คนที่สวดคาถา ชินปัญชร ผมว่าดีนะครับ
สวดด้วยความศรัทธาในพระรัตนไตร
สวดด้วยจุดประสงค์ที่ดี ไม่ได้ใช้ท่าน แต่เป็นการอัญเชิญบารมี
แต่เป็นการขอบารมี ของพระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ มาช่วยคุ้มครองเรา
เหมือนกับว่าเรามีบุญบารมีน้อย ไม่พอ จึงต้องขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ทำให้รู้สึก จิตใจมั่งคง มั่นใจ และปลอดภัย ก่อนการนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม
(ไม่ให้มาร ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หลงทางในอุปกิเลส วิปัสสนูปกิเลส
เวลามีอุปจารสมาธิ กิเลสส่วนลึกจะสร้างนิมิตรหลอนขึ้นมา ถ้าไม่มีการสอน และ
การคุ้มครองจากอาจารย์ แล้วไปหลงในนิมิตร อาจทำให้หลงทางได้นะ
และช่วยคุ้มครองสิ่งที่ไม่ดีต่างๆที่จะมาขัดขวางการปฏิบัติธรรมได้)
โดยส่วนตัวขอให้ไปอ่านหนังสือประวัติ คาถาชินปัญชร ของ
มหามงกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2529
แล้วจะเข้าใจนะครับ
คาถานี้เกิดมานานมากแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2121--2150
รัชสมััยองพระเจ้าอโรธา ผู้ครองนครเชียงใหม่ในรัชการที่ 10
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่ได้เผยแพร่ไปทั่ว
ทั้งใน พม่า และ ลังกา และไทย
สมเด็จพระพุทธจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านได้นำมาเรียบเรียงใหม่
และมาเผยแพร่ให้ชาวพุทธ คนไทยได้สวดมนต์กันในสมัยรัชการที่ 5
เพื่อเป็นศิริมงคล และคุ้มครอง
คนที่สวดมนต์บทนี้ ส่วนมาก ศรัทธาอย่างมากต่อ
สมเด็จพระพุฒจาร์ย์ (โต) (ที่ปราบผี แม่นาค พระโขนง ละครับ)
ผมเป็นหนึ่งในนั้น ผมสวดตั้งแต่ ป.2
จำได้ขึ้นใจตอน ป.3 และสวดทุกวันจนถึง ม.3
ผมว่าทำให้ผมประสบความสำเร็จในชีวิตจนถึงทุกวันนี้
ในสมัยพุทธการ พระพุทะเจ้าแนะนำให้ สวดพระปริตร เพื่อป้องกันอันตราย
ลองศึกษาพระไตรปิฏกดูนะ
ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัวว่าเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตราย และเพื่อความสุขของ
ภิกษุสามเณร ตลอดจนฆราวาสทั้งหลายผู้ปราถนาซึ่งความหลุดพ้น ก็เป็น
ธรรมอย่าหนึ่งในบรรดาธรรมทั้งหลาย ที่มุ่งไปสู่วิมุตติ เราเรียกธรรมนั้นว่า ปริตตัง
แต่มายุคหลัง นอกจาก พระปริตตัง แล้วมีพระคาถาเกิดขึ้นมากมายเพื่อ
คุ้มครองพุทธศาสนิกชน หนึ่งในพระคาถาคุ้มครองเหล่านั้น
ก็คือ พระคาถาชินปัญชร นั่นเอง
พระปริตตัง มีหลายบทนะครับ เช่น อาฏานาฏิยะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเล่าเรียนการรักษาอันชื่อว่า อาฏานาฏิยะ
จงทรงไว้ซึ่งการรักษาอันชื่อว่า อาฏานาฏิยะ ประกอบด้วยประโยชน์
ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญแห่ง
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 54 01:08:46
แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 54 01:01:37
แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 54 00:48:23
แก้ไขเมื่อ 16 ส.ค. 54 00:47:29