 |
เอ้าาา ..ซ้ำอีกที...
ตัวรู้ หรือผู้รู้ ก็คือตัวจิต(หรือวิญญาณ) ... ซึ่งมันจะสร้างอาการออกไปรู้เรื่องหรือรู้อารมณ์ต่างๆ ทางอายตนะทั้ง ๖ ... อาการของตัวรู้ เรียกว่า เจตสิก มี ๕๒ ประเภท แบ่งเป็นอาการที่ดี หรือเจตสิกที่ดีเรียกว่า โสภณเจตสิก ๒๕ ตัว , เป็นอาการที่ไม่ดีหรือเรียกว่า อกุศลเจตสิก ๑๔ ตัว , เป็นอาการกลางๆหรือเรียกว่าอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ตัว
สติ เป็นอาการหนึ่งของจิตหรือตัวรู้ เรียกว่า สติเจตสิก สติไม่ใช่เป็นตัวรู้หรือเป็นจิต เพราะบางครั้งสติไม่มีแต่จิตหรือตัวรู้ยังมี
...........................................................
เจตสิกหรืออาการของจิต(หรืออาการของตัวรู้) ทั้ง ๕๒ ตัวนั้น มีอะไรบ้าง ดูจากลิ้งค์ข้างล่างนี้
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=406.0
หรือได้แก่
เจตสิก ๕๒ - อาการและคุณสมบัติต่างๆของจิต หรือก็คือกลุ่มอาการของจิต ท่านได้แบ่งออกเป็น ๕๒ ชนิด อันนอกจากเวทนาและสัญญาแล้วต่างก็ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ชนิดจิตตสังขาร(มโนสังขาร)อีกด้วย, เจตสิก๕๒ ได้แก่ ๑.ผัสสะ- ความกระทบอารมณ์ ๒.เวทนา - ความเสวยอารมณ์ ๓.สัญญา - ความหมายรู้อารมณ์ ๔.เจตนา - ความจงใจต่ออารมณ์ ๕.เอกัคคตา- ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ๖.ชีวิตินทรีย์ - อินทรีย์คือชีวิต,สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง ๗.มนสิการ - ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ,ใส่ใจ (.....๗ ตัวนี้ เรียกว่า สัพพสาธารณเจตสิก....) ๘.วิตก- ความตรึกอารมณ์ ๙.วิจาร- ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ ๑๐.อธิโมกข์- ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ ๑๑.วิริยะ- ความเพียร ๑๒.ปีติ- ความปลาบปลื้มในอารมณ์,ความอิ่มใจ ๑๓.ฉันทะ- ความพอใจในอารมณ์ (......ทั้ง ๑๓ ตัวนี้ เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก....) ๑๔.โมหะ- ความหลง ๑๕.อหิริกะ - ความไม่ละอายต่อบาป ๑๖.อโนตตัปปะ - ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป ๑๗.อุทธัจจะ- ความฟุ้งซ่าน ๑๘.โลภะ- ความอยากได้อารมณ์ ๑๙.ทิฎฐิ- ความเห็นผิด ๒๐.มานะ - ความถือตัว ๒๑.โทสะ- ความคิดประทุษร้าย ๒๒.อิสสา - ความริษยา ๒๓.มัจฉริยะ - ความตระหนี่ ๒๔.กุกกุจจะ- ความเดือดร้อนใจ ๒๕.ถีนะ- ความหดหู่ ๒๖.มิทธะ- ความง่วงเหงา ๒๗.วิจิกิจฉา- ความคลางแคลงสงสัย (...... ๑๔ ตัวนี้เรียก อกุศลเจตสิก ๑๔ คือกิเลสที่ชาวพุทธเราต้องหาทางขจัดให้หมด) ๒๘.สัธทา(ศรัทธา)- ความเชื่อ ๒๙.สติ- ความระลึกได้,ความสำนึกพร้อมอยู่ ๓๐.หิริ - ความละอายต่อบาป ๓๑.โอตตัปปะ - ความสะดุ้งกลัวต่อบาป ๓๒.อโลภะ - ความไม่อยากได้อารมณ์ ๓๓.อโหสิ - อโทสะ - ความไม่คิดประทุษร้าย ๓๔.ตัตรมัชฌัตตตาหรืออุเบกขา- ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ๓๕.กายปัสสัทธิ- ความสงบแห่งกองเจตสิก ๓๖.จิตตปัสสัทธิ- ความสงบแห่งจิต ๓๗.กายลหุตา - ความเบากองเจตสิก ๓๘.จิตตลหุตา - ความเบาแห่งจิต ๓๙.กายมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกายหรือกองเจตสิก ๔๐.จิตตมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต ๔๑.กายกัมมัญญตา - ความควรแก่การใช้งานแห่งกายหรือกองแห่งเจตสิก ๔๒.จิตตกัมมัญญตา - ความควรแก่การใช้งานแห่งจิต ๔๓.กายปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก ๔๔.จิตตปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งจิต ๔๕.กายุชุกตา - ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก ๔๖.จิตตุชุกตา - ความซื่อตรงแห่งจิต ๔๗.สัมมาวาจา- เจรจาชอบ ๔๘.สัมมากัมมันตะ- กระทำชอบ ๔๙.สัมมาอาชีวะ- เลี้ยงชีพชอบ ๕๐.กรุณา- ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ ๕๑.มุทิตา- ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข ๕๒.ปัญญินทรีย์หรืออโมหะ - ความรู้เข้าใจ,ไม่หลง. ทั้ง๕๒นี้ ยกเว้นเพียงเวทนาและสัญญาแล้ว ที่เหลือทั้ง๕๐ ล้วนจัดเป็นสังขารขันธ์ชนิดมโนสังขารหรือจิตตสังขารด้วย
(....ทั้ง ๒๕ ตัวนี้ เรียกว่า โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ควรเจริญให้มากๆ....)
ว่างๆก็ท่องๆจำไว้บ้าง มีแค่ ๕๒ ตัว แค่นั้น ต่อไปจะได้ไม่งงอีก
.............................................................
ตัวรู้คือตัวจิต และ อาการของมันคือเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น จะเกิดก็เกิดพร้อมกัน จะดับก็ดับพร้อมกัน รับอารมณ์เดียวกันพร้อมกันในขณะเดียวกัน .... ลองนึกภาพปลาหมึกที่มีหนวด ๕๒ เส้น ยื่นออกไปสัมผัสรับรู้อะไรต่างๆ
แก้ไขเมื่อ 10 เม.ย. 54 01:10:30
จากคุณ |
:
ศิษย์พระป่า
|
เขียนเมื่อ |
:
10 เม.ย. 54 00:13:31
|
|
|
|
 |