Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
พระวินัยปิฎก๒เล่มแรก ก็คือ ปาฏิโมกข์ ๒๒๗นี่เอง - เมื่อคืนผมนั่งไล่ดูอย่างละเอียดสรุปได้ว่า{แตกประเด็นจาก Y10662595} ติดต่อทีมงาน

สำหรับในกระทู้นี้ที่แตกประเด็นออกมาเป็นพิเศษนี้

มีเจตนาจะให้ชาวพุทธที่สนใจ ได้รับรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับ
พระไตรปิฎกสองเล่มแรก หรือ พระวินัยปิฎกสองเล่มแรก
ที่ชื่อว่า "มหาวิภังค์" เล่ม ๑ เล่ม ๒

ซึ่ง เมื่อวานนี้ผมได้ใช้เวลาหลายชั่วโมง ลองเปิดไล่ดูคร่าวๆทั้งหมด
ก็ปรากฏว่า นับเป็นสิกขาบทปาฏิโมกข์ได้ ๒๒๗ ข้อ

จะขอนำมาลงให้เห็นได้อย่างชัดๆ แยกออกมาในกระทู้นี้อีกทีนะครับ

------------------------------------------------------------------------

(ผมใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเขียนข้อความต่อไปนี้
อยากให้ลองพิจารณาดูนะครับ)



ผมจะลองเรียบเรียง ปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒๗ ข้อให้ดูเป็นลำดับชัดๆนะครับ

และจะแสดงให้เห็นว่า อนิยตะ ๒ และ เสขิยะ ๗๕ นั้น
เป็นพุทธบัญญติที่ทรงให้ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
และสิกขาบทเหล่านี้เป็นสิกขาบทที่มาสู่อุเทศทั้งนั้น

โดยจะเรียงลำดับ ปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒๗
ตามที่แสดงอยู่ครบถ้วนในพระไตรปิฎกสองเล่มแรกนะครับ




พระวินัยปิฎกนั้นแบ่งออกเป็น ๘ เล่ม

เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ และอนิยตสิกขาบท ๒
(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)

เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ ไล่ไปตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐, ปาจิตตีย์ ๙๒, ปาฏิเทสนียะ ๔, เสขิยะ ๗๕

เมื่อนับรวม สิกขาบท จาก พระวินัยปิฎกสองเล่มแรกนี้ ก็จะรวมกันได้ สิกขาบท ปาฏิโมกข์พอดี ๒๒๗ ข้อ

บวกรวมกันง่ายๆดังนี้คือ
4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227



ลำดับต่อไป
โดยผมจะยกหลักฐาน จาก พระไตรปิฎกมาแสดงเป็นหมวดๆ ดังต่อไปนี้นะครับ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปาราชิกกัณฑ์ (ปาราชิก ๔)


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
๑. ก็ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/20
๒. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ...
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/83
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต ..
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/179
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ..
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/231


สังฆาทิเสส ๑๓

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๕. ๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/301-305
v
๑๗. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอาศัยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เป็นผู้ประทุษร้ายสกุล
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/621-625


อนิยต ๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๙. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง...
๑๙. ๒. อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม...
http://www.84000.org/tipitaka/read/?1/631-650




--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒
มหาวิภังค์ ภาค ๒
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๒๐.๑. อนึ่ง ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=0&Z=155
v
๔๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=4428&Z=4554


ปาจิตตีย์ ๙๒
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๕๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชามุสาวาท.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=4576&Z=4905
v
๑๔๑. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวร หรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์.....
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=14722&Z=14765



ปาฏิเทสนียะ ๔
ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๔๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน จากมือของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ.....
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=14785&Z=14864
v
๑๔๕. ๔. ก. อนึ่ง ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะป่า ที่รู้กันว่าเป็นที่มีรังเกียจมีภัยเฉพาะหน้า รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันเขาไม่ได้บอกให้รู้ไว้ก่อน ด้วยมือของตน.....
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=15053&Z=15158




๔. เสขิยกัณฑ์ (เสขิยะ 75)

ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมคือ เสขิยะเหล่านี้แล มาสู่อุเทส.

