 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
การคำนวณความยาวนาน อสงไขย และ กัปล์
--------------------------------------------------------------------------------
อสงไขย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อสงไขย คือ การบอกจำนวนหรือปริมาณทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นหน่วยของอะไร, เช่น หากใช้ระบุปริมาณเมล็ดถั่ว ก็ใช้ว่า มีถั่วเป็นจำนวน 1 อสงไขยเมล็ด เป็นต้น. แต่ในพระพุทธศาสนามักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป. อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่มีการกำหนดที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง 3 ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือจำนวนเม็ดฝน 1 อสงไขย. อนึ่ง คำว่า อสงไขย นั้น มาจากภาษาบาลี ว่า อ + สงฺเขยฺย (สันสกฤต : อ + สํขฺย) หมายถึง นับไม่ได้ หรือนับไม่ถ้วน นั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542ระบุจำนวน ของอสงไขย ไว้ว่า เท่ากับ โกฏิ ยกกำลัง 20
การคำนวณความยาวนาน
สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตรจะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1600X2,000,000 = 3,200,000,000) เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ (กว้าง x ยาว x สูง) ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ (3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด) ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 =3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10 ยกกำลัง 30 ปี 1 อสงไขยมีกี่ปีนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10 ยกกำลัง140 ปี วิธีนับอสงไขย
การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้ สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย จำนวนอสงไขย
อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ นันทอสงไขย สุนันทอสงไขย ปฐวีอสงไขย มัณฑอสงไขย ธรณีอสงไขย สาครอสงไขย บุณฑริกอสงไขย อ้างอิง
พระคัมภรีอนาคตวงศ์ , ประภาส สุระเสน, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์,พ.ศ. 2540, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ISBN 974-580-742-7
จากคุณ |
:
เจตบุตร
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.ย. 53 18:01:26
|
|
|
|
 |