 |
๑.ทำบุญงานมงคล ทำบุญงานมงคล หมายถึง การทำบุญเพื่อความเจริญโดยปรารภเหตุที่ดี ไม่เป็นมูลเหตุมาจากสิ่งชั่วร้าย งานทำบุญงานมงคล เช่น งานทำบุญวันเกิด งานทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ระเบียบพิธี ฝ่ายทากทายิกา หรือฝ่ายเจ้าภาพ กิจที่ควรทำก่อน เบื้องต้นต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อน ดังนี้
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
๔.วงด้ายสายสิญจน์ (หาซื้อได้ที่ร้านสังฆภัณพ์ทั่วไป)
๕.อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ (ปูทางซ้ายมือพระพุทธรูป)
๗.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ (ในที่หมายถึงพวกน้ำปานะ กาแฟ น้ำส้ม โอวัลติน ซึ่งแล้วแต่เจ้าภาพ)
๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ( ตั้งแต่อันดับที่ ๑ - ๘ นี้ สนามหลวง พ.ศ.๒๕๑๖เรียกว่า “กิจที่ควรทำก่อน” ซึ่งจะต้องตระเตรียม)
๙.ตระ เตรียมวัตถุไทยธรรมและอาคารคาวหวานที่สมควรเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ที่เจ้าภาพได้อาราธนานิมนต์ไว้มาถึงสถานที่จัดงานไว้ตามเวลาที่ กำหนดแล้ว
ฝ่ายเจ้าภาพจะต้องปฏิบัติกรณียกิจ คือ
๑.คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย (เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยทำแล้ว เพราะพระท่านใส่รองเท้า)
๒.ประเคนเครื่องรับรองที่จดเตรียมไว้ (น้ำปานะ)
๓.เมื่อได้เวลาแล้ว จุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา บูชาพระแล้วกราบนมัสการ ๓ ครั้ง
๔.อาราธนาศีล และรับศีล (คำอาราธนาศีลดูในหนังสือสวดมนต์ ถ้าไม่มีก็หาในเว็บนี่แหละ)
๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
๖.นั่ง ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้วถวายน้ำร้อยหรือเครื่องดื่มอันสมควรแก่สมณะแล้วแต่จะจัด อนึ่ง ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ โดยมีการเจริญพระพุทธมนต์กับฉัน (งานวันเดียว) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม
ในเบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่าง ๆ ที่ควรทำก่อนดังนี้
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
๒.ตระเตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
๔.วงด้ายสายสิญจน์
๕.ต่อจากรับศีลก็อาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
๖.นั่ง ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อจบแล้ว เตรียมยกภัตตาหารมาตั้งไว้ พร้อมแล้วประเคนให้พระฉันได้ทันที สุดท้ายพิธี เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ก็ถวายไทยธรรม ต่อจากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา พอพระว่าบท ยถา……… ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบทว่า ยถา… และเมื่อพระสงฆ์รับว่า สัพพีติโย…………. พร้อมกัน พึงประนมมือรับพรตลอดจนจบ แล้วส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี
.............
๑.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมจำนวนคี่ คือ ๕ - ๗ - ๙ รูป, ส่วนงานแต่งงานนิยมจำนวนคู่ คือ ๘ รูป, พิธีหลวงนิยมนิมนต์จำนวนคู่ คือ ๑๐ รูป เป็นต้น
๒.ตระ เตียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ควรใช้โต๊ะหมู่ ๕ - ๗ - ๙ ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้โต๊ะอื่นที่สมควรก็ได้ ควรปูผ้าขาว หรือผ้าสีที่สะอาดยังไม่เคยใช้เลยเป็นดีที่สุด อย่าเอาผ้าที่นุ่งห่มหรือมช้แล้วปูโต๊ะเป็นอันขาด, ของบนโต๊ะบูชามี พระพุทธรูป ๑, กระถางธูป ๑, เชิงเทียน ๒, แจกันดอกไม้สด ๒, จเพิ่มอะไรที่สมควรให้มากกว่านี้ก็ได้, การ ตั้งพระพุทธรูปควรตั้งให้อยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเดียวกันกับพระสงฆ์ แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็จัดตามความเหมาะสม
๓.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี สถานที่ต้องให้สะอาด เรียบร้อย สวยงาม เป็นสิริมงคล ๔.วง ด้ายสายสิญจน์ สิญจน์ แปลว่า รดน้ำ สายสิญจน์คือ สายด้ายดิบ จับให้เป็น ๓ เส้นแล้วจับอีกครั้งให้เป็น ๙ เส้น ,การวงด้ายสายสิญจน์ ควรโยงมาจากฐานพระพุทธรูป วนขวารอบฐานพระพุทธรูป โยงมาที่บาตรหรือภาชนะน้ำมนต์ วนขวาที่ภาชนะน้ำมนต์ วางไว้บนพาน ตั้งใกล้อาสนะพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี และไม่ควรข้ามด้ายสายสิญจน์