วรรคที่ ๑ ปริมัณฑลวรรค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
๑๔๖. ๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล.
๑๔๗. ๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักห่มเป็นปริมณฑล.
๑๔๘. ๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี ไปในละแวกบ้าน
๑๔๙. ๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายดี นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๐. ๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน.
๑๕๑. ๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักสำรวมดี นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๒. ๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง ไปในละแวกบ้าน.
๑๕๓. ๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีตาทอดลง นั่งในละแวกบ้าน.
๑๕๔. ๙. ภิกษุทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า.
๑๕๕. ๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน ด้วยทั้งเวิกผ้า.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15168&Z=15317&pagebreak=0

วรรคที่ ๒ อุชชัคฆิกวรรค
๑๕๖. ๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
๑๕๗. ๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้าน. ด้วยทั้งความหัวเราะลั่น.
๑๕๘. ๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน.
๑๕๙. ๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักมีเสียงน้อย นั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกายไปในละแวกบ้าน.
๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวกบ้าน.
๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน.
๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน.
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15318&Z=15452&pagebreak=0

วรรคที่ ๓ ขัมภกตวรรค
๑๖๖. ๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน.
๑๖๗. ๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำความค้ำ นั่งในละแวกบ้าน.
๑๖๘. ๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน.
๑๖๙. ๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่คลุมศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
๑๗๐. ๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไปในละแวกบ้าน ด้วยทั้งความกระหย่ง.
๑๗๑. ๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งในละแวกบ้านด้วยทั้งความรัด.
๑๗๒. ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
๑๗๓. ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตรรับบิณฑบาต.
๑๗๔. ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
๑๗๕. ๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจดเสมอขอบบาตร.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15453&Z=15585&pagebreak=0

วรรคที่ ๔ สักกัจจวรรค
๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตโดยเอื้อเฟื้อ.
๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร ฉันบิณฑบาต.
๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่แหว่ง.
๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีสูปะเสมอกัน.
๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด ฉันบิณฑบาต.
๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
๑๘๓. ๓๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เพ่งโพนทะนา แลดูบาตรของผู้อื่น.
๑๘๔. ๓๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
๑๘๕. ๔๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15586&Z=15758&pagebreak=0

วรรคที่ ๕ กพฬวรรค
๑๘๖. ๔๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้าช่องปาก.
๑๘๗. ๔๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.
๑๘๘. ๔๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.
๑๘๙. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
๑๙๐. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
๑๙๑. ๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
๑๙๒. ๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
๑๙๓. ๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15759&Z=15881&pagebreak=0


วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.
๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.
๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ.
๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.
๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีไม้พลองในมือ.
๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีศัสตราในมือ.
๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15882&Z=16093&pagebreak=0

วรรคที่ ๗ ปาทุกาวรรค
๒๐๖. ๖๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมเขียงเท้า.
๒๐๗. ๖๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ สวมรองเท้า.
๒๐๘. ๖๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ไปในยาน.
๒๐๙. ๖๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้ ผู้อยู่บนที่นอน.
๒๑๐. ๖๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้นั่งรัดเข่า.
๒๑๑. ๖๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้พันศีรษะ.
๒๑๒. ๖๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ผู้เจ็บไข้คลุมศีรษะ.
๒๑๓. ๖๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งอยู่ที่พื้นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16094&Z=16207&pagebreak=0

๒๑๔. ๖๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง.
๒๑๕. ๗๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ผู้นั่งอยู่.
๒๑๖. ๗๑.  ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
๒๑๗. ๗๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เจ็บไข้ ผู้ไปอยู่ในทาง.
๒๑๘. ๗๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ.
๒๑๙. ๗๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ บนของสดเขียว.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16208&Z=16340&pagebreak=0

๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16341&Z=16384&pagebreak=0




ธรรมคืออธิกรณสมถะ (7)

[๘๘๐] ท่านทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ ประการเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.

คือ
พึงให้ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า ๑
พึงให้ระเบียบที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก ๑
พึงให้ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว ๑
ทำตามสารภาพ ๑
วินิจฉัยอาศัยความเห็นข้างมาก ๑
กิริยาที่ลงโทษแก่ผู้ผิด ๑
ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ๑
เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นๆ แล้ว.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=16393&Z=16406&pagebreak=0

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.

ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท                   ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท              ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท                       ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท        ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท                   ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท                ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย                              ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ               ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล.

สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์ นับเนื่องในพระ
ปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.
พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=16407


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลด้านบททั้งหมดนี้แสดงเรียงลำดับกันมาตั้งแต่ ช่วงต้น พระวินัยปิฎกเล่ม ๑ จนถึงจบ พระวินัยปิฎกเล่ม ๒
ซึ่งรวมกันได้ ๒๒๗ ข้อพอดี    
4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227

ซึ่งจะเห็นได้ว่า
อนิยตะ ๒ ที่แสดงในเล่ม ๑ และ เสขิยะ ๗๕ ที่แสดงในเล่ม ๒ นี้
เป็นสิกขาบทที่มาสู่อุเทศทั้งนั้น














หลักฐานที่อื่นๆที่แสดงไว้ชัดเจนมากๆ ก็ยังมีอีก เช่น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สุมังคลวิลาสินี              
อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


