูกฟ้องร้องแน่

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า การดำเนินการดังกล่าว อาจไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ตามคาด เพราะอีกพุธถัดมา และถัดมาที่ประกาศผู้เสียชีวิตด้วยอัตราที่คงเดิม

หรือกลับมากขึ้น...ก็จะต้องหาเหตุมาอธิบายกันอีก และจะแก้ด้วยวิธีใดกันต่อดี?



ประเด็น การดื้อยา  การแพร่ของเชื้อดื้อยาที่บอกว่า...บ้านเราไม่มี  ทั้งๆที่ไม่เคยติดตามผล จะมีโอกาสพบได้เร็วขึ้นหรือไม่ คือแขนงปัญหาใหม่ ที่น่าสนใจ

นับรวมไปถึงอาการข้างเคียง...การแพ้ยา เมื่อใช้กันมากขึ้นมหาศาล ก็มีโอกาสพบได้ ผลเหล่านี้จะมีการรองรับอย่างไร มีใครนึกถึงหรือยัง?

ประการ ต่อมา ถ้าผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ใหม่ได้รับยาอย่างสมเหตุสมผล... ไม่ช้า  แต่ก็ยังเสียชีวิต  ก็ต้องหันมาพิจารณาปัจจัยอื่นๆ  ไม่ว่าเรื่องเชื้อในผู้เสียชีวิต มีความผิดปกติไปจากเชื้อทั่วไป หรือไม่...อย่างไร

"เชื้อดื้อยาหรือไม่? คุณภาพยาที่ผลิต? กระบวนการประกันคุณภาพเป็นไปอย่างเหมาะสมอย่างไรบ้าง..."

แต่ ถ้า...ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทั้งหมด เกิดจากการรักษาช้าจริง สิ่งที่ต้องปฏิบัติแรกสุดคือ ให้ความรู้ ให้รับทราบปัญหา สถานการณ์ที่ชัดแก่ประชาชนและแพทย์

"สร้างความเข้าใจ  ให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อป่วยและไม่ป่วย...ที่ชัดเจนอีก โดยไม่ตกใจกับตัวเลขการตาย เพราะคาดการณ์ไว้แล้ว"

คุณหมอธีระวัฒน์ บอกว่า การรู้...ไม่ได้ทำให้กลัวเสมอไป การรู้... ทำให้ตระหนักและปฏิบัติตามมากขึ้น

ที่สำคัญ...ให้แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมแก่แพทย์  พยาบาลโดยด่วน ไม่ใช่ให้แพทย์ที่ปกติ ก็รักษาหวัดธรรมดามาช้านาน และหวัดก็คือหวัด

" เวลาในชีวิตประจำวันที่มักหมดไปกับภาระต่างๆ มากมาย รวมทั้งคนเป็นหวัดที่ไปขอตรวจมากขึ้น ต้องตามข่าวการแถลงของกระทรวง รัฐมนตรี หาแนวทางปฏิบัติเอาจากสื่อต่างๆ ที่ปราศจากรายละเอียดทางการแพทย์



หรือ ต้องรู้เองว่า ต้องหาเอาจากการเข้าเว็บของกระทรวง ทั้งๆที่เกิดมา ไม่เคยเข้า และเหมาเอาว่า...ใครไม่รู้ว่ากระทรวงประกาศเรื่องราวใดไปแล้ว... น่ะมันแย่"

ถ้า ทั้งแพทย์ ประชาชน เข้าใจสถานการณ์ สิ่งที่ควรปฏิบัติตรงกัน หากเคราะห์ร้ายโรคไข้หวัด 2009 รุนแรงมากขึ้น จนโรงพยาบาลรับมือไม่ไหว

ถึงวันนั้น...จึงจะถึงเวลาที่แพทย์คลินิกต่างๆ  จะต้องเข้าช่วยในการเริ่มรักษาอย่างรับทราบแนวทางการปฏิบัติทางการแพทย์อย่างดีมาแล้ว

ความ จริงที่ต้องเน้นย้ำ...ควรเน้นแนวปฏิบัติในการคัดกรอง ให้คำแนะนำการปฏิบัติสังเกตอาการกับคนเป็นหวัดอาการน้อยๆ ที่จะดูแลตัวเอง...รับรู้ว่าอาการอย่างนี้ส่งตัวเองไปโรงพยาบาลได้แล้ว และมีการส่งต่อที่ดี

จุดที่คนเป็นหวัดส่วนใหญ่ไปแสวงหาการรักษา บำบัดอาการโดยปกติของชีวิตก่อนการระบาดนี้ คือคลินิกทั้งหลายและสถานีอนามัย...หน่วยบริการปฐมภูมิ

"และไม่อยาก ให้ลืมว่า...คนไทยชอบไปซื้อพารา คลอเฟน รักษาตัวเองจากร้านยาที่ไม่รู้มีเภสัชกรหรือเปล่า เพื่อความเร็ว สะดวก ถูก...มาตลอดชีวิต จุดที่คนไปก่อนเหล่านี้ ต้องได้รับความรู้เพื่อร่วมช่วยด้วยเช่นกัน"

ประเทศไทยพลาดโอกาสทอง มานานเกือบสามเดือน ตั้งแต่เริ่มมีผู้ป่วยรายแรกที่กระทรวงสาธารณสุขให้ข่าวว่า ไข้หวัดพันธุ์นี้ไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา...หายเองได้

ทำให้พลาด โอกาสเตรียมการให้ความรู้ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ล่วงหน้า...และเมื่อเกิดมีผู้เสียชีวิตก็พยายามชี้ว่า การตายในคนอายุน้อย วัยทำงานนั้นเป็นเพราะมีโรคประจำตัว



ท้ายที่สุด...ก็ต้องยอมรับว่า ใน 65 ราย...มี 24 ราย ที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และไม่มีโรคประจำตัว

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ทิ้งท้ายว่า เมื่อไหร่ สาธารณสุขประเทศไทยจะหยุดใช้นักการเมือง...ข้าราชการการเมืองสอนวิชาแพทย์ เสียที จะได้ไม่มีแพทย์ หรือนักวิชาการมาเที่ยวยุ่งเสนอนั่นนี่ ไม่ตรงกับท่านให้น่ารำคาญ...

 
 

จากคุณ : หมอหมู
เขียนเมื่อ : 2 ส.ค. 52 16:15:14




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com