 |
อีก 5-10 ปี คุณอยากเป็นอะไร กับ การวางแผนการทำงานสำคัญอย่างไร
|
|
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างไรครับ เพียงแต่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนหลายแบบ จึงได้แนวคิดมาแชร์ครับ
ก่อนอื่นเคยถามตัวเองไหมครับว่า 5-10 ปีข้างหน้า ตัวเราเองจะทำอะไรอยู่ที่ไหน บางคนบอกว่าฉันจะเป็นเจ้าของกิจการ บางคนบอกว่าฉันจะเป็นหัวหน้าแผนก บางคนบอกว่าฉันจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงาน แต่หลายคน ยังใช้เวลาคิดนาน และตอบออกมาจริงๆว่า เออ "ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน"
ถึงแม้เวลาที่เราไปสมัครงานที่นู่นที่นี่ เราจะหาคำตอบที่สวยหรูมาตอบได้ก็จริง แต่จริงๆแล้วจะมีกี่คนที่ตอบตัวเองได้จริงๆว่า อีก 5 ปีฉันจะเป็นอะไร
สิ่งสำคัญที่ผมคิดว่าเราต้องรู้จริงๆคือ วันนี้เราทำอะไรเป็นครับ หมายถึงสิ่งที่เรียนมา ความรู้ที่มี รวมไปถึงความสน ใจ แน่นอนว่าคุณเรียนจบด้านบริหารมา แต่สนใจด้าน IT สมัครทำงาน IT ถามว่ามีโอกาสมากแค่ไหนที่จะได้รับคัดเลือก นอกเสียจากว่าจะมีผลงานมาให้ดู และมีประสบการณ์มาบ้างอาจจะได้รับการพิจารณา แต่ก็เป็นในระดับพื้นฐานนะครับ งานในระดับเทคนิคลึกๆอย่าง Database, Network , Advance Programming ,System Analysis พวกนี้คงเป็นการเข้าถึงยากแน่นอนครับ
หรือการที่จบ IT แล้วไปหาทำงานด้านการเงินการธนาคาร การลงทุน ก็เป็นการยากอีกเช่นกันครับ
บางสื่งแค่อยากจะทำยังไม่มีพอครับ ต้องมีความรู้ความสามารถด้วยเขาถึงจะให้คุณทำ
สิ่งเหล่านี้ผมขอเรียกว่า ความสามารถที่มาพร้อมกับใบปริญญา ซึ่งแต่ละคนเรียนมาไม่เหมือนกัน ความรู้พื้นฐานที่ใช้เป็นทุนจึงแตกต่างกันออกไปครับ แต่อาจจะมีคนได้แต่ใบปริญญาถือเป็นข้อยกเว้นนะครับ
ตอนจบมาแรกๆ เราทุกคนก็อยากจะเริ่มสตาร์ทเงินเดือนสูงๆๆๆๆ จริงไหมครับ แต่ในชีวิตจริงมันยากเย็นที่จะหางานแบบนั้น หรือได้มาก็เป็นงานที่โหดสุดๆ ใช้งานกันแทบลืมหายใจ งานทั่วไปจริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ยุ่งตลอดทั้งวันทั้งปีหรอกจริงไหมครับ งานบางงานจะยุ่งช่วงปิดยอดสิ้นเดือน สิ้นปี บางงานก็ยุ่งเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปี อะไรแบบนั้น แต่ละท่านคงทราบช่วงงานเข้าของตัวเองดี
มาเข้าสู้สิ่งที่คุณอยากเป็นดีกว่าครับ ส่วนตัวผมเคยทำงานแบบเดินทางไปนู่นนี่ นั่งกับที่ทั้งแบบเรื่อยๆ กับแข่งกับเวลา ทำงานในเวลากลางคืนที่คนนอน นอนตอนที่คนอื่นทำงาน แน่นอนว่าแต่ละงาน แตกต่างกันด้านการลงแรง และผลตอบแทนก็แตกต่าง
