เรื่องนี้มีทั้ง "พระวินัย" และ "จารีตของแต่ละที่"
หามาที่เชียงใหม่ พระไม่ให้พร
โยมจะงง และทวง "พร" ทันทีครับ
ขอนำเสนอเรื่องอื่น อันเป็นความจริงที่ควรนำมามองกัน
อันนอกเหนือจากพระวินัยนะครับ
(แม้ว่า จะดูขัดกับพระวินัย ในบางข้อ)
1. พระควรดูเรื่องเสียงให้พรด้วยว่า
"ดังไป" หรือไม่
เคยได้ยินมาว่า คนในหมู่บ้านตะโกนบอกพระ
เรื่องให้พรเสียงดังในเวลาเช้าตรู่
2. พระหากจะให้พร
ขอให้ระลึกว่า เป็นการ "ขอบคุณ" และ "อนุโมทนา (ชื่นชนยินดี)"
สำหรับ การทำความดีของโยมที่ใส่บาตร มากกว่า
มองว่าตัวท่านเอง "เป็นผู้วิเศษ" ที่จะให้พร ให้ความขลัง
ให้ความศักดิ์สิทธิ์กับใครเค้าได้ ไม่งั้นความวิปริตผิดเพี้ยน
ก็จะบังเกิดขึ้นทั้ง โยมที่รับพร และ พระที่หลงไปในวิถีภาวนา
3. ให้พรสั้นหรือยาว ดูคนใส่ด้วยนะครับ
หากคนรับพร เป็นคนแก่ นั่งยองๆ หรือนั่งคุกเข่า
เคยสังเกตไหมว่า โยมเค้าขาสั่น พั่บๆ เลย
นั่นเป็นสิ่งที่พระท่านต้องดูด้วยว่า จะเลือกเช่นไร
หากเลือกโยม ก็ให้พรสั้นๆ เพื่อได้ไม่ต้องให้โยมลำบาก
แต่หากเจอพระที่เชียงใหม่ บางองค์จะร่ายพร ตั้งแต่
บาลี จนเป็นภาษาไทย เรียกว่ารับพรครั้งเดียวคุ้ม
(นานประมาณ1-2 นาที ได้ : )
ธรรมชาติของ โยมจะเข้าใจว่า การนั่งรับพร
คือ การแสดงออกซึ่งความเคารพ ต่อพระ
นี่คือ สิ่งที่พระต้องคิดว่า "จะทำเช่นไร"
ให้ถูกวินัย และไม่ขัดต่อ ศรัทธาของโยม