๕.อัญเชิญ พระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา ควรสรงน้ำพระพุทธรูปให้หมดฝุ่นมลทินที่อาจติดอยู่ เสร็จแล้วก็อัญเชิญขึ้นตั้งประดิษฐานบนที่บูชาที่เตรียมไว้ แล้วกราบ ๓ ครั้ง
๖.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ จะยกพื้นให้สูงขึ้นขนาดเก้าอี้หรือไม่ยกพื้นเพียงแต่ปูเสื่อ ปูผ้าขาว แล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้ารองนั่งสำหรับพระ) แล้วแต่ความเหมาะสม, ต้องให้ที่พระนั่งสูงกว่าที่นั่งของคฤหัสถ์ ถ้าเสมอกันต้องแยก อย่าให้ติดกัน ๗.เตรียมเครื่อง รับรองพระสงฆ์ตามสมควรแก่ฐานะ คือ หมาก พลู บุหรี่ น้ำเย็น น้ำร้อน และกระโถน วางไว้ด้านขวามือของพระทุกรูป (พานหมาก พลู บุหรี่ กระโถน วางระหว่างกลางพระ ๒ รู) ต่อ ๑ ชุดก็ได้) การวาง ให้วางกระโถนไว้ข้างในสุด ถัดออกมาภาชนะน้ำเย็น, ถัดออกมา พานหมาก พลู บุหรี่, สว่น น้ำร้อน นั้นควรจัดประเคนในภายหลัง
๘.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ใช้หม้อน้ำมนต์ที่มีฝาครอบ (เรียกว่า ครอบน้ำมนต์) บาตร หรือขันทองเหลือง (เว้นขันเงิน ขันทองคำ) มีพานรอง, น้ำที่ใช้ทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ได้มาจากดิน (ไม่นิยมใช้น้ำฝน) ใส่ประมาณค่อนภาชนะ เทียนน้ำมนต์นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก ๑ บาทเป็นอย่างต่ำ ตั้งเตรียมไว้หน้าโต๊ะบูชา เยื้องมาให้ใกล้พระสงฆ์รูปที่ ๑
๙.การจุดธูปเทียนเมื่อเริ่มพิธี เจ้าภาพควรจุดธูปเทียนเอง โดยใช้เทียนชะนานในการจุด (ไม่ควรใช้ไฟจากตะเกียงหรือจากที่อื่น) ตั้งใจบูชาพระ, อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร , พอพระสวดถึงบทมงคลสูตร โดยเริ่มสวดว่า “อะเสวะนา จะ พาลานัง….” เป็นต้น เจ้าภาพควรจุดเทียนที่ภาชนะน้ำมนต์ น้ำยกประเคนพระรูปที่ ๑ (ประธานสงฆ์ในที่นั้น)
๑๐.ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระ ถ้าสวดและฉันเช้าหรือเพลด้วย หากมีการตักบาตร พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง……” ก็เริ่มตักบาตร เสร็จแล้วยกบาตรและภัตตาหารมาวางไว้ใกล้พระ พอพระสวดจบก็ประเคนให้พระฉันได้ทันที, ถ้าเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดตอนเย็น แล้วเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้น ก็ต้องเตรียมเครื่องรับรองพระเหมือนตอนสวดมนต์เย็น, อาราธนาศีล-รับศีล ไม่ต้องอาราธนาพระปริตร (บางแห่งก่อนที่พระจะสวดต้องการมีอาราธนาบาตรก่อน) พอพระสวดถวายพรพระ โดยพระท่านจะสวดถวายพรพระตามลำดับ คือ “ นะโม…., อิติปิโส ภะคะวา…..., พาหุง……” พอพระสวดถึงบทว่า “พาหุง…….” ก็เริ่มตักบาตร
๑๑.สุดท้ายพอพระฉันเสร็จ เจ้าภาพถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนาเริ่มบทว่า “ยถา วาริวหา…….” เจ้าภาพพึงกรวดน้ำ เมื่อพระสงฆ์รับพร้อม ๆ กันว่า “สัพพีติโย…… ” พึงประนมมือรับพรไปจนจบ แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง และส่งพระกลับ เป็นเสร็จพิธี การถวายข้าวพระพุทธ ในพิธีทำบุญเลี้ยงพระ นิยมถวายข้าวพระพุทธ คือ จัดอาหารทุกอย่างเหมือนกับที่ถวายพระสงฆ์ (ไม่ควรจัดเป็นชุดเล็ก ๆ เหมือนกับที่จัดอาหารเซ่นผี) เสร็จแล้วพึงวางไว้บนโต๊ะหรือบนผ้าขาวที่สะอาดหน้าโต๊ะหมู่บูชา จุดธูป ๓ ดอกในกระถางธูปหน้าพระพุทธรูป นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำนมัสการว่า “นะโม ตัสสะ….” ว่า ๓ จบ เสร็จแล้วกล่าว
คำถวายข้าวพระพุทธว่า อิ มัง สูปะพะยัญชนะสัมปันนัง สีลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ. และเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพ พิธีกร หรือผู้อื่นก็ได้ พึงกราบพรพุทธรูป ๓ ครั้ง แล้วประนมมือกล่าวคำลาข้าวพระพุทธว่า เสสัง มังคะลา ยาจามิ หรือจะกล่าวว่า เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ก็ได้ เสร็จแล้วกราบ ๓ ครั้ง และยกภาชนะข้าวพระพุทธออกไป
http://www.thaidhammajak.com/webboard/detail2.php?question_id=11233
แก้ไขเมื่อ 17 ธ.ค. 53 06:05:41
จากคุณ |
:
ไกลมาก
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ธ.ค. 53 05:58:11
|
|
|
|
 |