สิ่งทำคัญคือเราต้องมีจุดหมายก่อน และนั่นเป็นสิ่งที่ยาก เอาให้ง่ายๆเลยคือเราควรมองว่า ในสายงานของเรา สามารถเดินทางไปได้ไกลแค่ไหนครับ หรือลองกำหนดจุดที่จะไปเป็นจุดๆก่อน แล้วจากจุดที่เรายืนอยู่นี้ ใช้เวลานานแค่ไหนที่จะเดินไปตรงนั้น แล้วต้องใช้อะไรบ้างเพื่อเดินไปให้ถึงตรงนั้น แล้วสุดท้ายถามตัวเองว่า เมื่อไปถึงตรงนั้นแล้วคุณจะทำอะไร แล้วคิดว่าจริงๆแล้วคุณอยากไปยืนตรงนั้นจริงหรือไม่
ตัวอย่างของผมเอง เป็นคนIT แต่จุดหมายของผมอาจจะเป็น IT Project manager อาจจะต้องผ่านการเป็น System Analyst ก่อน และต้องเรียนรู้ Business ของกลุ่ม projtect ที่ผมอยากดูแล เช่น กลุ่มการเงินการธนาคาร ,การสื่อการ , กลุ่มราชการ ,โรงงาน เป็นต้น เส้นทางมันก็ชัดเจนขึ้น เมื่อจุดหมายชัดเจน จึงรู้ว่าต้องทำอะไรเพ่ิมเติม
แต่ในทางกลับกัน เป็นคน IT แต่จุดหมายคือทำงานเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธด้านการตลาดของธนาคาร แน่นอนครับว่า มันยาก แต่เมื่อเรากำหนดจุดหมายไว้ เราก็เพียงแต่ค่อยๆเดินไป ผมอาจจะเริ่มจากการเรียนรู้ Business ของกลุ่มธนาคารก่อน แล้วไปเรียนการตลาดเพ่ิมเติม หลังจากที่รู้จักระบบ IT รู้ Business และ เรียนรู้การทำการตลาด อาจจะเริ่มเปลี่ยนงานไปตรงส่วนของการใช้สารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตลากของธนาคาร ในขณะเดียวกันก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตรงนั้น แล้วผันตัวเองไปทำการตลาดอย่างชัดเจนก็ได้ครับ
แต่บางสิ่งก็มีข้อยกเว้นนะครับ เพราะความรู้บางอย่างข้ามสายงานไม่ได้ เช่น คนไม่ได้จบวิศวะ ยังไงก็เป็นวิศวะกรไม่ได้ จบวิศวะกรก็ไม่มีทางเป็นทนายได้ จบกฏหมายเป็นหมอไม่ได้ จบหมอก็เป็นสถาปนิกไม่ได้ สิ่งเหล่านี้มันชัดเจนในตัวเองครับ
แต่เราสามารถมองหาเส้นทางที่เชื่อมโยงกับใบปริญาได้ มันเหมือนเป็นกุญแจที่จะพาเราไปสู่จุดหมายของเราครับ และเมื่อใดที่เรามีจุดหมาย เพียงหากุญแจของทางเชื่อมให้เจอเราก็จะเดินไปเรื่อยๆจนถึงจุดหมายได้ครับ
แต่ถ้าวันนี้ ยังนั่งทำงาน เพื่อให้หมดไปวันๆ จุดหมายที่คิดไว้ในใจก็เลือนลาง เดินไปเรื่อยๆเหมือนคนหลงทางในทะเลทราย เห็นภาพแหล่งน้ำสะท้อนในเปลวแดด เราก็จะหลงทางไปมาในวังวนแบบล่องลอยเรื่อยไปนะครับ
จากคุณ |
:
ผีห้องเครื่อง
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ส.ค. 53 14:46:08
|
|
|
|  |