             เมื่อปฐมปาราชิกขึ้นสู่สังคายนาแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ก็ได้ทำคณสาธยาย
(สวดเป็นหมู่) โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ เป็นต้น.
             ในเวลาที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เหล่านั้นเริ่มสวด แผ่นดินใหญ่ได้เป็นเหมือน
ให้สาธุการไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.
             พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายยกปาราชิกที่เหลืออยู่ ๓ สิกขาบทขึ้นสู่สังคายนา
โดยนัยนี้เหมือนกัน แล้วตั้งไว้ว่า อิทํ ปาราชิกกณฺฑํ กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์
                       ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกณฺฑํ
                       ตั้งสิกขาบท ๒ ไว้ว่า อนิยต
                       ตั้งสิกขาบท ๓๐ ไว้ว่า นิสสัคคียปาจิตตีย์
                       ตั้งสิกขาบท ๙๒ ไว้ว่า ปาจิตตีย์
                       ตั้งสิกขาบท ๔ ไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
                       ตั้งสิกขาบท ๗๕ ไว้ว่า เสขิยะ
                       ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ
             ระบุสิกขาบท ๒๒๗ ว่า คัมภีร์มหาวิภังค์ ตั้งไว้ด้วยประการฉะนี้.
แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์มหาวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยก่อนเหมือนกัน.

ที่มา
สุมังคลวิลาสินี              
อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------






จะขอแสดงข้อมูลอื่นๆเพิ่มเิติมอีกดังนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1
ที่มาของการสวดปาติโมกข์ นั้นมีดังนี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑
อุโบสถขันธกะ

[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไป ณ ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่ง
พระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้
เป็นปาติโมกขุเทศของพวกเธอ ปาติโมกขุเทศนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ.

http://84000.org/tipitaka/read/?4/149




2
จะสังเกตได้ว่า ทุกสิกขาบทที่มาในปาฏิโมกข์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:”
ดังที่ได้แสดงตัวอย่างใน สิกขาบท ๒๒๗ ในพระไตรปิฎกสองเล่มแรกไปแล้ว

ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก link คำค้นนี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=%C2%A1%CA%D4%A1%A2%D2%BA%B7&book=1&bookZ=45
จะเห็นได้ว่า มีปรากฏแต่เพียงใน มหาวิภังค์ และ ภิกขุณีวิภังค์เท่านั้น

ส่วนสิกขาบทที่มานอกพระปาติโมกข์ จะไม่มีคำว่า “พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้”
เช่น เรื่องวุฑฒบรรพชิต  ที่ปรากฏในพระวินัยเล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=2520&Z=2557

วุฑฒบรรพชิต คืองพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต  ผู้กล่าวจาบจ้วงธรรมวินัย หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ก่อนที่จะมีการทำปฐมสังคายนา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=7298&Z=7369



3
อนึ่งมีผู้สงสัยว่า ปาฏิโมกข์ ๒๒๗ นั้น ถ้าไม่ได้สวด
แต่รักาษาอยู่จะผิดไหม   ตอบว่า ผิดและต้องอาบัตินะครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4420&Z=4480
-----------------------------------------------------------------------------------------


4
กรณีเสขิยวัตร ๗๕ นี้
บางท่านได้กล่าวในเชิงว่า ไม่เกี่ยวกับ โลภะ โทสะ โมหะ
เป็นแต่เพียงศีลที่ควบคุมมารยาทให้เกิดความเลื่อมใสแก่ชุมชนเท่านั้น
และไม่ใช่ข้อสำคัญสำหรับทางสู่ความเป็นอริยะ

ตอบว่า ไม่จริงเลย แท้ที่จริง การล่วง อนิยตะ ๒ และ เสขิยะ ๗๕
นั้นเนื่องมาแต่ จิตเป็นเหตุก่อนทั้งนั้น และการสวดและรักษาศีล
เหล่านี้ก็เป็นทางและเป็นข้อระวังคือสำรวม ของพระเสขะผู้ศึกษาอยู่
ผู้ดำเนินไปตามทางตรง
ดังหลักฐานว่า

-----------------------------------------------------------------------------

[๑๒๓๖] ถามว่า อนิยต ๒ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร?

ตอบว่า อนิยต ๒ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ
บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑
บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑
บางทีเกิดแต่กาย ๑ วาจา และจิต ๑.


[๑๒๔๐] ถามว่า เสขิยะ ๗๕ เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร?
ตอบว่า เสขิยะ ๗๕ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ
บางทีเกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา ๑
บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย ๑
บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ๑.


พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=08&A=12482&Z=12602



วิเคราะห์เสขิยะ

[๑๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่าเสขิยะดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป. ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทางและเป็นข้อระวัง
คือสำรวม ของพระเสขะผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขาทั้งหลาย
เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น สิกขานั้นจึงเรียกว่า เสขิยะ.

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=8956&Z=9006&pagebreak=0

จากคุณ : ชาวมหาวิหาร
เขียนเมื่อ : 12 มิ.ย. 54 16:33:48




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com